ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โมทนพจน์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.ปยุต โต ) คำนิยม ในหนังสือ “พุทธเศรษฐศาสตร์ “เขียนโดย ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน

   
โมทนพจน์
โดย พระธรรมปิฎก (ป.ปยุต โต ) คำนิยม ในหนังสือ “พุทธเศรษฐศาสตร์ “เขียนโดย ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน


 ความเจริญก้าวหน้าตลอดยุคที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการพัฒนาตามแนวทางของอารยธรรมตะวันตก ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาที่มีเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลาง มีเป้าหม่ายเพื่อสร้างความเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาอย่างนี้ได้สัมฤทธิผลอย่างมาก ดังที่หลายประเทศได้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากมาย และโลกได้เจริญก้าวหน้าไปไกลในทางวัตถุโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์กินใช้เสพบริโภคและดำเนินกิจกรรมต่างๆอย่างพรั่งพร้อมสะดวกสบาย
   อย่างไรก็ตาม เมื่อมองลึกลงไป ดูให้ชัด ตรวจสอบให้ละเอียดทั่วถึงมากขึ้น ก็เห็นว่า ความเจริญพรั่งพร้อมสุขสบายนั้น เป็นภาพผิวเผินที่เด่นขึ้นมาเป็นหย่อมๆและพรางสายตา พอวิเคราะห์กันจริง กลับปรากฎว่า ในขณะที่บางส่วนบางที่เจริญพรังพร้อมเสพบริโภคกันอย่างฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย  อีกหลายแห่งขัดสนขาดแคลน ความยากจนของคนในโลกรวมแล้วไม่ลดลง บางแห่งสิ้นหวังยิ่งขึ้น แม้แต่หลายส่วนของโลกที่ระเริงกับความเจริญก้าวหน้ามั่งคั่ง ก็เป็นเพียงสภาพที่ฉาบฉวย อืดเฟ้อภายนอก ไม่มีหลักประกันของความมั่นคั่งที่แท้จริง อยู่ๆโดยไม่รู้ตัวก็ต้องประสบภาววิกฤติ เหมือนฟองสบู่แตก
    การใช้อำนาจครอบงำแย่งชิงเอาเปรียบกันระหว่างสังคมและระหว่างประเทศยังคงดำเนินต่อไป เพียงแต่เปลี่ยนแปรรูปแบบไปใหม่ๆ สภาพปลาใหญ่กินปลาเล็ก เป็นสถานการณ์จริงที่ซับซ้อนมองเห็นยากยิ่งขึ้น ความเป็นเสรีมิได้มีความหมายเป็นอันเดียวกันกับความเป็น ธรรมอย่างที่โฆษนา
    มองแคบเจาะลึกลงไปในส่วนย่อย ท่ามกลางภาวะที่ว่าเจริญพรั่งพร้อมนั้ยเอง ชีวิตจิตใจของคนก็มิได้มีความสุขมากขึ้น ความเหงา ความว้าเหว่ ความแปลกแยก โรคจิต โรคประสาท และการฆ่าตัวตาย แพร่กระจายออกไป พร้อมกับความเจริญอย่างสมัยใหม่ โดยเฉพาะความเครียดที่แทบจะกลายเป็นสัญลักณ์ของความเจริญแบบตะวันตก ซึ่งส่งผลโยงไปสู่ปัญหาสุขภาพกาย โรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่ผูกติดอยู่กับวิถีชีวิตอุตสาหกรรม และปัญหาสุขภาพจิตที่โยงไปสู่ปัญหาสังคม รวมทั้งความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม และสภาพโลกาภิวัฒน์ที่คืบขยายไปพร้อมกับความเสื่อมสลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น
  ไม่เฉพาะการแย่งชิงเบียดเบียน และอาการต่างๆแห่งความเห็นแก่ตัวที่เพิ่มขึ้น ยังมีปัญหาที่แสดงถึงความเสียคุณภาพชีวิตและความทุกข์อีกมากมาย เช่น การแพร่ระบาดของยาเสพย์ติด ความประพฤติผิดเบี่ยงเบนทางเพศ อบายมุขทุขอย่าง ซึ่งประสานกันไปกับอาชญากรรม แม้จะเชื่อกันว่าความเจริญอย่างสมัยใหม่มากับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ แต่ความเชื่อถืองมงายและไสยศาสตร์ในรูปแบบต่างๆกลับแพร่ระบาดอย่างไร้ระเบียบยิ่งกว่าสมัยโบราญ
    เมื่อแรกเข้าสู่สมัยใหม่ คนทั้งหลายพากันตื่นเต้นกับความเจริญและประดิษฐกรรมใหม่ๆ จึงเปี่ยมด้วยความหวังว่าความเจริญก้าวหน้านั้นจะพาไปสู่ความมั่งคั่งพรั่งพร้อมและความสุขสมบูรณ์ แต่ครั้นกาลเวลาผ่านมานานขึ้น ปัญหาต่างๆที่พ่วงมากับความเจริญก้าวหน้าก็ปรากฎออกมาพอกพูนมากขึ้น ภาพด้านดีเลือนรางลง ขณะที่ภาพด้านร้ายเด่นชัดยิ่งขึ้น จนกระทั้งความหวังจางหายกลายเป็นความหวาด ผลรวมสุดท้ายของความเจริญก้าวหน้านั้น ก็คือสภาพเสื่อมโทรมของโลกที่มนุษย์อยู่อาศัย อันหมายถึงวินาศภัยของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติซึ่งในที่สุดก็นำมนุษย์มาสู่ข้อสรุปง่ายๆสั้นๆว่า ความเจริญก้าวหน้าของอรธรรมที่ผ่ามาทั้งหมดตลอดยุคสมัยใหม่ เป็น”การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืย”
   คำว่า”การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน”นั้นมีความหมายว่า การพัฒนาสร้างความเจริญก้าวหน้าในสังคมมนุษย์ ที่มุ่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีวัตถุเสพบริโภคมั่งคั่งพรั่งพร้อม โดยอาศัยกระบวนการอุตสาหหกรรมที่พึ่งพาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น เป็นการพัฒนาที่มุ่งความเจริญทางวัตถุด้านเดียว ทำให้เสียดุลเพราะขาดพัฒนาองค์ประกอบด้านตัวมนุษย์ที่เป็นปัจจัยทางมามธรรม จึงไม่อาจคงอยู่ได้ยืนนาน
  ถ้ามองลึกลงไป การที่มนุษย์พัฒนาอารธรรมมาในทิศทางอย่างนั้น ก็เพราะมีเจตนาที่ตั้งจิตคิดมุ่งหมายไปตามแนวคิดความเชื่อถือหรือทิฐิต้วนำที่รองรับอยู่ กล่าวคือ กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจได้ดำเนินไปตามแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และมองกว้างออกำไป ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ก็ได้รับแรงส่งอิทธิพลหรือถูกกำหนด ด้วยแนวคิคแกนกลางของอารธรรมทั้งหมด ซึ่งในที่นี้คืออารยะธรรมตะวันตก
  เมื่อโลกได้ก้าวมาในความเจริญสมัยใหม่ จนได้เสวยผลแห่งการพัฒนา ทีไม่ยั่งยืนอย่างนี้แล้ว ต่อไปนี้จึงเป็นการเวลาแห่งการเพียรพยายามหาทางออกที่จะแก้ปัญหา เพื่อพลิกการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนนั้น ให้เปลี่ยนกลับเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และแน่นอนว่า ความสำเร็จในการแก้ปัญหาจะอาศัยเพียงการแก้กระบวนการทางเศษฐกิจเท่านั้นไม่ได้ แต่จะต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนลึกลงไปถึงทิฐิที่เป็นรากฐานของระบบและกระบวนการทางเศรษฐกิจนั้น คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และมิใช่เฉพาะทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ต้องปรับเปลี่ยนทิฐิที่เป็นฐานรองรับอารยธรรมตะวันตกนั้นทั้งหมดทั้งสิ้น อันเป็นภารกิจทางปัญญาอันใหญ่ยิ่ง
  แท้จริงนั้น แม้ในอารยธรรมตะวันตก ตลอดทุกยุคทุกสมัย ก็ได้มีปราชญ์นักคิด และผู้รู้ที่มีแนวคิดความเห็นแตกต่างออกไปจากทิฐิกระแสหลักของอารยธรรมตะวันตกนั้น รวมทั้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ต่างออกไปจากเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่ครอบงำโลกอยู่ในบัดนี้ แม้จะเป็นความแตกต่างที่ไม่ถึงกับเป็นอิสระหลุดพ้นจากระบบความคิดพื้นฐานของตะวันตกเสียเลยทีเดียว แต่ก็ส่อแววและก่อเค้าที่จะช่วยแหวกช่องทางออกไป
  ยิ่งเมื่อมาถึงยุคปัจจุบันแห่งโลกาภิวัตน์ ที่กระแสอารยธรรมตะวันตกแห่งการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนนั้นแผ่ไปครอบคลุมและครอบงำทั่วทั้งโลก เมื่อมองในแง่ดีก็เป็นโอกาสให้ชาวตะวันตกได้มาพบหรือปะทะกับแนวคิดและภูมิปัญญาจากอารยธรรมกระอื่นทางฝากตะวันออก และเป็นโอกาสที่กระแสภูมิปัญญาตะวันออกจะไหลย้อนทวนทิศทางเข้าไปสู่ตะวันตก โดยเฉพาะในขณะที่ตะวันตกเองกำลังหาทางออก แม้สำหรับชาวตะวันออกเองก็ถึงเวลาที่จะตื่นตัว ตระหนักถึงภัยที่มากับอารยธรรมโลกาภิวัตน์ และค้นคิดเสนอทางออกให้แก่โลกในยามที่ปรากฏชัดแล้วว่าแนวคิดแบบตะวันตกนั้นพาโลกมาสู่ภาวะที่ถือได้ว่าเป็นความอับจนและภูมิปัญญานั้นเองก็ตีบตัน เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่ออารยธรรมตะวันออกเองมีพื้นฐานทางภูมิปัญญาที่ต่างออกไปจากแบบของตะวันตก
      ในระยะเวลาไม่นานนี้ ได้มีผู้นำเสนอแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ตามหลักพุทธธรรมที่เป็นแหล่งแห่งภูมิปัญญาตะวันออกที่สำคัญ ปรากฎขึันมาเป็นระยะๆมีทั้งชาวตะวันตกและชาวเอเซียเอง คนที่จุดประกายสำคัญและรู้จักกันมาก คือ อี.เอฟ.ชูมาเคอร์ ที่ได้เขียนเรื่อง “Buddhist Economics” ไว้เป็นบทหนึ่งในหนังสือของเขาที่ชื่อ Small is Beautiful ซึ่งมีผู้นำไปอ้างอิงและกล้าวถึงมาก
  ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน ป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งที่ให้ความสำคัญแก่เรื่องนี้ และด้วยแรงใจที่มุ่งมั่นจะหาทางออกให้แก่อารยธรรม ในการแก้ปัญหาการพัฒนาที่ไม้ยั่งยืนที่กล่าวมา และมองเห็นทางออกนั้นในหลักพุทธธรรม ก็ได้เพียรพยายามศึกษาและตั้งแนวคิดนำเสนอขึ้นมา ด้วยการทำงานวิจัย ที่ปรากฎเป็นผลงานที่มีชื่อว่า “พุทธเศรษฐศาสตร์” เล่มนี้
กำลังใจหรือแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งที่มีส่วนสนับสนุนในการทำงานวิจัยชิ้นนี้ จะเห็นได้ในคำกล่าวของผู้วิจัยเองแห่งหนึ่งว่า
  “เป็นที่น่าสังเกตว่า ที่ซูมาเคอร์นำคำว่าพุทธเศรษฐศาสตร์มาใช้เป็นครั้งแรกในปี 1973  นั้น ได้รับแรงบรรดาลใจจากการที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำหน้าที่ที่ปรึกษาเศรษฐกิจที่ประเทศพม่า…….ดังนั้นจึงเป็นที่แน่นอนว่าความเข้าใจพุทธธรรมอย่างลึกซึ้งของซูมาเคอร์จะต้องมีอย่างจำกัด แต่การที่เขามีความกล้าหาญออกมาแสดงความคิดเช่นนี้ อีกทั้งความคิดของเขาได้รับการเผยแพรและยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก ย่อมเป็นการท้าทายความสามารถของชาวพุทธที่ได้ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์จากตะวันตก ให้ออกมาแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้กันบ้าง(น.744)
  การที่จะแก้ปัญหาให้สำเร็จ จะต้องจับจุดต้นตอที่ก่อปัญหา คือ สมุทัยให้ได้ ในเมื่อปัญหาดังกล่าวมีต้นตอที่ก่อตัวอยู่ในรากฐานความคิดของอารยธรรมตะวันตก ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสร ในฐานะที่เป็นนักวิชาการและเป็นครูอาจารย์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นในประเทศตะวันตก ก็ได้สืบสาวจุดกำเนิดและวิวัฒนาการของแนวคิดทฤษฎีต่างๆทางเศรษศาสตร์ ทุกสำนักทุกสาขาที่สำคัญ ที่ได้มีบทบาทในการสานแนวคิดทิฐิทางเศรษฐศาสตร์ที่มีอิทธพลครอบงำโลกอยู่ในปัจจุบัน
  การแสดงทั้งเนื้อหา ทฤษฎี และความเป็นมาที่อยู่เบื้องหลังวิวัฒนาการรวมทั้งเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ของแนวคิดเหล่านั้น ย่อมช่วยให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อบกพร่อง ที่จะต้องแก้ไขได้ชัดเจน และทำให้เห็นเหตุผลที่จะต้องนำพุทธธรรมเข้าไปประยุกต์ในการที่จะแก้ไขปัญหา
  แม้มองเพียงในแง่การศึกษาความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกอย่างเดียว ผลงานวิจัยนี้ก็ให้ประโยชน์ในขั้นพืนฐานอยู่แล้ว รวมทั้งให้ความกระจ่างชัดเจนในประเด็นที่บางอย่างละเอียดอ่อน บางอย่างท้าทาย เช่นว่า
  ”....เศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่าเศรษฐศาตร์กระแสหลักในปจจุบัน ที่มักจะยกย่องว่ามีรากมาจกวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy) ของอดัม สมิธ (Adam Smith, 1723 _ 1790 )นั้น ไม่เป็นควมจริง…” (น.170 )
   หรือว่า
   “การกล่าวอ้างว่าเศรษฐศาตร์เป็นวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีเรื่อง ‘ศรัทธา’ หรือ ‘ความเชื่อ’ เข้ามาเกี่ยข้องจึงไม่เป็นความจริง” (น.171)
   รวมทั้งขอความที่ว่า
   “....ซึ่งก็เป็นความจริงว่า โปรแตสแตนต์มีส่วนสนับสนุนลัทธิทุนนิยมแต่ก็มิใช่เจตนารมณ์ดั้งเดิมของมาร์ติน ลูเธอร์ (น.179 )
   ตลอดถึงว่า
  “ผลที่ตามมาจากแนวความคิดของทั้งมาร์กซ์และลูเธอร์ โดยที่อาจจะไม่ได้คาดคิดมาก่อนก็คือ ลูเธอร์เองนั้นมีส่วนสร้างทรราชอันเกิดจากรัฐชาติ (nation states ) ที่เกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก….ส่วนกรณีความคิดของมาร์กซ์ก็มีผลทำให้เกิดสงครามศาสนาในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าสงครามปฎิวัติ… (น.230 - 231 )
   มองกว้างออกไป ขณะที่ปัญหาทั้งหลายที่สะสมมาในอารยธรรมปัจจุบันได้ปรากฏผลชัดเจนออกมาแล้ว รวมทั้งวิกฤติแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งวงวิชาการสมัยใหม่ในตะวันตกก็รู้สำนึกกันดีว่าเป็นผลสืบเนื่องจากความบกพร่องผิดพลาด หรืออย่างน้อยความไม่พอเพียงของศาสตร์ต่างๆในสมัยใหม่ ซึ่งนักวิชาการตะวันตกเองก็พยายามหาทางออกกันอยู่ รวมทั้งเศรษฐศาสตร์ด้วยควรหรือที่วงวิชาการไทยจะปล่อยตัวตกอยู่ในความประมาทละเลย หรือยังมัวตามต้อยรอคอยความคิดของตะวันตกต่อไป น่าจะคิดแหวกวงออกจากความคิดกระแสหลัก หาแนวคิดใหม่มาเป็นส่วนร่วมให้แก่โลกบ้างโดยเฉพวะน่าจะมีความกล้าหาญที่จะออกนำหน้าในการหาทางออกใหม่ๆให้แก่โลกนี้ ที่รู้กันชัดอยู่แล้วว่ากำลังตกอยู่ในสภาพวิกฤติอย่างหนัก
   ที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นเป้าหมายของงานวิจัยนี้ ก็คือการวิเคราะห์ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และเนื้อหาทฤษฎี ชี้ให้เห็นจุดอ่อน ข้อบกพร่องในเศรษฐศาสตร์ตะวันตก โดยเฉพาะเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เป็นเหตุก่อปัญหา อันจะต้องแก้ไขพร้อมกับแนวคิดใหม่จากพุทธธรรมที่ผู้วิจัยนำเสนอให้เห็นว่ามีหลักการชัดเจน ซึ่งหากนำมาประยุกต์ จะแก้ปัญหาได้และนำไปสู่จุดหมายที่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร
  ผู้วิจัยชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญ เช่น การที่จะต้องเน้นประสิทธิภาพในการบริโภค แทนที่จะมัวติดอยู่กับการพยายามให้มีประทธิภาพในการผลิตโดยเฉพาะจุดพลาดในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและแนวคิดของตะวันตกทั้งหมด ที่มัวหลงภูมิใจและหลอกตัวเองว่า วิชาการของตนเป็นวิทยาศาสตร์โดยยึดเอาตรรกะทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือพิสูจน์ฺความจริงตามสมมติฐานอันเป็นเพียงความเชื่อด้วยทิฐิผิดที่บังตาตนเองจากความเป็นจริงของธรรมชาติ และเพราะการขาดความรู้ความเข้าใจมนุษย์ตามความเป็นจริง ก็ได้ก้าวหน้าไปในความพัฒนาความฉลาดขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์สามารถจัดการกับธรรมชาติภายนอกด้วยกิจกรรมเศรษฐกิจที่จะสนองความต้องการในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวนำมาซึ่งควมเจริญก้าวหน้าและการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ก่อการเบียดเบียน นำมาซึ่งหายนภัยแก่สิ่งแวดล้อม และคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ ซึ่งทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานเพื่อก้าวจากความเชื่อในวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเพียงสมมติฐานซึ่งอิงตรรกะทางคณิตศาสตร์สู่ความจริงของธรรมชาติแท้ตามที่มันเป็น จากการมองมนุษย์เยี่ยงสัตว์ที่มุ่งแต่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว สู่การเข้าใจชีวิตจิตใจของมนุษย์อย่างแท้จริง และจากความลำพองในความฉลาด สู่วิถีแห่งชีวิตที่สงบมั่นคงด้วยปัญญา
  การชี้ประเด็นสำคัญเหล่านี้ก็ดี การประยุกต์พุทธธรรมเข้ากับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆก็ดี รวมทั้งการที่จะพัฒนาทฤษฎีใหม่ๆทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นมาโดยสอดคล้องกับแนวคิดที่นำเสนอนั้น ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน ผู้วิจัยถือว่า “งานเขียนนึัจึงเป็นการเปิดประเด็นให้มีการถกเถียงค้นคว้า และคันหาความจริงหรือสัจธรรม ในเนื้อหาที่มีอยู่ในปัจจุบันของวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักให้เพิ่มมากขึ้น ที่จะได้ช่วยกันแก้ข้อบกพร่องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง และรับใช้มนุษย์ได้ตามเจตนารมณ์ของการเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์แก่มนุษย์ได้มากยิ่งขึ้นในที่สุด….”และ  “ งานนี้จึงไม่ได้เขียนขึ้นในฐานะที่เป็นทางเลือกของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แต่เป็นการเสนอให้พิจารณาวิชาเศรษฐศาสตร์ในฐานะที่ควรจะเป็นไปตามความเป็นตริง ที่ควรจะได้รับการศึกษาค้นคว้าอย่างแท้จริงในอนาคต”
  ขออนุโมทนากุศลเจตนา พร้อมทั้งฉันทะและความเพียรพยายามของศาสตร์จารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน ที่ได้สร้างความก้าวหน้าทางวิชาการด้วยการทำงานวิจัยครั้งนี้ ซึ่งเป็นการก้าวออกมาช่วยกันหาทางออกทางปัญญาให้แก่วงวิชาการ ในการแก้ปัญหาร่วมกันของมนุษยชาติ เป็นก้าวใหม่ในวงการเศรษฐศาสตร์ โดยการริเริ่มของนักเศรฐศาสตร์ไทย ขอให้ความเพียรในการสร้างสรรค์นี้นำไปสู่จุดหมายสุดท้ายร่วมกัน คือ ความหลุดพ้นจากทุกข์ และการบรรลุประโยชน์สุขของประชาชาวโลกที่ยั่งยืนนาน
                                                                     พระธรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)
                                                                       27 กันยายน2543



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ