ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๓)

 พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๓)


สำหรับขันธ์ที่เหลืออีก ๓ ขันธ์ คือ เวทนา สัญญาและสังขารมีการทำงาร่วมกับขันธ์ที่กล่าวมาแล้ว ๒ ขันธ์ คือ รูปและวิญญาณ ในลักษณะต่อไปนี้

เวทนา หรือการเสวยอารมณ์ คือความรู้สึก แบ่งโดยย่อออกได้เป็น ๓ ลักษณะ คือความรู้สึกเป็นสุข (ทางกายและทางใจ) ความรู้สึกเป็นทุกข์ (ทางกายและทางใจ) และอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ ไม่สุข คือ เฉยๆ บางทีเรียกว่า อุเบกขา ) โดยปกติเมื่อได้รับผัสสะ คือได้รับรู้จากโลกภายนอก จิตในส่วนที่เป็นเวทนาจะมีปฎิกิริยาในลักษณะที่ถูกกระทำ (passive) ซึ่งจะเกิดขึ้นอัตโนมัติตามขั้นตอนกระบวนธรรมหรือของการทำงานของจิต เช่น การรู้สึกสุขและทุกข์ของกายและใจ เป็นต้นว่า ความแช่มชื่นสบายใจ รู้สึกสดชื่น แข็งแรง เสียใจ รู้สึกเจ็บหรือปวดอันเป็นผลจากการได้รับสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เป็นสัญชาตญาณที่จำเป็นของสัตว์ที่จะช่วยให้มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อรู้ถึงความเจ็บปวด ความไม่สบาย ก็จะได้พยายามหลีกเลี่ยงมิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต เพราะไม่หลีกเลี่ยงอาจจักเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ภายหลัง
ขอให้สังเกตว่าอุเบกขาหรือความรู้สึกเฉยๆในเวทนานั้นไม่มีความสำคัญในแง่ของการยกระดับความสามารถในการเรียนรู้ ในทางตรงกันข้ามผู้ที่ด้อยปัญญาอาจจะรู้สึกเฉยๆต่อเรื้องที่มีความสำคัญ เนื่องจากไม่เข้าใจความหมายของสิ่งนั้น สัญญา ความหมายรู้ หรือจำได้ อันเนื่องมาจากเคยมีประสบการณ์ หรือการรับรู้มาก่อน ซึ่งทำหน้าที่เสมือนคลังข้อมูล (data base ) หากเป็นความรู้ที่มีอยู่แล้ว สติจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการรำลึก และนำมาพิจารณาใหม่แต่ถ้าหากเป็นความรู้ใหม่ก็จะนำเข้าไปเก็บสะสมไว้ เพื่อประโยชน์ในการเรียกใช้ได้ในภายหลัง สังขาร ได้แก่องค์ประกอบหรือคุณสมบัติของจิต ที่มี เจตนา เป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี ชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ (ความละอายบาป) โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ ทิฐิ (ความเชื่อถือที่ยึดแน่น) อิสสา(ความริษยา) และมัจฉริยะ (ความตระหนี่ ) เป็นต้นเรียกรวมง่ายๆว่าเป็นเครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม (พระธรรมปิฏด,๒๕๓๘ : ๑๖) ในบรรดาขันธ์ทั้งสามนี้ สังขารนั้นนับได้ว่าเป็นขันธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นจิตที่มีเจตนา สามารถเข้าไปกำหนดเวทนาและสัญญาได้ ในขณะที่เวทนาและสัญญาจะเป็นจิตที่ตอบสนองต่อผัสสะโดยตรง โดยไม่มีเจตนาเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เจตนานี้มีความสำคัญมากในพุทธธรรม เพราะอาจจะเป็นกุศลเจตนา (ควมตั้งใจดี) หรืออกุศลเจตนา (ความตั้งใจไม่ดี) จะส่งผลถึงกรรมหรือการกระทำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆและตัวเองได้ในภายหลัง อนึ่ง วิญญาณเป็นเหมือนแกนกลางของกระบวนการรับรู้ ซึ่งมีผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นสหชาติธรรม คือเกิดร่วมพร้อมกันด้วย แต่ตัวแปรสำคัญคือสังขาร มีอิทธิพลปรุงแต่งกระบวนการรับรู้ตั้งแต่เริ่มต้นและในระยะต่อๆไป แล้วแต่ว่าจะเป็นสังขารตัวใดเกิดขึ้นหรือแฝงอยู่ในเวลานั้นๆ เช่น โมหะ หรืออโมหะ เป็นต้น (พระธรรมปิฎก,๒๕๓๘ : ๔๑ ) ซึ่งจะแสดงภาพการรับรู้โลกภายนอกและการสนองตอบได้ดังแผนภูมิที่ ๓
ในแผนภูมิที่ ๓ เพื่อความสะดวกในการกำหนด อาจจะแบ่งขั้นตอนของกระบวนธรรมออกเป็น ๒ ช่วงที่อาจจำแนกจากกันได้อย่างชัดเจน ช่วงแรกคือ รับรู้โลกอย่างบริสุทธิ์ อีกช่วงหนึ่งนั้นอาจจะเป็นการเสพโลก หรือการเรียนรู้โลก นอกจากนั้นกระบวนธรรมของการเสพโลกหรือการเรียนรู้โลกอาจจะมีลักษณะไปในทางใดทางหนึ่ง เช่นการเสพหรือการเรียนรู้ต่อเนื่องไปเพียงอย่างเดียว หรือการเสพโลกและ / หรือการเรียนรู้โลกอาจจักเกิดขึ้นสลับกันก็ได้ ตัวอย่างเช่น ขณะที่มีการเรียนรู้โลก ถ้ามีโมหะเป็นสังขารตามมาโดยอาจจะมีกระบวนการเรียนรู้แทรกเข้ามาบ้างเป็นช่วงๆ หรืออาจจะเสพไปเรื่อยๆอย่างลุ่มหลงมัวเมาด้วยโมหะเต็มที่ก็ได้ แต่ถ้าขณะรับรู้มีปัญญาอยู่ก็จะมีกระบวนการเรียนรู้บริสุทธิ์ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าโมหะเป็นตัวแทรกเข้ามา (หรือโลภะ โทสะ เกิดขึ้นโดยเป็นปฏิกิริยาต่อสุขหรือทุกข์) ก็จะเปลี่ยนมาเป็นกระบวนการเสพโลก ฯลฯ กระบวนธรรมแบบแรกเกิดจากอารมณ์ได้นำโลกภายนอกมาสู่อายตนะและวิญญาณทำหน้าที่รับรู้ มีผลเป็นเวทนา แต่หลังจากนั้นกระบวนธรรมอีกแบบหนึ่งจะดำเนินตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความรู้ที่ประกอบด้วยสัญญาผ่านต่อเข้ามาถึงสังขาร เกิดเป็นความรู้สึกชอบไม่ชอบ หรือวางเฉย (อุเบกขา) เพื่อพร้อมจะทำความเข้าใจหรือเรียนรู้ ถ้าหากชอบก็อยากจะได้เสพอีก หรืออยากได้อีกในคุณภาพที่คาดว่าจะดีกว่าเดิม เกิดการปรุงแต่งกลับไปที่เวทนาและสัญญา ถ้าหากไม่ชอบก็จะหลีกเลี่ยงไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก เกิดเป็นสุขและเป็นทุกข์สลับกันไปไม่มีที่สิ้นสุด เพราะทันทีที่เกิดความรู้สึกชอบไม่ชอบ อัตตาได้เกิดขึ้นแล้ว และได้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นๆ กระบวนธรรมในลักษณะดังกล่าวอาจจะเรียกได้ว่าเป็นกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏ ทางที่เป็นไปได้เช่นกันอีกทางหนึ่งก็คือ ภายหลังจากกระบวรการรับรู้โลกได้ดำเนินไปแล้วโดยผ่านสัญญาเข้ามาแล้ว สังขารทำหน้าที่อุเบกขาคือพร้อมที่จะเรียนรู้ แล้วนำปัญญาเข้ามาทำความเข้าใจความรู้ทังหมดตามความเป็นจริง จุดที่สังขารเป็นอุเบกขานั้นคือสภาวะที่ปลอดจากอิทธิพลของการยึดถืออัตตา หรือความไม่มีตัวตน เมื่อไม่มีตัวตนจึงไม่จำเป็นต้องชอบหรือไม่ชอบ มีแต่ความต้องการที่จะเข้าใจโลกตามความเป็นจริง หรือเกิดมีฉันทะ คือความพอใจที่อยากรู้ความจริง แล้วนำปัญญาเข้าไปตรึกตรองค้นคว้าด้วยโยนิโสมนสิการ ในเมื่อกระบวนธรรมดำเนินไปในลักษณะนี้ ความชอบและไม่ชอบจึงไม่เกิดขึ้น ถึงแม้สิ่งเหล้านี้จะสร้างความสุขหรือความทุกข์ที่เวทนาเป็นเบื้องต้นก็ตาม และเมื่อเข้าใจโลกตามความเป็นจริงย่อมไม่เกิดทุกข์ มีแต่สุข กระบวนธรรมดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็นกระบวนธรรมแบบวิวัฏ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่ากระบวนธรรมอีกแบบหนึ่งสามารถเกิดขึ้นในลักษณะสลับกันได เป็นต้นว่าเกิดกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏก่อน จนมีผลทำให้สังขารเป็นอุเบกขาแล้วใช้ปัญญาเข้าไปเรียนรู้จนในที่สุดจิตเกิดความสมดุลเป็นอุเบกขา มีแต่ความสุขที่เกิดจากความรูัก็เป็นได้เช่นกัน กล่าวคือ เริ่มจากสังสารวัฏและพัฒนาต่อมาเป็นวิวัฏ หรือในทางตรงกันข้าม กระบวนธรรมดังกล่วอาจจะเริ่มกจากวิวัฏจนจิตเป็นอุเบกขาหรือมีความสมดุลแล้วแต่เมื่อเกิดความประมาท กระบวนธรรมต่อมาอาจจะกลายเป็นการเสพโลกเกิดขึ้น เวทนาที่เป็นสุขและทุกข์กลายเป็นปัจจัยซึ่งตามมาด้วยกระบวนธรรมที่เป็นสังสารวัฏก็ได้ แต่ถ้าหากเป็นผูู้รู้จักความสุขที่ประณีตกว่าแล้วเมื่อประสบเวทนาจากกามคุณารมณ์ ก็เสวยสุขเวทนานั้นอย่างไม่ผูกมัดตัว ไม่ลุ่มหลงมัวเมา หมกมุ่น ตกเป็นทาสของกามคุณนั้น ครั้นประสบทุกขเวทนาก็ไม่ซบเซา เศร้า ทุรนทุราย และไม่หันไปใฝ่หากามคุณเพราะรู้จัก นิสสรณะ คือทางออกซึ่งไม่ต้องอาศัยกามสุข เป็นความสุขที่ไม่ขึ้นต่อเวทนาและไม่ต้องอาศัยการเสพอารมณ์ เนื่องจากมีความสุขที่เป็นพื้นฐานอันเกิดจากความสะอาด สว่าง สงบ หรืออาจจะเรียกว่า จิตว่าง เป็นจิตที่ปลอดโปร่ง ผ่องใส เจิดจ้า ไม่มีมัวหมองกังวลหรือติดค้างกังวลเรื่องใด ผู้ที่มีภาวจิตเช่นนี้ถ้าจะไปเสพเสวยอารมณ์ใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็จะได้รับความสุขจากการเสพเสวยอารมณ์นั้นๆเต็มที่ ซึ่งนอกจากจะได้ความสุขแล้วยังได้ประสิทธภาพในการทำงานของจิตด้วย จึงอาจจะสุปได้ว่า นิพพานเป็นทั้งความสุขเองและเป็นทั้งภาวะที่ทำให้พร้อมที่จะเสวยความสุข (พระธรรมปิฎก,๒๕๓๘: ๕๔๙- ๕๕๐) กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ในความเป็นจริงอาจจะเกิดขึ้นภายในเสี้ยววินาที ดังนั้นถ้าหากไม่มีการวิเคราะห์การทำงานของจิตอย่างเป็นระบบเช่นนี้ จะไม่สามาถเข้าใจสิ่งที่ทำให้เกิดเวทนาหรือความรู้สุกได้ และยิ่งมีความยึดมั่นในความเป็นตัวตนสูง อย่างที่ปรากฎอยู่ในอารยธรรมตะวันตก ยิ่งไม้มีโอกาสเข้าใจกระบวนการธรรมดังกล่าวได้เลย เมื่อไม่เข้าใจก็จะอาศัยความเชื่อที่ได้จากการสังเกตอย่างผิวเผินเป็นหลัก ทำให้หลงประเด็น ขาดความเข้าใจในสาระสำคัญของความเป็นมนุษย์อย่าง เช่นที่เศรษฐศาสตร์กระแสหลักกำลังเป็นอยู่ หรือแม้กระทั่งเศรษฐศาสตร์มนุษย์นิยมที่เข้าใจมนุษย์มากขึ้น แต่ก็ไม่เข้าใจกระบวนการทำงานของจิตอย่างเป็นระบบเช่นนี้ จึงไม่สามารถอธิบายได้ว่ามนุษย์สามารถยกระดับทางจิตจากการให้คุณค่าทางวัตถุ (material needs) ไปสู่การให้คุณค่าทางคุณธรรม (moral needs)ได้อย่างไร จากแผนภุมิที่ ๓ กระบวนการเรียนรู้โลกในลักษณะที่เป็นวิวัฏ จะต้องมีการฝึกฝนอบรมให้จิตมีสมาธิ เพื่อสังขารจะได้มีสติที่คอยกำกับจิตได้ตลอดเวลา เพื่อให้จิตมีลักษณะเป็นอุเบกขาอยู่เสมอ เมื่อผัสสะเกิดขึ้นและส่งความรู้ถึงสังขาร จะเปิดโอกาสใหัปัญญาซึ่งเป็นคุณภาพอย่างหนึ่งของสังขารได้เข้ามาตรวจสอบและทำความเข้าใจต่อทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาพความเป็นจริง ช่วยให้สมารถอธิบายโลกได้ตามสภาพความเป็นจริง ไม่จำเป็นตัองมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของกระบวนการวิวัฏ หรือการหลุดพ้นจากทุกข์ดังกล่าวมาแล้วความประสงค์จะพ้นจากทุกข์ดัวยการฝึกฝนจิตเพื่อยกระดับสติและปัญญาเป็นการช่วยให้มนุษย์สามารถยกระดับจิตจากการให้คุณค่าทางวัตถุ (materail needs) ไปสู่การให้คุณค่าทางคุณธรรม (moral needs) ได้ ซึ่งสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยการวิเคราะห์จิตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จากกระบวนการที่ได้แสดงไว้นี้ ปัญญาจะเกิดได้จะตัองประกอบด้วยเงื่อนไขต่างๆมากมาย ทำให้โอกาสที่จะเกิดปัญญาได้จริงมีน้อยมาก ด้วยเหตุนี้โอกาสที่เกิดความไม่รู้ หรือไม่รู้จริง (อวิชชา) จึงมีมากว่า และเพื่อจะได้เกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างแท้จริง ใคร่จะเนันความหมายและกระบวนการของการเกิดปัญญาให้เข้าใจร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง นั่นก็คือ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขเพียงเงื่อนไขเดียว คือ การรับรู้หรือความเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาพความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ ถ้าหากเข้าใจร่วมกันตั้งแต่ต้นแล้ว ก็จะเข้าใจได้ว่าสาเหตุที่ทำให้ปัญญาไม่เกิด คืออวิชชาหรือความไม่รู้นั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากมายตามลำดับขั้นดังต่อไปนี้ ๑.เริ่มจากรูปขันธ์ทำงานบกพร่อง เป็นต้นว่า ตาไม่ดี หูไม่ดี จมูกไม่ดี ลิ้นไม่ดี ประสาทสัมผัสไม่ดี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือสภาพจิตประสาทบกพร่อง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การมีเครื่องรับที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ย่อมได้รับการสัมผัสผิดจากความเป็นจริงได้ ดังนั้นเงื่อนไขเบื้องต้นจึงจำเป็นต้องมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ โดยทั้งสองส่วนมีความสัมพันธ์กันอย่างไกล้ชิด จะแยกเป็นสองส่วนอย่างการวิเคราะห์นี้ไม่ได้ การแยกส่วนนั้นเป็นเพียงช่วยให้เห็นภาพนิ่งกระจ่างชัดก่อนที่จะพิจารณาความเป็นพลวัตของทุกสิ่งทุกอย่าง โดยที่เนื้อแท้ของสุขภาพกายและสุขภาพจิตในที่นี้ก็คือ ประสาทสัมผัสที่คี ประกอบด้วยสติมั่นคงและปัญญาแหลมคมนั่นเอง ๒. วิญญาณ ซึ่งทำหน้าที่เข้าไปรับรู้พร้อมเวทนาและสัญญา และส่งต่อความรู้ไปยังสังขาร จะตัองทำหน้าที่โดยไม่บกพร่อง หรือกล่าวโดยย่อก้คือมีสภาพจิตเป็นปกติ
๓. สัญญา จะตัองทำหน้าที่กำหนดความหมายตามความเป็นจริง ถ้ามีปัญหาความจำเลอะเลือน การกำหนดความหมายหรือการให้ความหมายใหม่ในสิ่งที่ไม่เคยผ่านเข้ามาก่อนคลาดเคลื่อนผิดไป ปัญญาก็จะไม่เกิด ๔. สังขารจะตัองทำหน้าที่อย่างตั้งใจ หรือมีเจตนาที่จะเรียนรู้และเข้าใจโลกในความเป็นจริง พร้อมทั้งมีความปรารถนาที่จะให้โลกดีขึ้น นั่นก็คือมีทั้งสติและสัมปชัญญะ (full comprehension) ทำงานควบคู่กัน ไม่เข้าไปปรุงแต่ง คือ รู้ หรือเห็น ได้ยิน ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง แต่ธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้มักจะประมาทโดยคิดว่ารู้แล้ว และเมื่อคติต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาสู่สังขารล่วงหน้า แล้วก็เอาอคติเหล่านั้นเข้าไปปรุงแต่ง ทำให้ความรู้ที่ได้ผิดจากความเป็นจริงตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ ๕. โดยทั่วไป ถ้าหากสามารถรับรู้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง เวทนาทางใจจะถูกกำกับโดยสังขารให้เป็นอุเบกขา อารมณ์ดีใจ เสียใจ พึงใจ ท้อใจ จะไม่เกิด แต่ถ้าหากไม่มีสังขารที่ดีกำกับ เวทนาจะมีความแปรปรวนของความรู้สึกไปตามสังขารที่ปรุงแต่งในขณะนั้นๆ จะเกิดการยึดติดกับความรู้สึกนั้นๆ และพยายามที่จะได้เสพใหม่ หรือพยายามหลีกเลี่ยงถ้าหากไม่พึงพอใจ เป็นการกระตุ้นให้เกิดมีการกระทำหรือหลีกเลี่ยงการกระทำในรอบต่อไป ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ปัญญาเกิดขึ้นได้นั้น ขันธ์แต่ละขันธ์ตั้งแต่ข้อที่ ๑ ถึง ๔ จะต้องทำงานโดยไม่ผิดพลาด ถ้าหากเกิดมีข้อใดข้อหนึ่งผิดพลาด ระรบบทั้งระบบจะเกิดความรวนเร และทำให้ไม่รู้ไม่เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาพความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งก็เป็นอุปสรรคที่สำคัญที่จะปิดกั้นกระบวนการสะสมปัญญา ส่วนเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สังขารทำหน้าที่ปรุงแต่งให้ผิดไปจากความเป็นจริง อยู่ที่อัตตา อันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ไม่เกิดความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ ถ้าหากไม่มีอัตตา สังขารย่อมเป็นอุเบกขา ทำหน้าที่เป็นกลาง เมื่อรู้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาพความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องยินดี ยินร้าย ดีใจหรือเสียใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในกระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างปัญญาทั้งหมด จะต้องมีเงื่อนไขที่จำเป็น (necessary condition) อีกข้อหนึ่งนอกจากเงื่อนไขต่างๆในทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว นั้นคือจะต้องไม่มีอัตตา ซึ่งเป็นความหมายที่ละไว้ในฐานที่ควรเข้าใจแล้ว เพราะหากเข้าใจความหมายของขันธ์ ๕ ก็จะต้องหมายความต่อไปว่าอัตตาไม่มี เพราะเมื่อพิจารณาแต่ละขันธ์แล้ว ไม่สามารถจะเอาส่วนใดมาเป็นอัตตาได้เลย จากกระบวนการสิกขา หรือกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดปัญญานั้น ถึงแม้ว่าปัญญาจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ในความเป็นจริงโอกาสที่จะเกิดปัญญาได้จริงนั้นยากมาก ทั้งที่ในความเป็นจริงธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่างไม่เคยปิดบังตัวของมันเองเลย แต่ความบกพร่องอาจจะเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนตามที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ปัญญาไม่เกิด ดังนั้นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดปัญญาขึ้นได้ จะต้องเริ่มจากการเข้าใจขั้นธ์ทั้งห้า กล่าวคือ การไม่มีอัตตา การมีสุขภาพกายและจิต เพื่อการสัมผัสที่สมบูรณ์ การมีสติที่มั่นคง สามารถจับยึดสิ่งที่ผ่านเข้ามาเพื่อการตรวจสอบได้ มีการให้ความหมายของสิ่งนั้นๆตามความเป็นจริงและในที่สุดจะต้องไม่มีการปรุงแต่งสิ่งเหล่านั้นนอกเหนือไปจากสภาพความเป็นจริงของมัน มนุษย์จะมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล อยู่ที่มนุษย์มีสติมั่นคงและมีปัญญาที่จะรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริงในธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ ดังนั้นสติและปัญญาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งมีความหมายเทียบได้กับพระเจ้าในอารยธรรมตะวันตก ซึ่งมีการเปลียบเทียบไว้ในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ถ้ามนุษย์ถึงพร้อมซึ่งศีล สมาธิ และปัญญา โดยพร้อมบริบูรณ์แล้วแม้แต่เทวดา พระอินทร์ พระพรหม ก็ต้องให้ความเคารพ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นคำอธิบายแบบพุทธ ถึงแม้จะเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ทุกคนก็อาจจะสามารถเข้าถึงความรู้เหล่านั้นได้ด้วยตนเองจากความเป็นพุทธ เพราะพุทธคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยตนเอง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยของมนุษย์ทุกคนที่จะเข้าถึงความรู้เหล่านี้ เป็นการสะท้อนธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ตลอดจนอธิบายถึงปัญหาและอุปสรรค ที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารเข้าถึงธรรมชาติที่แท้จริงของตัวเองได้ เพราะกระบวนการเสริมสร้างปัญญาถึงแม้จะเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แต่มีเงื่อนไขและสิ้งที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงปัญญาได้ ความรู้ที่ได้อธิบายมาแล้วเหล่านี้ถูกปิดกั้นโดยวิวัฒนาการของอารยธรรมตะวันตก ทำให้การเข้าใจมนุษย์คลาดเคลื่อนผิดจากความเป็นจริงไปมาก เกิดผลเสียกับมนุษย์ในที่สุด เมื่อเข้าใจถึงจุดนี้แล้ว สมควรที่จะชี้ให้เห็นว่าวิวัฒนาการของอารยธรรมตะวันตกมีส่วนสำคัญในการปิดกั้นความรู้ตามธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างไร

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน ๒๕๔๔ :
พุทธเศรษฐศาสตร์ น.๓๕๖ - ๓๖๕

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ