ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2017

ชีวิตคือเบญจขันธ์

.......กฎของกรรมในทางพระพุทธศาสนามีความหมายเฉพาะการกระทำที่มีเจตนาเท่านั้น หาได้หมายเอาการกระทำทั่วๆ ไปไม่ ทั้งไม่ใช้เป็นวิบากของกรรมที่อย่างที่คนส่วนมากเข้าใจด้วยความหมายของกรรมในพระพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงผลของกรรมเลย เพราะผลของกรรมนั้นเป็นตัววิบาก ( กมฺมผล หรือ กมฺมวิปาก )     เจตนาอาจจะดีหรือเลวก็ได้ ( กมฺม ) ทำกรรมดี ( กุศล ) ย่อมได้รับผลดีทำกรรมชั่ว ( อกุศล ) ย่อมได้รับผลชั่ว ตัณหา ( ความทะนายอยาก ) เจตนา ( ความจงใจ ) กรรม ( การกระทำ ) ไม่ว่าดีหรือเลวก็ตามย่อมมีผลเสมอ ทำให้เกิดพลังสืบต่อเนื่องกันไป ในแนวทางที่ดีหรือเลว ( ตามกรรมที่ทำนั้น ) และไม่ว่าดีหรือเลวย่อมสัมพันธ์กันไป ตลอดเป็นสายแบบวัฏจักร ( สงฺสาร ) สำหรับพระอรหันต์นั้นแม้ท่านยังทำโน้นทำนี้อยู่ก็ไม่จัดว่าเป็นกรรมเพราะท่านพ้นจากความยึดมั่นในตัวตน พ้นจากตัณหา ( ความทะยานอยาก ) ตลอดจนกิเลสและอาสวะทั้งหลายโดยสิ้นเชิงแล้ว ( กิเลสาสวธรรม ) จึงไม่มีภพชาติใหม่อีกต่อไป   กฎของกรรมนี้ไม่ควรสับสนคลุมเครือ กล่าวได้ว่าเป็นการพิพากษาที่ยุติธรรมและเที่ยงตรงที่สุดหรือจะกล่าวว่าเป็นการให้รางวัลและลงโทษที่ยุติธรรมจริงๆ ก