ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก


พระพุทธเจ้าสอนอะไร : อริยสัจจ์ ๔

https://www.youtube.com/watch?v=OXnsbs6_bMc&feature=youtu.be


ภาววิสัยสังคมไทยมีส่ิ่งบอกเหตุการเสื่อมถึงขั้นวิกฤต แต่ก็่ยังดีที่มีสิ่งค้ำจุนอยู่ได้ คือพระพุทธศาสนา หากว่าคนในสังคม ไม่จมอยู่กับอวิชชาและอาสวธรรม (กิเลสาสวธรรม)   พวกเราผู้ต่ื่นรู้ด้วยปัญญา ช่วยกันค้นหาและเข้าให้ถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ เพื่อชี้ให้สังคมได้มองเห็นทางออก


อริยสัจจ์ข้อที่ ๒  สมุทัย(ต่อจากฉบับที่แล้ว) 
  
 ปัจจัยอันสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตตลอดการดำรงชีพของสัตว์โลกมีดังนี้คือ
   ๑. อาหารที่เป็นวัตถุสิ่งของธรรมดาต่างๆ มีอาหาร เครื่องยังชีพ เป็นต้น “กวฬิงการาหาร”
    ๒. ความรู้สึกถูกต้องต่อประสาทสัมผัสต่างๆ ที่มีอายตนภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ “ผัสสาหาร”
    ๓. ความรู้ที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น จากตา เป็นจักษุวิญญาณ จากหูเป็น โสตวิญญาณ ฯลฯ “วิญญาณหาร”
 ๔.เจตนาหรือความตั้งใจทำให้เกิดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นและมีผลสืบเนื่องกันไป “มโนสัญเจตนาหาร”๑
บรรดาปัจจัยทั้ง ๔ ประการเหล่านี้ มโนสัญเจตนา๒หารประการสุดท้าย เป็นความตั้งใจที่จะมีชีวิตอยู่ เป็นอยู่และการเกิดขึ้นมาใหม่ สืบเนื่องกันตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ตัวเจตนานี้เองเป็นกรรมสร้างภพสร้างชาติ สืบเนื่องติดต่อกันไป       ตามกฎของกรรมทั้งดีและเลว (กุสลากุสลกมฺม) กรรมที่ว่านี้เป็นอันเดียวกันกับความจงใจที่จะทำ (เจตนา) พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เราทราบมาแต่แรกแล้วว่าเจตนาที่จงใจในการทำนั้นแหละเรียกว่ากรรม สำหรับเรื่องมโนสัญเจตนาหารที่กล่าวมาแล้วนั้นพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เมื่อบุคคล เข้าใจอาหารคือความตั้งใจ (มโนสัญเจตนาหาร) ย่อมจะเข้าใจถึงความทะยานอยาก (ตณฺหา) ทั้ง ๓ ประการนั้นด้วย เพราะคำว่า ตัณหา ก็ดี เจตนา ก็ดี มโนสัญเจตนาก็ดี และกรรมก็ดีล้วนมีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน คือความปรารถนาอย่างกระหายความจงใจที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ความจงใจที่จะเกิดขึ้นมาใหม่อีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มีการสิ้นสุดลงเลย อันนี้เองที่เป็นตัวเหตุทำให้ทุกข์เกิดขึ้น อันได้แก่สังขารขันธ์ในเบญจขันธ์ทั้ง๕ นั่นเอง ที่ปรุงแต่งสัตว์โลกทั้งหลายให้เกิดขึ้น อันนี้เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ และเด่นชัดที่สุดดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจและจดจำไว้ให้ดีและรอบคอบว่า สาเหตุหรือต้นตอของความทุกข์นี้มีมาจากภายในตัวทุกข์เอง หาใช่จากสิ่งภายนอกไม่ ในทำนอง
เดียวกัน การดับทุกข์ การทำลายทุกข์ก็หาได้ภายในตัวทุกข์เอง สมดังพระบาลีที่มีมาในพระไตรปิฎกว่า “ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํนิโรธธมฺมํ” ซึ่งแปลเป็นใจความว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีการดับเป็นธรรมดา ถ้าหากว่าสัตว์โลก สิ่งของหรือระบบกฎเกณฑ์ต่างๆ มีการเกิดขึ้น และตั้งอยู่เป็นธรรมดาเช่นกัน ดังนั้นความทุกข์ (เบญจขันธ์) ที่มีการเกิดเป็นธรรมดาก็มี การดับไปเป็นธรรมดาเช่นกัน  

  ๑. ม.มู. ๑๒/๑๑๓/๘๗   ๒. คำว่า นโมสญฺเจตนา เทียบได้กับ Libido ในจิตวิตแบบใหม่




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ