ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เปรียบเทียบแนวคิดแบบพุทธกับอารยธรรมตะวันตก (ตอนที่ ๑)


เปรียบเทียบแนวคิดแบบพุทธกับอารยธรรมตะวันตก (ตอนที่ ๑)



อารยธรรมตะวันตกที่มีพัฒนาการมาจากกรีกและศาสนายูดาย และต่อมาได้มีการผสมผสานกับแนวคิดแบบโรมและคริสต์ศาสนา เน้นความเชื่อการมีพระเจ้าเพียงองค์เดียว และความจริงที่สัมบูรณ์ (absolute truth ) ทั้งนี้เพราะเป็นการยากที่จะเข้าใจว่าเหตุใดความรู้ที่แตกต่างกันและอาจให้คำตอบที่ขัดแย้งกัน อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องทั้งหมดได้ ความคิดและความเข้าใจเช่นนี้เป็นผลจากการมองทุกสิ่งทุกอย่างในลักษณะที่เป็นภาพนิ่ง (static analysis ) เพราะถ้าหากทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวได้หมด ผลก็จะเป็นอย่างที่ทราบกัน ก็คือจะมีคำตอบที่ต่างกันหรือแม้กระทั้งขัดแย้งกันก็ได้ โดยที่คำตอบทั้งหมดล้วนถูกต้องทั้งสิ้น จุดเน้นการมีคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงหนึ่งเดียวเป็นจุดอ่อนของความคิดในกระแสอารยธรรมตะวันตก ที่นำไปสู่ตรรกะเบื้องต้นแบบของอริสโตเติลนั่นคือ ตรรกะที่แยกขาวกับดำออกจากกันอย่างเด็ดขาด ไม่มีตรงกลาง (either-or logic)

การมีตรรกะเช่นนี้ย่อมนำไปสู่ความคิดสุดขั้วซึ่งแบ่งออกเป็นสองค่าย คือ ค่ายหนึ่งเชื่อว่ามนุษย์มีเหตุผล ซึ่งประกอบด้วยอริสโตเติล เซนต์ อไควนัส และนักคิดสำนักสกอลาสติกเป็นส่วนใหญ่ เรื่อยมาจนถึงอดัมสมิธ และแซมมวลสัน อีกค่ายหนึ่งเชื่อว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผล พระเจ้าเท่านั้นที่มืเหตุผล และถึงแม้ส่วนหนึ่งจะมีความเชื่อรวมกันว่า โดยธรรมชาติมนุษย์มีเหตุผล เพราะมนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นภาพสะท้อนของพระเจ้่า ( image of God) สาเหตุที่มนุษย์ไม่มีเหตุผลก็เนื่องจากปฐมบาปหรือการตกตำ่ของมนุษ (the fall of man ) ดังนั้น เมื่อเชื่อในเหตุผลของมนุษย์ไม่ได้ ก็ต้องกลับไปหาพระเจ้าให้ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ มนุษย์ตองเพียรทำความดีให้เป็นที่ยอมรับของพระเจ้า (เซนต์ออกุสติน และ จอห์น คาลวิน) แต่ถ้าหากไม่มีพระเจ้าก็จำเป็นจะต้องให้สถาบันทางสังคมควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ตามข้อเสนอของเพลโต นครรัฐเป็นผู้ออกกฏระเบียบควบคุมความประพฤติของมวลสมาชิก ส่วนในกรณีของคาร์ลมาร์กซ์ นั้จำเป็นจะต้องให้รัฐที่รับใช้เจตจำนงของชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ หรือในสังคมประชาธิปไตยก็ต้องให้ชุมชนกำหนดกฏเกณฑ์กติกา ในสังคมขนาดใหญ่ขึ้นไปก็ต้องมีรบบการคานอำนาจกันเอง ทั้งหมดนี้มาจากความเชื่อที่ว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผล

ส่วนค่ายที่เชื่อว่ามนุษย์มีเหตุผลก็เชื่อต่อไปว่าสิทธิในทรัพย์สินเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์หรือมิฉะนั้นเป็นสิทธิที่พระเจ้าเป็นผู้ประทานมาให้มนุษย์เมื่อทุกคนมีเหตุผลที่สามารถจัดการทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในทางตรงกันข้าม การปล่อยให้ส่วนรวมจัดการทรัพย์สิน ถึงแม้แต่ละคนจะมีประโยชน์ร่วมกัน แต่มิใช่เป็นผลประโยชน์โดยตรง ผลก็คือทำให้การจัดการทรัพย์สินเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นมาแล้วทุกยุคทุกสมัย ส่วนค่ายที่เชื่อว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผลนัันอธิบายว่า สาเหตุของความไม่มีเหตุผลของมนุษย์ส่วนที่สำคัญ เกิดจากการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล อันเป็นเหตุให้มนุษย์เกิดความโลภ ตัองการสะสมโดยไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น ถ้าจะช่วยให้มนุษย์มีเหตุผล มนุษย์ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่สะนมทรัพย์สินส่วนบุคคล จะเห็นได้ว่าฝ่ายหลังนี้มีความเข้าใจประเด็นในเรื่องความโลภ แต่ไม่เข้าใจเหตุผลของการมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลของมนุษย์ดีพอ และเมื่อไม่เข้าใจประเด็นนี้ในขณะที่ยังเน้นการมีทรัพย์สินรวม จึงตัองมีสถาบันที่ทำหน้าทีในการบริหารทรัพย์สินรวม  ซึ่งก็เป็นการบริหารทรัพย์สินที่ไม่มีประสิทธิภาพ กลายเป็นจุดอ่อนที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงกันข้ามโจมตี

แต่ถ้าหากเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ตามความเป็นจริงตามแนวพุทธรรม หรือแนวทางที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหรือเข้าใจได้ด้วยตนเองแล้วก็จะพบว่ามนุษย์นั้นมีส่วนทั้งมีเหตุผลและไม่มีเหตุผลตามหลักของตรรกะแบบสับสน (fuzzy logic) มนุษย์จะมีเหตุผลก็ต่อเมื่อมีสติมั่นคงอยู่ตลอดเวลา พร้อมที่จะยึดสิ่งที่ผ่านเข้ามาในความรับรู้ให้มั่นคง เพื่อให้สัมปชัญญะเข้าทำหน้าที่ตรวจสอบจนสามารถเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามสภาพความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น น้่นก็คือการเกิดปัญญา มนุษย์จะมีเหตุผลก็ตอเมื่อมนุษย์มีทั้งสติและปัญญาโดยสมบูรณ์ ดังนั้น แทนการหวังพึ่งสถาบันทางสังคม  หรือพระเจ้า ให้ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ทางออกที่ถูกที่ควรก็คือพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ให้สามรถรู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่างให้มากที่สุด เพราะเมื่อมนุษย์มีสติและปัญญาเป็นอย่างดีแล้ว ความตัองการสะสมทรัพย์สินส่วนบุคคลย่อมหมดไปเอง เพราะเห็นได้ชัดว่าสิ่งเหล่านั้นมิใช่เป็นแก่นสารของชืวิตแต่ประการใด ดังนั้นประเด็นปัญหาในเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจึงมิใช่เป็นประเด็นสำค้ญในแนวคิดแบบพุทธ

Cr : ศาสตราจารย์ ดร. อภิชัย พันธเสน (๒๕๔๔ ) พุทธเศรษฐศาสตร์  น.๓๖๘ - ๓๗๗

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ