ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ศึกษาธรรมจากภาษาโลกและภาษาธรรม ตอนที่ ๓ : “จิตนิยาม”


ศึกษาธรรมจากภาษาโลกและภาษาธรรม ตอนที่ ๓ : “จิตนิยาม”



“จิตนิยาม” เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากภาวธรรมของ “ชีวะ” แต่ทว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่พัฒนากระบวนการที่สูงกว่าชีวะในระดับ “พีชะ”พลังงานในรูปแบบของ “จิต” ที่เกิดจากการตอบสนองต่อผัสสะโดยตรงโดยไม่มี”เจตนา”เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เช่นเกิดจาก”เวทนาขันธ์” (อารมณ์ความรู้สึก)หรือเกิดจาก”สัญญาขันธ์”(การกำหนดรู้หมายจำ) เช่นความรู้สึกเป็นสุข(ทางกายทางใจ) ความรู้สึกเป็นทุกข์(ทางกายทางใจ)หรือ อทุกขมสุข(ไม่สุข ไม่ทุกข์ หรือ อุเบกขา) พลังงานที่ดำเนินไปของ “จิต” หากไม่มี ”เจตนา” จะไม่เกิด “กรรม” ที่ส่งผลวิบากหรือไม่เป็น “กัมทายาท” หรือ”กรรม”นั้นก็ไม่ตกทอดไปเป็นมรดกเช่นเดียวกับพลังงานที่ดำเนินไปของ “พิชะ” ก็ไม่นับเป็น “กรรม”  

ส่วนพลังงานที่เกิดขึ้นและดำเนินไปของ “จิต”ที่เกิดจากการปรุงแต่งของ “สังขารขันธ์”(การปรุงแต่งจิตให้ดี ชั่ว หรือเป็นกลาง)โดยมี “เจตนา”เป็นตัวนำในการปรุงแต่ง “จิต” ให้ดี ให้ชั่ว หรือเป็นกลาง ที่จะแสดงออกทางกายวาจาให้เป็นไปต่าง ๆ ที่เรียกว่า “กรรม” เช่น ศรัทธา สติ หิริ(ความละอายบาบ) โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) เมตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา  โมหะ โลภะ  โทสะ ทิฐิ (ความเชื่อที่ยึดติดแน่น) อิสสา (ความริษยา) และมจฉะริยะ (ความตระหนี่) เป็นต้น และพลังงาน”จิต” ที่มีองค์ธรรมรวมของกระบวนการรับรู้ที่มี ผัสสะ เวทนา สัญญา และมี วิญญาน (ส่วนที่เป็นความรู้หรืออารมณ์ความรู้สึก)เป็นแกนกลาง และมีตัวแปรที่สำคัญคือ “สังขาร” ก็จะปรุงแต่งกระบวนการรับรู้ตั้งแต่ต้นและต่อ ๆ ไปตามที่สังขารตามกำหนด จึงเกิดเป็น “กรรม” เช่น โมหะ หรือ อโมหะ เป็นต้น


สำหรับ”จิต”ของผู้ที่สามารถเรียนรู้และอบรมจนสามรถรู้ “ธรรมะ” ได้เรียกว่า “จิตเวไนยสัตว์” ส่วนจิตของสัตว์เดรฉาน ซึ่งเป็นจิตที่ไม่สามารถให้สูงขึ้นไปเหมือนมนุษย์ได้ซึ่งเป็นจิตที่อยู่ในระดับ “จิตอเวไนยสัตว์”แม้มนุษย์ก็ตามยังมีอีกจำนวนมากที่ยังหลงอยู่ในอวิชชาก็ไม่สมารจะยกระดับ”จิต”ให้พ้นระดับ”จิตอเวไนยบุคคล”ได้ ไม่สามารถเรียนรู้และอบรมจนสามารถรู้ “ธรรมะ”ได้ บางคนสามารถเรียนรู้ได้และสามารถสอนให้พัฒนาได้แค่ระดับ “กัลยาณชน” หรือเรียกว่า “เวไนยบุคคลแบบโลกียะ” หมายถึง “จิต” ที่สามารถสอนให้เจริญพัฒนาสู่ความชอบธรรม การที่จะสอนหรืออบรม “จิต”ให้สูงถึงระดับ “จิตเวไนยบุคคลแบบโลกุตระ”นั้นจะได้เพียงจำนวนน้อยมาก จิตเวไนยบุคคลแบบโลกียะยังคงดำเนินชีวิตที่สร้าง “กรรม”และเพิ่มพูนมรดกกรรมขึ้นได้ตลอด ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัจยืนยันไว้ชัดว่า “ คนที่ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว ตายจากชาตินั้นจะได้กลับมาเกิดเป็นคน หรือเป็นเทวดาอีกมีน้อยกว่าน้อยนัก ส่วนมากตกนรก” (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ ข้อ ๒๐๖ )ความเป็น “เวไนยบุคคลโลกุตระ” พระพุทธเจ้าทรงแบ่งเป็นหลายขั้นหลายระดับ กำหนดชื่อเรียกต่าง ๆ อีกมาก…….!!!

ตีความตามภูมิและความเข้าใจ…...วีระ สระกวี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ