ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บล็อกของ Wera Sakawe

ไทย

15 มีนาคม 2559

แนวโน้มระบบการศึกษาไทยจะไปทางไหนกัน..!


จะปรนัยหรืออัตนัย



ช่วงนี้ในวงการปฏิรูปการศึกษาจะพูดถึงแบบปรนัยและแบบอัตนัยกันมาก สมัยเมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่แล้ว ตอนที่ผมเรียนอยู่ในระดับมัธยม ข้อสอบจะมีแต่แบบอัตนัยทั้งนั้น เพิ่งจะมีแบบปรนัยก็มาในช่วงหลังๆ เริ่มตั้งแต่สมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปฏิรูปการศึกษากันครั้งใหญ่ เพื่อให้สอดคลองกับแผนปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้ร่างขึ้นมาตามคำบัญชาของวอชิงตัน แผนการศึกษาแห่งชาติ ระบบการเรียนการสอน การวัดผล เป็บแบบที่ลอกเรียนแบบมาจากอเมริกาเต็มรูปแบบ การออกข้อสอบแบบปรนัยได้เข้ามาแทนที่การออกข้สอบแบบเดิมๆของไทย  “การมีรูปแบบที่หลากหลายต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ถูกที่สุดในหลายอย่าง” รูปแบบอย่างนี้เรียกว่าปรนัยส่วนการมีหลากหลายแบบมากมายนั้นเป็นแบบอัตนัย
ในความเป็นจริงสรรพสิ่งในโลกนี้มีอยู่หลากหลาย การจำแนกเป็นประเภทเป็นหมวดหมู่ เป็นพวก เรียกว่าเป็นปรนัย แต่อย่างไรก็ตามในสัตว์ ในพืชน์ ก้อนหิน แร่ธาตุ ต่างๆเหล่านี้ ในสิ่งใดๆนั้นย่อมมีความหลากหลาย เช่นม้าลายทุกตัวแม้จะมีลายขาวดำเหมือนกัน แต่เมื่อพิจารนาลงไปในรายละเอียดของแต่ละตัวย่อมไม่เหมือนกัน ทุกความหลากหลายเหล่านั้นย่อมมีเหตุผลในตัวของมันเอง
การมีกรอบตายตัวแบบปรนัย อาจจะไปปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าในวันข้างหน้าอย่างไม่คาดคิดก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่นกฏของนิวตันที่ว่า”สรรพสิ่งย่อมไม่สูญหายไปจากโลก” ซึ้งกฎข้อนี้ได้ถูกต้องมา จนถึงปัจจุบันกฎข้อนี้ก็ยังคงใช้ได้ในงานวิศวกรรมบนโลก แต่เมื่อไอน์สไตน์ได้ค้นพบใหม่ว่า สสารสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงาน และพลังงานเปลี่ยนเป็นสสารได้ จากสมการทางฟิสิกส์  E =MC2 จนมีมีผู้นำมาพัฒณาจนสร้างเป็นระเบิดปรมณูใช้สังหารชีวิตมนุษย์ไปอย่างมหาสาร และที่อินเทรนและฮือฮาสุดๆในขณะนี้ คือการค้นพบ “คลื่นโม้มถ่วง” ก็อาศรัยหลักทฤษฎีเบื้องต้น ของไอน์สไตน์    ( E=MC2 ) …..

วีระ สระกวี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ