ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร: ตอนที่ ๓ กาลามสูตร



กาลามสูตร


   สมัยหนึ่่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยือนนิคมแห่งหนึ่่ง เรียกช่ื่อว่า เกสปุตตะ ในแคว้นโกศลชาวนิคมนี้รู้จักกันโดยชื่อสามัญว่า กาลามะ เมื่อพวกกาลามะเหล่านั้นได้สดับว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในนิคมของตนชาวกาลามะทั้งหลายจึงได้มาเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลพระองค์ว่า :-
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณะและพราหมณ์บางพวกที่มาเยี่ยมเยือนเกสปุตตะนิคม สมณพราหมณ์เหล่านั้นอธิบายและยกย่องคำสอนของตนเองฝ่ายเดียวเท่านั้น และดูถูก ประณามเหยียดหยามหลักธรรมของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ต่อมาก็มีสมณพราหมณ์เหล่าอื่นมาอีก สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็เช่นเดียวกันเมื่อถึงทีของตนบ้างก็อธิบายและเชิดชูแต่คำสอนของตนฝ่ายเดียวและดูถูกประณามเหยียดหยามคำสอนของสมณพราหมณ์เหล่าอื่นข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สำหรับพวกข้าพระองค์นั้น พวกข้าพระองค์มีความสงสัยและคลางแคลงใจอยู่เสมอในข้อที่ว่า “ในบรรดาสมณพราหมณ์ผู้น่าเคารพเหล่านี้ ใครกันหนอกล่าวคำสัตย์จริง และพวกไหนกล่าวคำเท็จ”ลำดับนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงประทานคำแนะนำอันเป็นคำแนะนำที่ยอดเยี่ยมในประวัติศาสตร์ศาสนาทั้งหลาย แก่กาลามะชนเหล่านั้นว่า “ถูกแล้วกาลามะทั้งหลาย เป็นการสมควรที่เธอทั้งหลายมีความสงสัย มีความคลางแคลงใจ เพราะว่าเป็นเรื่องที่ควรแก่ความสงสัยดูกรชาวกาลามะที่นี้ พวกท่านจงพิจารณาอย่างนี้ว่า : พวกเธอ

       ๑.Do not be led by reports.
       - จงอย่าเชื่อโดยการบอกเล่า
     ๒.Do not be led by tradition
     - จงอย่าเชื่อโดยการนำสืบๆ กันมา
     ๓. Do not be led hearsay.
     - จงอย่าเชื่อโดยการเล่าลือ
     ๔. Do not be led by authority of Religious texts.
     - จงอย่าเชื่อโดยการอ้างคัมภีร์ (ตำรา)
    ๕. Nor by mere logic.
    - จงอย่าเชื่อโดยตรรก
    ๖. Or inference.
    - จงอย่าเชื่อโดยอนุมานตามนัยะ
    ๗. Nor by considering appearances.
    - จงอย่าเชื่อโดยเพียงเห็นกิริยาอาการภายนอก
    ๘. Nor by the delight in speculative opinions.
    - จงอย่าเชื่อโดยความชอบใจในความคิดเห็นของตน
    ๙ . Nor by seeming possibilities.
    - จงอย่าเชื่อโดยเห็นว่าความน่าจะเป็นไปได้
    ๑๐.Nor by the idea : This is our teacher.
     - จงอย่าเชื่อโดยคิดว่านี้เป็นครู อาจารย์ของเรา
 ดูกรกาลามะชนทั้งหลาย แต่เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าธรรมทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอกุศล ผิดพลาด ชั่วร้าย เมื่อนั้นจงละทิ้งธรรมเหล่านั้นเสีย และเมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ประจักษ์ด้วยตนเองว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นกุศล ดีงาม เมื่อนั้นจงยอมรับเอาและปฏิบัติตามธรรมเหล่านั้นเถิดพระพุทธเจ้ายังตรัสยิ่งไปกว่านั้นอีก คือพระองค์ตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “สาวกควรพิจารณาตรวจสอบแม้แต่องค์พระตถาคตเอง เพื่อว่าสาวกจะได้มีความมั่นใจโดยสมบูรณ์ในคุณค่าที่แท้จริง ของศาสดาที่ตนประพฤติปฏิบัติตาม”

        ๑ ม.มู. ๑๒/๕๓๕-๙/๕๗๖–๕๘๐.
        ๒ องฺ. ติก. ๒๐/๕๐๕/๒๔๑.                                                                                                                      

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ