ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระพุทธเจ้าสอนอะไร

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

๑.พระพุทธเจ้า








พระนามเดิมของพระพุทธเจ้าคือ สิทธัตถะ โคตมะ พระบิดาของพระองค์มีพระนามว่า สุทโธทนะ โคตมะ เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรศากยะ(อยู่ในประเทศเนปานปัจจุบัน) พระมารดาของพระองค์มีพระนามว่าพระราชินีมายา เจ้าชายสิทธัตถะได้อภีเษกสมรสตั้งแต่อายุยังทรงพระเยาว์ พระชนได้เพียง ๑๖  พรรษากับเจ้าหญิงผู้เลอโฉมพระมามว่า ยโสธรา  เจ้าชายหมุ่มสิทธัตถะประทับอยู่ในพระราชวังที่เพียบพร้อมด้วยเครื่องอำนวยความสดวกสบาย แต่โดยไม่คาดคิดเจ้าชายก็ได้ทรงประสพพบเห็นกับความจริงของชีวิตนั้นคือ ความทุกข์ของมนุษย์ พระองค์ได้ทรงใคร่ครวญเพื่อหาหนทางให้มวลมนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ให้ได้ จนกระทั้งเมื่อหลังการประสูติพระโอรสองค์เดียว พระนามว่า เจ้าชายราหุล ขณะที่พระองค์มีพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา พระองค์จึงได้ตัดสินพระทัยออกจากพระราชอาจักรของพระองค์ ไปทรงผนวชเป็นนักบวช เพื่อแสวงหาหนทางให้มนุษย์พ้นทุกข์
 พระนักบวชโคตมะ เสด็จจาริกเรื่อยไปแถบแม่น้ำคงคาเป็นเวลาถึง ๖ ปี ก็ได้พบกับนักบวชที่เรืองนามกลุ่มหนึ่ง พระองค์ทรงศึกษาและปฏิบัติตามวิธีการของนักบวชเหล่านั้น จึงยอมลดพระองค์เข้ารับข้อปฏิบัติแบบทุกกรกิริยาอย่างเคร่งครัด แต่หลักการปฏิบัติตามคำสอนของนักบวชเหล่านัน ไม่ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัย จึงได้ทรงละทิ้งหลักปฏิบัติเหล่านั้นทั้งหมด หันมาดำเนินการตามที่พระองค์ทรงคิดค้นด้วยพระองค์เองเรื่อยมาจนกระทั้งราตรีหนึ่ง ขณะที่พระสิทธัตถะ มีพระชนได้ ๓๕ พรรษา พระองค์ทรงประทับนั่งอยู่ภายให้ต้นไม้ต้นหนึ่งชื่อว่าต้นโพธิ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลพุทธคยา(อยู่ในรัฐวิหาร อินเดีย ปัจจุบัน)พระองค์ได้ทรง บรรลุพระโพธิญาณ ชึ่งเป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า “พระพุทธเจ้า”หรือ ผู้ตรัสรู้แล้ว



พระโคตมะพุทธเจ้า ได้ทรงเสด็จไปเทศนาแก่เหล่านักบวชที่พระองค์เคยร่วมปฏิบัติธรรมเมื่อครั้งที่พระองค์จาริกอยู่แถบลุ่มแม่น้ำคงคา การประทานเทศนาครั้งนี้จึงเรียกว่า”ปฐมเทศนาแก่เบญจวัคคีย์ ณ สวนกลางป่าอิสิปตนะ(สารนาถ ใกล้เมืองภาราณสี)” นับแต่นั้นมาพระองค์ได้ทรงสั่งสอนมนุษย์ชายหญิงทุกชนชั้น มีทั้งกษัตริย์ ชาวนา พราหมณ์  จัณฑาล คฤหบดีและขอทาน รวมทั้งนักบวชและพวกโจร พระองค์มิทรงแบงแยกความแตกต่างกันในวรรณะหรือชนชาติ ในบรรดามนุษย์ทั้งชายหญิงที่พระองค์ได้ทรงเทศนาสั่งสอนมาทุกคนนั้น พระองค์ทรงเปิดรับผู้พร้อมที่จะเข้าใจและปฏิบัติตาม นับแต่พระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า หรือตรัสรู้แล้วนับเป็นเวลา ๔๕ พรรษาที่พระองค์ได้ทรงเผยแพร่ธรรมะของพระองค์จนเมื่อพระองค์ทรงมีพระชนได้ ๘๐ พรรษา พระพุทธเจ้าก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพานที่ เมืองกุสินารา(อยู่ในอุตรประเทศในอินเดียปัจจุบัน)



๒.เจตคติของชาวพุทธ
  พระพุทธเจ้านับเป็นศาสดาองค์เดียวเท่านั้นในบรรดาศาสนาทั้งหลาย ที่ไม่ทรงอ้างพระองค์ว่าเป็นอะไรอื่นนอกจากมนุษย์ธรรมดาแท้ๆ พระองไม่เคยอ้างเลยว่าพระองค์เป็นอวตารของพระเจ้าหรือเป็นพระเจ้าเสี้ยเอง หรือได้รับบรรดาลใจจากพระเจ้า หรืออำนาจจากภายนอกแต่อย่างใดทั้งสิ้น พระองค์ถือว่าการบรรลุโพธิญาญหรือตรัสรู้บรรลุธรรมและความสำเร็จทั้งหมดของพระองค์เป็นความพยายามบากบั่นและเป็นสติปัญญาของมนุษย์และเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่สามารถบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ในตัวเองหากเขาปรารถนาอย่างนั้นและทำความเพียรพยายาม
  ตามหลักของพระพุทธศาสนามนุษย์ทุกคนเป็นนายของตัวเองไม่มีอำนาจวิเศษหรือกำลังอื่นใดที่จะมาชี้ขาดชะตากรรมองมนุษย์ได้
ดั่งคำตรัสของพระพุทธองค์ว่า “ตนเป็นที่พึ่งของตน ใครอื่นจะสามารถเป็นที่พึ่ง(ของเรา)ได้เล่า”(ขุ.ธ.๒๕/๒๒/๓๖  คาถาที่ ๑๖๐)พระองค์ได้สอนให้ทุกคนเป็นที่พึ่งของตนเองและไม่จำเป็นต้องแสวงหาที่พึ่งจากบุคคลอื่นใดอีกและได้ทรงสอนให้บุคคลแต่ละคนได้พัฒนาตนเองและทำให้ตนเองหลุดพ้นจากการพึ่งผู้อื่น เพราะมนุษย์มีพลังที่จะปลดปล่อยตนเองจากสังโยชน์โดยอาศัยความเพียรและสติปัญญาเฉพาะตัวได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายพึงทำกิจของตนเอง ตถาคตทั้งหลายเพียงแต่บอกทางให้”(ขุ.ธ. ๒๕/๓๐/๕๑  คาถาที่ ๒๗๖)พระองได้ทรงเป็นเพียงผู้ค้นพบและทรงชี้มรรคาไปสู่ความหลุดพ้น(นิพพาน)เท่านั้นแต่เราต้องปฏิบัติตามมรรคานั้นด้วยตัวของเราเอง
  พระพุทธเจ้าได้ทรงประทานอิสรภาพแห่งความคิดแก่สาวกของพระองค์ในมหาปรินิพพานสูตร(ที.ฆ. ๑๐/๙๓/๑๑๘) พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “พระองค์ไม่เคยดำริถึงการบังคับควบคุมคณะสงฆ์เลยและพระองค์ไม่ต้องการที่จะให้คณะสงฆ์ต้องมา
พึ่งพา” และพระองค์ยังตรัสว่า “ไม่มีหลักธรรมวงใน(จำกัดเฉพาะ)ในคำสั่งสอนของพระองค์ไม่มีสิ่งใดที่ซ่อนไว้ในกำป้ันของอาจารย์(อาริยมุฏฐิ)” หรือจะพูดได้ว่า ไม่มีสิงใดที่จะซ่อนไว้หรือปิดบัง
  พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทุกคนมีเสรีภาพทางความคิด นี้เป็นสิ่งที่ไม่มีที่อื่นใดในทางประวัติศาสตรของศาสนาทั้งหลาย เสรีภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอนไว้ ความหลุดพ้นของมนุษย์ต้องอาศัยการทำให้แจ้งในสัจธรรมด้วยตนเองโดยมิจำเป็นต้องอาศัยการุณยภาพของพระเจ้าหรืออำนาจภายนอกใดๆสำหรับเป็นรางวัลความประพฤติดีงามและเชื่อฟังต่อพระองค์

๓.กาลามสูตร
  สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยือนนิคมแห่งหนึ่ง ชื่อว่า เกสปุตตะ(องฺ. ติก. ๒๐/๕๐๕/๒๔๑) ในแคว้นโกศล นิคมแห่งนี้เป็นที่้รูจักกันในชื่อสามัญทั่วไปว่า กาลามะ เมื่อชาวกาลามะได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับอยู่ในนิคมของพวกเขา ชาวกาลามะทั้งหลายได้มาเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลต่อพระองค์ว่า
   “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  มีสมณะและพราหมณ์บางพวกที่มาเยือนเกสปุตตะนิคมนี้นักบวช สมณพราหมณ์เหล่านั้นอธิบายและยกย่องคำสอนของตนเองฝ่ายเดียวเท่านั้น ดูถูก ประนามและเหยียดหยามหลักธรรมคำสอนของนักบวช สัมณพราหมณ์เหล่าอื่น ต่อมาก็มีนักบวชเหล่าอื่นมาอีก นักบวชสัมณพราหมณ์เหล่านั้นก็เช่นเดียวกันก็อธิบายและเชิดชูคำสอนของตนฝ่ายเดียวและดูถูกเหยียดหยามประนามคำสอนของนักบวชสัมณพราหมณ์เหล่าอื่น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สำหรับพวกข้าพระองค์นั้นมีความสงสัยและคลางแคคลงใจอยู่เสมอในข้อที่ว่า “ในบรรดาสมณพราหมณ์ผู้น่าเคารพเหล่านั้น ใครกันหนอกล่าวคำสัตย์จริง และพวกไหนกล่าวคำเท็จ”
  ลำดับนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงประทานคำแนะนำ แก่กาลามะชนเหล่านั้นว่า “ถูกต้องแล้วชาวกาลามะทั้งหลาย เป็นการสมควรที่เธอทั้งหลายมีความสงสัย มีความคลางแคลงใจ เพราะเป็นเรื่องที่สมควรแก่ความสงสัย ดูกรชาวกาลามะขอให้พวกท่านจงได้พิจารณาดั่งนี้ :
  ๑. จงอย่าเชื่อเพียงการบอกเล่าสืบต่อกันมา
  ๒. จงอย่าเชื่อเพียงการสืบทอดเป็นประเพณีกันมา
  ๓. จงอย่าเชื่อเพียงคำเล่าลือ
  ๔. จงอย่าเชื่อเพียงการอ้างตำราหรือคำภีร์
  ๕. จงอย่าเชื่อเพียงอ้างตรรก
  ๖. จงอย่าเชื่อเพียงการอนุมาณตามนัย
  ๗. จงอย่าเชื่อเพียงเห็นปรากฏการภายนอก
  ๘.จงอย่าเชื่อเพียงความชอบใจหรือตรงกับความคิดของตนเอง
  ๙. จงอย่าเชื่อเพียงเห็นว่าน่าจะเป็นไปได้
  ๑๐.จงอย่าเชื่อเพียงคิดว่านี้เป็นครูเป็นอาจารย์ของตนเอง

   
ดูกรกาลามะชนทั้งหลาย แต่เมื่อใดที่ท่านทั้งหลายรู้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าสิ่งทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอกุศล ผิดพลาด ชั่วร้าย เมื่อนั้นจงละทิ้งสิ่งเหล่านั้นเสียและเมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าสิ่งอันเป็นธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นกุศล ดีงาม  เมื่อนั้นจงยอมรับเอาและปฏิบัติตามธรรมเหล่านั้นเถิด
  พระพุทธเจ้ายังทรงตรัสไปยิ่งกว่านั้นอีก โดยพระองค์ตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “สาวกควรจะพิจารณาตรวจสอบแม้แต่องค์พระตถาคตเอง เผื่อว่าสาวกจะได้มีความมั่นใจโดยสมบูรณ์ในคุณค่าที่แท้จริง ของศาสดาที่ตนประพฤติปฏิบัติตาม” (ม.มุ. ๑๒/๕๓๕-๙/๕๔๖-๕๘๐)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ