ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)


  ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้


















     ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม
  
    เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษย์ ศึกษากระบวนการเรียนรู้หรือรับรู้ทั้งหมด (สิกขา) เพื่อที่จะเข้าใจว่าอะไรบ้างที่อาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญของการเกิดปัญญา และเมื่อทราบแล้วจะได้หาทางแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งหมดนี้เป็นการอธิบายกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสำคัญยิ่งไม่เคยมีคำอธิบายที่ชัดเจนเช่นนี้ในระบบความรู้แบบตะวันตกและที่อื่นๆเป็นความรู้ที่อธิบายโดยพุทธเท่านั้น องค์ประกอบของมนุษย์นั้นประกอบด้วยขันธ์  ๕ ซึ่งประกอบด้วยรูปธรรมหนึ่งหมวด และนามธรรม ๔ หมวด ที่จะรวมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ทำให้เกิดบัญญัตติ เช่น บุคคล ตัวตน (พระธรรมปิฎก,๒๕๓๘ ข:๑๘๙) 

   โปรดสังเกตว่าการใช้ขันธ์ ๕ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อเข้าใจการเกิดปัญญานั้น เป็นเพียงวิธีการหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งการวิเคาะห์ขันธ์ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบของชีวิตในกรณีนี้ ก็เป็นการวิเคราะห์แบบสถิต (static analysis) เช่นเดียวกับวิธีวิเคราะห์แบบตะวันตกโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อที่จะแสดงให้เห็นองค์ประกอบในลักษณะที่เป็นภาพนิ่งก่อน เพื่อช่วยให้สามารถเข้าใจกลไกการทำงานของขันธ์ทั้งหมดได้ง่ายในภายหลัง โดยที่ขันธ์ทั้ง ๕ สามารถแบ่งย่อยออกได้ดังต่อไปนี้ 

  

๑. รูปขันธ์ (ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด :Corporeality)                         รูปธรรม


๒. เวทนาขันธ์              (ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์ ความรู้สึก ทุกข์ หรือเฉยๆ                      นามธรรม          
                                     : Feeling or sensation)    

๓.สัญญาขันธ์              (ส่วนที่เป็นการกำหนดความหมาย : Perception)                                นามธรรม          

๔. สังขารขันธ์     (ส่วนที่ปรุงแต่งให้จิตดี ชั่ว หรือเป็นกลาง                                       นามธรรม
                             
                                    : Mental formation)                                       

๕. วิญญาณขันธ์          (สวนที่เป็นความรู้อารมณ์ มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น                นามธรรม

                                     ได้รส ได้รู้สึก : .consciousness) 

                                                                                                                      

    องค์ประกอบดังกล่าวอาจจะเรียกโดยย่อว่า นามรูป (อ่าน:นาม-มะ-รูป)หมายถึงองค์ประกอบที่เป็นร่างกายและการรับรู้ของสิ่งมีชีวิต (บุษกร.๒๕๕๒:๑๑๗) โดยเรื่องที่จะต้องรับรู้เป็นความรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดภายในใจของตน นามรูปบางส่วนทำหน้าที่เป็นทวาร หรือประตู หรือแดนเชื่อมต่อให้เกิดความรับรู้ ซึ่งมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า อายตนะ (sense -bases ) ในที่นี้หมายถึง อายตนะภายใน ซึ่งประกอบไปด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ส่วนสื่อที่นำเอาความรู้จากโลกภายนอกมาสู่การรับรู้ คือ อายตนะภายนอก อาจจะเรียกว่า อารมณ์ (sen - objcts) ซึ่งได้แก่คลื่นแสงที่นำรูป และคลื่นเสียง ตลอดจนการนำกลิ่น รส สิ่งสัมผัส และสิ่งที่รู้สึกนึกคิด แม้ที่มิได้มีรูปธรรม (cognizable objects) ส่วนเมื่ออารมณ์กระทบกับอายตนะแล้ว สภาวของสื่อความรู้ภายใน คือ วิญญาณ (consciousness) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ที่เข้ามากระทบอายตนะ ซึ่งอาจจะแสดงความสัมพันธฺได้ดังต่อไปนี้ 
     
   
      กระบวนการรับรู้โลกภายนอก โดยที่อารมณ์นำความรู้จากภายนอกมาที่อายตนะ หลังจากนั้นวิญญาณได้แปลงความรู้ไปสู่สิ่งที่มนุษย์ (สัตว์) สามารถเข้าใจได้ กระบวนการทั้งหมดดังกล่าวเรีกว่า “ผัสสะ”  หรือ สัมผัส มีความหมายว่าเป็นการประจวบบรรจบพร้อมกันระหว่างอารมณ์ อายตนะ และวิญญาณหรือการรับรู้ ซึ่งอาจจะจำแนกได้ตามทางรับรู้หรืออายตนะทั้ง ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส (พระธรรมปิฎก.๒๕๓๘ : ๓๕-๓๖)
  
     กายสัมผัส เป็นทางแห่งการับรู้ที่มีได้แม้กระทั่งในสัตว์เซลล์เดี่ยวเมื่อมีวิวัฒนาการมาเป็นหอยฝา ก็มีโสตสัมผัสเพิ่มขึ้น ในหอยจำพวกหอยขด (Gastropod) ก็จะมีชิวหาสัมผัสและจักขุสัมผัสเกิดขึ้น พอถึงปลา สัมผัสที่ห้า คือฆานสัมผัสก็เกิดขึ้น  ดังนั้นวิวัฒนการของสัตว์จะเริ่มจากกาย โสต จักขุ ชิวหาและฆานสัมผัสเรียงตามลำดับ (สมัคร,๒๕๔๒:๒๒๓-๒๒๔) มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการพัฒนาทางปัญญาได้โดยไม่มีขีดจำกัด ซึ่งต่างจากสัตว์อื่นๆก็เนื่องจากมีมโนสัมผัสที่ช่วยให้การเรียนรู้โลกภายนอกของมนุษย์ไม่จำกัดเฉพาะความรู้ที่เป็นรูปธรรม แต่สามารถเข้าใจความรู้ที่มีลักษณะที่เป็นมานธรรม เช่น สุข ทุกข์ โลภ โกรธ หลง ตลอดจนความรู้ที่มีลักษณะเป็นนามธรรมและมีความสลับซับซ้อน มนุษย์จึงเป็นสัตว์ที่สามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีที่สิ้นสุดต่างกับสัตว์อื่นๆที่ถึงแม้จะมีมโนสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ชั้นสูง แต่ก็จะมีขีดจำกัดในการเรียนรู้ระดับหนึ่ง 
  
    โปรดสังเกตุว่า ความรู้จากตะวันตกที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของมนุษย์ (สัตว์) แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเท่านั้น คือ ร่างกาย (body ) และจิตใจ (mind) โดยไม่แยกองค์ประกอบของจิตออกเป็น ๔ ส่วนอย่างที่ได้จำแนกไว้ข้างต้นนี้ ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์การเรียนรู้และการทำงานของจิตได้อย่างเป็นระบบ เป็นเหตุให้เกิดความบกพร่องในความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาเศรษฐศาสตรกระแสหลักในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ”จิต” (mind) ของมนุษย์โดยได้เน้นประเด็นส่วนเล็กๆของมนุษย์เพียง
ส่วนเดียว นั่นก็คือการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (sef- interest) และการแสวงหากามสุข (hedonism ) มาเป็นองค์ประกอบสำคัญทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความแปลกแยกต่อตัวมนุษย์ และสร้างความเสียหายแก่มนุษย์ในโลกทั้งหมดดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้


ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน  ๒๕๔๔ :พุทธเศรษฐศาสตร์  น.๓๕๑ - ๓๕๖

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า