ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเปลี่ยนแปลงสังคมเก่าที่เน่าเสียเป็นสังคมใหม่ที่ดีกว่า


การเป็นนักปฏิวัติสังคมต้องเป็นผู้ที่ตื่นรู้ด้วยปัญญา(ปัญญาคือรู้แจ้งแทงตลอด หรือรู้แจ้งเห็นจริงตามภาวะวิสัยของสิ่งนั้นๆ) จากภาวะของสังคมไทยในขณะปัจจุบันประกอบด้วยกลไกอำนาจรัฐอันเป็นเครื่องมือบริหารราชการและปกป้องรักษาอำนาจรัฐ รวมทั้งประชาชนที่อยู่ใต้การปกครองของอำนาจรัฐไทย วิเคราะห์อย่างสรุปภาพรวมของสังคมทั้งสังคมอยู่ภายใต้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีภาวะวิสัยแบบทุนนิยมสามานย์ไร้ธรรมาภิบาล และมีโครงสร้างชั้นบนอันเป็นโครงสร้างทางความคิดหรือโครงสร้างทางจิตสำนึกของสังคมเป็นแบบไร้จริยธรรม เมื่อภาพรวมของสังคมมีลักษณะสังคมที่มีโครงสร้างเป็นรูปดังกล่าวข้างต้นนี้ การจะเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เช่นจะเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมทุนนิยมธรรมาภิบาล ก็จะมีกลุ่มอำนาจเดิมที่ได้ผลประโยชน์จากลักษณะโครงสร้างทางสังคมแบบเก่าอยู่ก็จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด ไม่ต้องคิดที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมนิยมและยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมธรรมนิยม

วิธีที่นักปฏิวัติสังคมจะเลือกแนวทางการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า มีอยู่สองแนวทางหรือสองทฤษฎีการปฏิวัติสังคม
  ๑.ทฤษฎีปฏิวัติแบบตรงไปตรงมา หลักการไม่มีอะไรมากใช้อำนาจปากกระบอกปืนเข้าไปยึดอำนารัฐเก่าแบบนี้ไม่ซับซ้อนตรงไปตรงมา เพราะนักปฏิวัติรุ่นเก่ารุ่นแก่ได้สรุปไว้เป็นบทเรียนที่ตายตัวเลยว่า “อำนาจรัฐไม่ได้มาโดยการร้องขอหรือกราบไหว้” “อำนารัฐเกิดจากปากกระบอกปืน” เมื่อได้อำนาจรัฐมาแล้วจึงเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมที่ต้องการโดยปลูกฝังความคิดให้กับสังคม เช่นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบทุนนิยมธรรมาภิบาล เศรษฐศาสตร์แบบสังคมนิยม หรือเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ  
รัฐบาลของลุงตู่ก็ใช้กระบวนการตามทฤษฎีในข้อนี้ ฝ่ายประชาชนที่เชียร์ลุงตู่ก็ต้องลุ้นกันตัวโก่งว่าจะไปได้ตลอดลอดฝั่งหรือเปล่า  บางคนเมื่อเห็นอาการแล้วก็กล้าพนันเลย “ร้อยหนึ่งเหยียบขี้หมาหนึ่งกอง” เช่นเรื่องการปฏิรูปตำรวจ การปฏิรูปพลังงาน  เรื่องการจำนำข้าวของรัฐบาลนังปู เรื่องธรรมกายเป็นต้น
๒.ทฤษฏีตีสองหน้าที่ปฏิวัติ แนวทางนี้เสี่ยงและอันตรายมาก ถ้าผู้นำไปปฏิบัติไม่มีจุดยืนและมีอุดมการณ์ที่มั่นคงจริงๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องตีกิน เคลื่อนไหวตามน้ำเพื่อหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง เพราะต้องเอาตัวเองเข้าไปเป็นองค์ประกอบใจกลางของภาวะวิสัยของสังคม เพื่อเป็นตัวเร่งเงื่อนไขภายในของสังคมให้สุกงอมเร็วขึ้นที่จะเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณเป็นคุณภาพไปสู่ภาวะวิสัยใหม่แต่จะต้องวิเคราะห์เงื่อนไขภายในให้ถูกต้องและแม่นยำ เช่นต้องวิเคราะห์เงื่อนไขภายในให้ถูกต้องว่าไข่ที่จะนำมาฝักให้ออกเป็นตัวไก่ได้นั้นจะต้องมีเชื้อของพ่อไก่แม่ไกที่ผสมพันธ์อย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่เป็นก้อนหินกลมๆหรือไข่ไม่มีเชื้อพันธุ์ นักปฏิวัติสังคมที่ใช้ทฤษฎีนี้ จะต้องเข้าไปปฏิบัติการให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการฝักเป็นตัวของไข่ฟองนั้น ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น อากาศ การพลิกตัวของฟองไขในมุมต่างๆ เพื่อให้ได้ฝักออกมาเป็นตัวไก่ได้อย่างสมบูรณ์ นักปฏิวัติจะต้องมีองค์ความรู้อย่างรอบด้าน และจะต้องกำหนดเงื่อนไขให้ถูกต้องและเป็นวิทยาศาสตร์ และต้องเป็นฝ่ายกระทำอย่างช่วงชิงโอกาสไม่ใช้ทำตัวเป็นนักฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตัวเอง
งานปฏิวัติสังคมเป็นงานที่มีเกียรติ์และยิ่งใหญ่ จะต้องเสียสละและยึดมั่นในอุดมการณ์อย่างแรงกล้า.....ขอให้การปฏิวัติจงเจริญ......!!!

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ