ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
.พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร
เขียนโดย
พระ ดร.ดับลิว ราหุลเถระ
วีระ สระกวี
ตีความเรียบเรียงและสร้างสรรค์
ตอนที่่ ๒ พระพุทธเจ้า

ประวัติพระพุทธเจ้า - YouTube
https://www.youtube.com/watch?v=K4SulBFTe88


พระพุทธเจ้า
(THE BUDDHA)

   พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ (สันสกฤตว่า สิทธารถะ)    และพระนามโดยโคตรว่า โคตมะ (สํ. ว่า เคาตมะ) พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ในอินเดียตอนเหนือราวศตวรรษที่๖ ก่อนคริสต์ศักราช พระบิดาของพระองค์พระนามว่า สุทโธทนะ เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรแห่งชาวศากยะ (ในเนปาลปัจจุบัน) พระมารดาของพระองค์พระนามว่าพระราชินีมายา ตามประเพณีในสมัยนั้น พระองค์ใดได้อภิเษกสมรสตั้งแต่อายุยังพระเยาว์ทีเดียว คือเมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา กับเจ้าหญิงผู้เลอโฉมและจงรักภักดี ซึ่งมีพระนามว่ายโสธรา เจ้าชายหนุ่มประทับอยู่ในพระราชวังของพระองค์พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสบายนานัปการตามที่พระทัยปรารถนาแต่โดยไม่คาดคิด เจ้าชายก็ได้ทรงพบเห็นความเป็นจริงของชีวิต และความทุกข์ของมนุษยชาติ จึงตัดสินพระทัยที่จะหาทางแก้ กล่าวคือหนทางพ้นไปจากความทุกข์อันมีอยู่ทั่วไปในสากลนี้ เมื่อพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา ภายหลังการประสูติพระโอรสพระองค์เดียว คือเจ้าชายราหุลไม่นานนักพระองค์ก็เสด็จจากอาณาจักรของพระองค์ไป และได้ทรงผนวชเป็นนักบวช (ฤาษี) เพื่อแสวงหาทางแก้ไข (ทุกข์) นั้น นับเป็นเวลาถึง ๖ ปี พระฤาษีโคตมะได้เสด็จจาริกเรื่อยไปในแถบลุ่มแม่น้ำคงคาได้ทรงพบกับอาจารย์สอนศาสนาที่มีชื่อเสียง พระองค์ได้ทรงศึกษาและปฏิบัติตามระบบการและวิธีการของอาจารย์เหล่านั้น และได้ยอมลดพระองค์ลงรับข้อปฏิบัติแบบทุกกรกิริยาอันหนักยิ่ง แต่ข้อปฏิบัติแห่งหลักการและระบบศาสนาเหล่านั้นทั้งปวงไม่ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยเลย ดังนั้น พระองค์จึงได้ทรงละทิ้งศาสนาที่มีมาแต่เดิมทั้งหมด พร้อมทั้งวิธีการของศาสนาเหล่านั้นเสีย แล้วดำเนินไปตามวิถีทางของพระองค์เอง เรื่องก็เป็นมาอย่างนี้แหละจนกระทั่งราตรีวันหนึ่ง  เมื่อพระองค์ประทับนั่งอยู่ที่ภายใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง (แต่นั้นมาก็รู้จักกันโดยชื่อว่า ต้นโพธิ์ หรือต้นไม้ตรัสรู้) ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราที่พุทธคยา (ใกล้ตำบลคยาในรัฐพิหารปัจจุบัน) เมื่อพระชนม์ได้ ๓๕ พรรษาพระโคตมะก็ได้บรรลุพระโพธิญาณ ซึ่งภายหลังจากการบรรลุโพธิญาณนั้นแล้ว พระองค์ก็เป็นที่รู้จักกันในพระนามว่าพระพุทธเจ้า หรือ ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว

   หลังจากการตรัสรู้ของพระองค์แล้ว พระโคตมะพุทธเจ้าก็ได้ทรง ประทานปฐมเทศนาแก่เบญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมปฏิบัติธรรมมาแต่แรกของพระองค์ ณ สวนกลางที่ป่าอิสิปตนะ(สารนาถ) ใกล้เมืองพาราณสี นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาเป็นเวลา ๔๕ พรรษา พระองค์ก็ได้ทรงสั่งสอนมนุษย์ชายหญิงทุกชั้น กล่าวคือ ทั้งกษัตริย์ ชาวนา พราหมณ์ จัณฑาล ทั้งคฤหบดีและขอทาน ทั้งนักบวชและพวกโจร โดยมิได้ทรงทำการแบ่งแยกชนชั้นสักนิดเดียวในหมู่เหล่านั้น พระองค์มิได้ทรงยอมรับความแตกต่างกันแห่งวรรณะ หรือการแบ่งกลุ่มชนในสังคมเลย บรรดาที่พระองค์ทรงสั่งสอนนั้นก็ทรงเปิดรับมนุษย์ชายหญิงทุกคนผู้พร้อมที่จะเข้าใจและปฏิบัติตาม เมื่อพระชนม์ได้ ๘๐ พรรษา พระพุทธเจ้าก็เสด็จดับขันธปรินิพพานที่ เมืองกุสินารา (ซึ่งอยู่ในเขตอุตรประเทศในอินเดียปัจจุบัน)ปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนามีปรากฏอยู่ในประเทศ ศรีลังกา พม่า ไทย เขมร ลาวเวียดนาม ธิเบต จีน ญี่ปุ่น มงโกเลีย เกาหลี ไต้หวัน และในบางส่วนของประเทศอินเดียปากีสถาน และเนปาล กับทั้งในสภาพโซเวียตด้วย ประชากรชาวพุทธทั่วโลกมีจำนวนเกินกว่า ๕๐๐ ล้านคน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ