ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๑)

 เนื่องจากปัญญาเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สามารถยกระดับของจิตมนุษย์และสามารถขจัดความทุกข์เพื่อให้มนุษย์ได้พบกับความสุขตามธรรมชาติที่แท้จริง การเน้นปัญญาและกระบวนการในการเสริมสร้างปัญญาจึงมีสาระสำคัญยิ่งตรรกะที่ใช้ในพุทธศาสนาไม่ใช่ตรรกะเบื้องต้นแบบของอริสโตเติลที่เป็นตรรกะแบบสุดขั้ว นั้นคือ ถ้าไม่ ก ก็ต้องเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ ก แบ่งเป็นขาวเป็นดำอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการแยกพื้นที่บริเวณตรงกลางทิ้งออกไป ในหลายกรณีพื้นที่บริเวณตรงกลางที่เป็นสีเทาอาจจะมีปริมณฑลกว้างขวางเป็นทั้งขาวและดำก็ได้ ลักษณะตรรกะแบบนี้ปัจจุบันทราบกันดีในวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า ตรรกะแบบสบสน (fuzzy logic) ตัวอย่างเช่น ในความทุกข์ย่อมต้องมีความสุขอยู่ด้วย ทั้งนี้เพราะความสุขก็คือความทุกข์ที่ลดน้อยลงไป ในอวิชชาย่อมต้องมีวิชชาอยู่ด้วย [โปรดดูคำอธิบายเบื้องตนของ Kosko,Bart(1994) Fuzzy Thinking. London.Flamingโดยเฉพาะบทที่ ๑ ที่อธิบายว่าขาวและดำเป็นกรณีเฉพาะของสีเทา บทที่ ๕ เปรียบเทียบตรรกะของพระพุทธเจ้าและของอริสโตเติล และบทที่ ๙ กล่าวถึง ชุดของความสับสน (fuzzy set )]
วัตถุประสงค์ของการใช้ตรรกะในลักษณะดังกล่าวก็เพื่อสะท้อนสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด และใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาความทุกข์ของมนุษย์ นั่นก็คือ ถ้ามีอวิชชาอยู่มาก หรือมีความหลงผิดหรือไม่รู้จริงอยู่มากก็จะเพิ่มความรู้จริงหรือวิชชาให้มากยิ่งขึ้นซึ่งก็จะเป็นการลดอวิชชาหรือความไม่รู้จริงลง และเมื่อมีความรู้จริงมากขึ้นก็จะสามารถลดความทุกข์ที่มีอยู่ให้น้อยลงได้ ซึ่งก็หมายถึงการมีความสุขเพิ่มมากขึันนั่นเองนอกจากนั่น ยังมีตรรกะแบบสับสน (fuzzy logic)ในพุทธธรรมที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าลักษณะแบบสี่เทา คือ ทั้ง ก และไม่ใช่ ก ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ต่างกันที่ระดับ (degree) แล้ว ภาพสีเทาดังกล่าวยังเป็นการอธิบายในลักษณะที่เป็นภาพนิ่ง ถ้าทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง (เป็นอนิจจัง) อยู่ตลอดเวลาในลักษณะที่เป็นพลวัต ตรรกะแบบสับสนในพุทธธรรมก็จะยิ่งมีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น อัตตา (ตัวตน) ไม่มีจริง ขณะที่ นิรันตา (การไม่มีต้วตน) ไม่มีจริงเช่นกัน
ตรรกะลักษณะดังกล่าวไม่ใช่เป็นการกล่าวในลักษณะการตีสำนวนโวหาร แต่ในความเป็นจริงก็คือ ในสถานการณ์ที่ทุกอย่างมีพลวัต์ (dynamic) ทุกอย่างมีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จุดที่สามารถสังเกตุเห็นไดัคือจุดที่เป็นรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ความจริงในแต่ละด้านจึงขึ้นอยู่กับมุมมองและเวลา ทั้งนี้เพราะกฏธรรมชติเบื้องต้นที่เป็นหลักสำคัญของพุทธนั้นก็คือ อนิจจัง หรือความไม่คงที่นั่นเอง  ซึ่งสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสรรพสิ่งตามธรรมชาติ เป็นความจริงที่สังเกตุได้จากธรรมชาติตลอดเวลา เป็นการเน้นความเข้าใจความจริงตามสภาพธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในพุทธธรรมนั่นเองเพราะเมือมนุษย์เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาวะความเป็นจริงตามธรรมชาติ ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตนเอง ซึ่งจะช่วย ให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ได้ในที่สุด แต่ในขณะเดียวกันการเชื่อว่าตัวตนไม่มีจริงอาจจะส่งเสริมให้มนุษย์กระทำทุกสิ่งทุกอย่างภายใต้การครอบงำของกิเลส มีการดำเนินการต่างๆในลักษณะที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในลักษณะที่เป็นการสนองตอบต่อพลังขับดันของกิเลสเฉพาะหน้า ซึ่งไปช่วยให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ไปได้ในที่สุดเช่นกัน
ความเป็นจริงของสรรพสิ่งต่างๆตามธรรมชาติในลักษณะเช่นว่านี้ได้รับการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนในพุทธธรรมตามที่ได้แสดงไวัแล้วส่วนการใช้ตรรกะแบบขาวกับดำนั้น เป็นการพิจารณาจากภาพนิ่ง การนำกฏธรรมชาติมาใช้แบบกรีกนั้นมีวัตถุประสงสำคัญที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการจำแนกสรรพสิ่งต่างๆออกจากกัน (identitification) ลักษณะการวิเคราะห์แบบกรีกซึ่งเป็นต้นความคิดของอารยธรรมตะวันตก จึงเป็นการวิเคราะแบบภาพนิ่ง หรือ static analysis ดังนั้นตรรกะแบบกรีกในระยะต้นจึงใช้เคื่องหมาย = และ =/ ซึ่งเครื่องหมายที่ใช้จำแนกประเภท(identification)

ในขณะที่ตรรกะแบบพุทธหรือเต๋าสะท้อนพลวัตของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เครื่องหมายที่ใช้แทนความคิดของพุทธและเต๋าจึงมีลักษณะเป็นพลวัต นั่นคือ พุทธใช้เครื่องหมายกงล้อหรือธรรมจักร ขณะที่เต๋านั้นเน้นความลงตัวตามธรรมชาติ (natural hamony) ด้วยพลังตรงกันข้าม แต่ก็ทำงานร่วมกันของหยินและหยางทั้งสองต่างเน้นกฏธรรมชาติที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ซึ่งจำเป็นต้องแสดงในลักษณะพลวัต
ในขณะที่กฏธรรมชาติแบบกรีกเน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเองและมนุษย์ต่อนครรัฐ จึงต้องการความสัมพันธ์ในลักษณะที่มีดุลยภาพ โดยสะทัอนข้อสมมติฐานว่า มนุษย์มีเหตุผลแบบของอริสโตเติล ส่วนฝ่ายที่เชื่อว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผลแบบของเพลโตและเซนต์ออกุสติน ก็เป็นการวิเคราะห์แบบดุลยภาพคงที่ (static analysis) เช่นกัน แต่เน้นการหลุดพ้นออกจากดุลย์ภาพ เนื่องจากปฐมบาปหรือการตกต่ำของมนุษย์ (the fall of man) และสิ่งที่พยายามทำก็คือ การกลับไปหาดุลยภาพ คือการคืนสูอาณาจักของพระเจ้า หรืออยู่ภายใต้นครรัฐอย่างมีความสงบสุขในกรณีที่ไม่มีพระเจ้า ถ้าจะอธิบายความหมาย วิชาการก็คือ การวิเคราะแบบคงที่โดยเปรียบเทียบ (comparative static )  นั่นก็คือ เมื่อมีสภาวะต้องหลุดออกจากจุดดุลยภาพเดิมจะมีวิธีการกลับเข้าไปสู่ดุลยภาพเดิมหรือดุลยภาพใหม่ได้อย่างไร
  เนื่องจากการเน้นความเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์แบบพุทธจึงเน้นความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน (casual relationship) ในการแสดงความสัมพันธ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจจะแสดงโดย → ซึ่งจะนำไปสู่การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นองค์รวม (holistic)ทั้งนี้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต่างก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยของกันและกัน ต่งกับความสัมพันธ์แบบการจำแนกประเภท = และ ≠ การวิเคราะในลักษณะที่เป็นองค์รวมหรือการเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน ทำให้อธิยายต่อไปว่า การมีผลเป็นเช่นนี้ เพราะมีเหตุปัจจัยเช่นนี้ ดังนั้นถ้าไม่ต้องการได้รับผลเช่นนั้นก็ต้องกลับไปเริ่มพิจารณาที่เหตุปัจจัย และระงับเหตุปัจจัยนั้นเสีย เครื่องมือสำคัญที่จะระงับเหตุปัจจัยได้ก็คือ ปัญญา  อันเกิดจากการเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริงของสรรพสิ่งเหล่านั้น หรือใช้ปัญญาแก้ปัญหาที่สาเหตุก็จะทำให้ระงับผลอันไม่พึงปรารถนานั้นได้ หรือมิฉะนั้นก็จะต้องถอนจากความหลงผิดและยึดติดในสิ่งทั้งหลาย ถึงขั้นเปลี่ยนท่าทีต่อโลกและต่อชีวิตใหม่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแนวทางสำคัญในการสร้างเสริมปัญญาก็คือ ทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางในคำสอนของพุทธนั้นมิใช่อะไรก็ได้ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสิ่งที่สุดขั้ว(extreme) ทั้งสองข้างตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไป แต่เนื่องจากคำสอนของพุทธเน้นการปฏิบัติเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้จริงก็จำเป็นจะต้องอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างให้มีความชัดเจน สามรถนำไปปฏิบัติได้
“ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้ บรรพชิตไม่พึงเสพ กล้าวคือ การหมกมุ่นด้วยกามสุขในกามทั้งหลายอันเป็นการชั้นต่ำ ชั้นตลาด ของปุถุชนมิใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง และการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน อันเป็นทุกข์ ไม่เป็นอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง”
ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งทางสายกลางที่ไม่ข้องแวะที่สุดสองอย่างนั้น อันเป็นทางที่สร้างจักษุ(การเห็น) การสร้างญาณ(ทางรู้) เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้จริง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“ก็ทางสายกลางนั้น...เป็นไฉน?ทางนั้น คือมรรคอันเป็นอริยะมีองค์ประกอบ ๘ ประการ ได้แก่ สัมมาทิญิ สัมมากัปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวาจามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ”

ทั้งนี้ทางสายกลาง (มิใช่ทางที่อยู่ตรงกลาง แต่เป็นทางมี่ไม่เข้าไปข้องแวะที่สุดทั้งสอง แตไม่ใช่อยู่กลางระหว่างสุดขั้วทั้งสอง) คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยก การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข (the extreme of sensual indulgence หรือ extreme hedonism)
๒.อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง (the extreme of self- mortification หรือ extreme asceticism
ทางสายกลางที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทานี้ มีจุดหมายที่แน่นอนคือดับทุกข์ หรือภาวะหลุดพ้น เป็นอิสระ ไร้ปัญหา มรรค คือ ระบบความคิดและการกระทำหรือการดำเนินชีวิตที่ตรงจุดพอเหมาะพอดีให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมาย คือ ความดับทุกข์ จึงเป็นทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา (พระธรรมปิฎก, ๒๕๓๘:๕๘๒- ๕๘๓ )
ส่วนมรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการ อันเป็นทางสายกลางเพียงหนึ่งเดียวที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น ประกอบด้วย (พระธรรมปิฏก,๒๕๓๘:๖๐๑- ๖๐๒)
๑. สัมมาทิฏฐิ  เห็นชอบ  (right view หรือ right understanding )
๒. สัมมาสังกัปปะ  ดำริชอบ  (right thought)
๓. สัมมาวาจา  วาจาชอบ (right speech)
๔. สัมมากัมมันตะ  กระทำชอบ (right action)
๕.สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีพชอบ (right livelihood)
๖.สัมมาวายามะ  พยายามชอบ (right effort)
๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ  (right mindfulness)
๘. สัมมาสมาธิ  จิตมั่นชอบ  (right concentration


     (จาก พุทธเศรษฐศาสตร์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน น.๓๔๖ - ๓๕๑ )

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ