ด้วยความปรารถนาและด้วยจิตคารวะผมขออนุญาตชักชวนเพื่อนมิตรสหายทั้งหลายมาศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าวันละหนึ่งหน้า
จากข้อเขียนหรือบทความของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา โดยยึดกรอบแนวคิดดังนี้...... “หลักธรรมคำสอนในศาสนาพุทธมิได้อ้างการดลใจจากเทพเจ้า
หรืออำนาจภายนอกแต่อย่างใดทั้งสิ้นการตรัสรู้ การบรรลุธรรม และความสำเร็จของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเป็นความพยายามของมนุษย์
และเป็นสติปัญญาของมนุษย์ มนุษย์และเฉพาะมนุษย์เท่านั้นสามารถจะเป็นพระพุทธเจ้าได้
มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในการเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ในตัวเอง ถ้าหากเขาปรารถนาอย่างนั้น และทำความเพียรพยายาม ตามหลักของพระพุทธศาสนาแล้ว ฐานะของมนุษย์เป็นฐานะที่สูงสุด
มนุษย์เป็นนายของตนเอง และไม่มีอำนาจวิเศษหรือกำลังอื่นใดที่จะมาพิจารณาตัดสินชี้ขาดชะตากรรมของมนุษย์ได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า “ตนเป็นที่พึ่งของตน ใครอื่นจะสามารถเป็นที่พึ่งของเรา ได้เล่า” พระองค์ได้ประทานโอวาทแก่สาวกทั้งหลายของพระองค์ให้เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง
และไม่ยอมให้แสวงหาที่พึ่ง หรือความช่วยเหลือจากอื่นใดอีก พระองค์ได้ตรัสสอน ส่งเสริมและกระตุ้นเตือนให้บุคคลแต่ละคนได้พัฒนาตนเอง และทำความหลุดพ้นของตนให้สำเร็จ เพราะมนุษย์มีพลังที่จะปลดปล่อยตนเองจากสังโยชน์ด้วยอาศัยความเพียรและสติปัญญาอันเป็นส่วนเฉพาะตัวได้
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายพึงทำกิจของตนเอง เพราะว่าตถาคตทั้งหลายเพียงแต่บอกทางให้”
พระพุทธเจ้าเป็นได้เฉพาะความหมายที่ว่า พระองค์ได้ทรงค้นพบและทรงชี้มรรคาไปสู่ความหลุดพ้น(นิพพาน) เท่านั้น แต่เราจะต้องปฏิบัติตามมรรคานั้นด้วยตัวของเราเอง”
พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒) ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้ ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทาง...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น