ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การอธิบายความสำคัญของปัญญา โดยปฏิจจสมุปบาท

การอธิบายความสำคัญของปัญญา โดยปฏิจจสมุปบาท

   โดยปกติการวิเคราะห์ขันธ์ ๕ นั้น เป็นการวิเคราะในลักษณะแยกส่วนเพื่อให้เข้าใจความหมายของความไม่มีตัวตน หรืออัตตา ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เมื่อถูกนำไปใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญญามีความสำคัญอย่างไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมทั้งอธิบายว่าเหตุใดปัญญาจึงมิสามารถเกิดขึ้นไดโดยง่าย ได้มีผู้รู้หลายท่านตั้งเป็นข้อสังเกตว่า การวิเคราะห์ด้วยขันธ์ ๕ นั้นโดยลักษณะของการวิเคราะห์ที่แสดงไว้ข้างต้นนั้น เป็นการวิเคราะห์แบบแยกส่วน และเป็นการวิเคราะห์ในสภาวะสถิต (statitic analysis)  ซึ่งไม่สอดคล้องกับการวิเคราะห์แบบพุทธ ที่มีลักษณะเป็นองค์รวมและมีความเป็นพลวัต อีกทั้งอาจจะไม่ช่วยให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจน เนื่องจากทั้งสติและปัญญานั้นซ่อนอยู่ในสังขารขันธ์ จึงได้มีเสนอว่าควรอธิบายความสำคัญของปัญญาด้วยหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน (dependent origination of conditionedarising) ซึ่งแสดงถึงกระบวนการเกิดดับของทุกข์ มีลักษณะของการอธิบายเป็นองค์รวมและมีความเป็นพลวัต สอดคล้องกับพุทธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นวงจรไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ ดังต่อไปนี้



   ในภาพดังกล่าว อวิชา (๑) คือความไม่รู้ หรือความรู้ที่ไม่ถูกต้องนำไปสู่ สังขาร (๒) หรือมีการปรุงแต่งและลงมือกระทำ โดยมีเจตจำนงที่จะให้ได้รับผลตามความรู้ที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว เกิดเป็น วิญญาณ (๓) หรือความตระหนักรู้ เฉพาะที่จะเข้าได้กับเจตนาที่ได้ปรุงแต่งขึ้นเพราะมีวิญญาณเกิดเป็น นามรูป (๔) หรือองค์ประกอบที่เหลือของขันธ์ ๕ จึงเกิดขึ้นได้นั่นคือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ หรือการเกิดตัวตนขึ้นครบถ้วนนั่นเอง เมื่อมีตัวตนพร้อมแล้วก็จะต้องมีช่องทางที่จะติดต่อระหว่างโลกภายในกับโลกภายนอก (อายตนะภายนอกและอายตนะภายใน)นั่นคือ สฬายตนะ (๕) เมื่อมีช่องทางติดต่อระหว่างโลกภายนอกและโลกภายใน การสัมผัส หรือผัสสะ (๖)ก็จะเกิดขึ้นอันเป็นผลตามมาเกิดความรู้สึก เวทนา (๗) หรือการเสวยอารมณ์ จากนั้นกระบวนธรรมก็จะส่งความรู้ต่อไปถึงสังขาร ถ้าสิ่งที่รู้นั้นเป็นสิ่งที่ชอบก็จะติดใจอยากได้ อยากมีประสบการณ์เช่นนั้นหรือมากกว่านั้น แต่ถ้าไม่ชอบก็จะหลีกเลี่ยงหรืออยากให้สิ่งเหล่านั้นสูญไป ความอยากดังกล่าวคือ ตัณหา (๘) เมื่อความอยากไม่ถูกระงับหรือกำจัดให้ลดลง ก็จะทวีความรุนแรงเพิ่มมาก เป็นการยึดมั่นถือมั่น หรือ อุปาทาน (๙)  เกิดเป็นเจตจำนงที่จะทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งการยึดมั่นถือมั่น เป็นการผลักดันให้เกิดการสืบต่อในขั้นต่อไป หรือเกิดเป็น ภพ (๑๐) การมีภพทำให้พลังขับดันดำเนินต่อไปได้ เกิดผลตามพลังแห่งกรรม หรือ ชาติ (๑๑) สิ่งใดก็ตามเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องมีการเสื่อมโทรมและดับไปตามกฎของอนิจจัง นั่นคือ ชรามรณะ (๑๒) และเมื่อสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นจนกระทั้งมีกรรมเป็นผู้กระทำให้บังเกิดผลมีอันเสื่อมสลายไป ก็เกิดโสกะ หรือความโสก (sorrow) ปริเทว การคร่ำครวญหา (lamentation )  ความทุกข์ระทม (pain) ความโทมนัสหรือความเสียใจ(grief) และอุปายาส หรือความคับแค้นใจ (despair)  ซึ่งเป็นปัจจัยของอวิชชา คือความไม่รู้จริง มีลักษณะเป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุด
   ดังนั้น ถ้าหากต้องการจะตัดวงจรดังกล้าวออกไป จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ด้วยความจริง หรือ วิชชา ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับปัญญา หรือมิฉนั้นก็อาจจะใช้ปัญญาไปจัดการที่สังขาร(๒) ให้เป็นความรู้ที่ถูกต้อง หรือใช้ปัญญาไปจัดการกับเวทนา (๗) หรือตัญหา (๘) หรืออุปาทาน (๙) ถ้าตัดวงจรเหล่านี้ขาดด้วยปัญญาที่จุดใดจุดหนึ่ง ความทุกข์ก็จะหมดไป
   จุดเด่นของการอธิบายแบบปฏิจจสมุปบาท ก็คือเป็นการอธิบายในลักษณะที่เป็นเงื่อนไขต่อกันในลักษณะที่ว่า เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนั้นจึงเกิดมีได้มีความเป็นพลวัตและเน้นความเป็นองค์รวม ในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง และชี้ให้เห็นถึงบทบาทของปัญญาในการแก้ความไม่รู้ หรืออวิชชา ซึ่งเป็นทั้งสาเหตุและผลจากความทุกข์ แต่ก็ไม่สามารถชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนเหมือนการวิเคราะห์ขันธ์ ๕ ว่า การเกิดของปัญญานั้นมิใชเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้งาย ดังนั้นการอธิบายโดยปฏิจจสมุปบาทจึงมีทั้งจุดเด๋นและจุดด้อยเช่นกัน และเนื่องจากการอธิบายแบบปฏิจจสมุปบาทนี้อาจจะมีการตีความในลักษณะการอธิบายการมีชาติก่อน ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งไม่สามารถอธิบายให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายเหมือนขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นการอธิบายที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ผู้เขียนจึงเลือกที่จะอธิบายความสำคัญของปัญญา โดยใช้ขันธ์ ๕ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถอธิบายโดยหลักปฏิจจสมุปบาทได้เช่นกัน ดังที่ได้แสดงมาแล้ว

     ( จากหนังสือ พุทธเศรษฐศาสตร์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน หน้า ๓๖๕ -๓๖๘ )














ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ