ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2017

เงิน

เงินเป็นเครื่องมือที่สังคมทั้งโลกกำหนดให้มีค่าที่สุด มันเป็นสิ่งประดิษฐ์แห่งความปรารถนาและความเพ้อฝันที่นำมารับใช้ระบบทุนนิยม   เวสตัน ลาบารร์ นักมานุษยวิทยาเรียกภาวะนี้ว่า “ โรคจิตที่ได้กลายเป็นภาวะปกติ “  ความเพ้อฝันที่ถูกทำให้เป็นที่ยอมรับในทุกสถาบันซึ่งเกิดขึ้นกับทุก ๆ คนพร้อมกัน........ !!! https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_365847 เดลีเมล์เปิดเรื่องราวของนักศึกษาสาวลูกครึ่งเยอรมัน-ออสเตรีย วัย 18 ปี ประกาศประมูลขายความสาว หวังเป็นทุนการศึกษา เป็นสาวคนล่าสุดที่ออกมาประกาศขายความสาวจนเป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ

ประชาธิปไตยแบบไทยๆจริง ๆ แล้วทั้งแนวคิดปรัชญา ตรรกะและวิธีการตลอดจนรูปแบบเราก็ลอกแบบเขามาที่ทางชาติตะวันตกคิดขึ้นมาเพื่อรับใช้ระบบทุนนิยม ซึ่งตามหลักการของทุนนิยมตะวันตกที่เน้นตอบสนองต่อความพึงพอใจที่จะตอบความพึงพอใจจากการเสพสุข หรือการบริโภค(consumption ) เพื่อสร้างอรรถประโยชน์สูงสุด (maximice utility) ซึ่งนั่นก็คือการยกระดับกิเลสให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลานั้นเอง เดวิดลอย (Loy 1998 อ้างอิงจาก เงิน กามารมณ์ สงคราม และกรรม บันทึกเพื่อการปฏิวัติแนวพุทธ (Money Sex War Karma: Notes for a Buddhist Revolution)เขียน เดวิด อาร์ ลอย/ David R. Loy แปล พรรณงาม เง่าธรรสาร คำแนะนำหนังสือโดย พระไพศาล วิสาโล ) ได้สรุประบบทุนนิยมในโลกยุคทันสมัย (modern world ) ที่ได้ก่อรูปเป็นบรรษัท ซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันแห่งความโลภ รัฐชาติเป็นตัวแทนของความโกรธและ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นกลไกที่เป็นตัวแทนของความหลง ทั้งหมดนี้เป็นสถาบันที่ครอบงำมนุษย์ เป็นการปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาปัญญาของมนุษย์………..ถ้าเราไม่เปลี่ยนแนวคิดปรัชญาการตีความหรือทฤษฎีอย่างถึงที่สุดก็เหมือนกับพายเรือในอ่างพายวนไปวนมาก็หาทางออกไม่ได้คนไทย ผู้น

ทะนุถนอมและรักษาร่างกาย / ชีวิต-จิตใจให้ดีที่สุด

ผมเป็นคนที่ไม่ชอบไปหาหมอและไม่ชอบกินยา แต่ผมก็เข้าใจดีว่าร่างกาย / ชีวิต-จิตใจต้องทะนุถนอมและรักษาไว้ให้ดีที่สุดเพราะมันไม่มีผลเฉพาะส่วนตัวที่เป็นปัจเจกเท่านั้นแต่มันจะส่งผลต่อบริวารลูกหลานใกล้เคียงตลอดจนถึงสังคมโดยรวมด้วย ผมเข้าใจดีต่อสิ่งนี้จึงปฏิบัติต่อร่างกาย / จิต-ใจ อย่างเหมาะสมที่สุดตั้งแต่เรื่องอาหารการกินตลอดจนการบริหารร่างกายและบริหารจิต-ใจ โดยยึดแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามในการดำเนินชีวิตที่เป็นจริงก็ไม่ได้ละเลยที่จะเข้าใจต่อความพลวัตของสังคมที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าเรื่องเทคโนโลยีหรือเรื่องเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่จะเสพติดและขาดสติจนกลายเป็นทาสของมัน....... !!!

อ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟัง

การอ่านหนังสือเพื่อเก็บเนื้อหาไปเล่าให้เด็ก ๆ ฟังหรืออ่านให้เด็ก ๆฟังโดยตรงจำเป็นต้องคัดเลือกหนังสืออยู่เหมือนกัน วันก่อนผมอ่านชุดของมาร์ ก ทเวน “การผจญภัยของฮัก เคิลเบอร์รี่ ฟินน์” ซึ่ง ทเวน เขียนได้ดีและสนุกสนานมาก แต่มันเหมาะสำหรับผู้ใหญ่มากกว่า ผมจึงเปลี่ยนมาอ่านเล่มใหม่ คิดว่าคงเหมาะกับเด็กมากกว่า  ของโรอัลด์ ดาห์ล  :  ”   เด็กยอดเก่ง” ผมจะนำมาให้ดูเป็นตัวอย่างสักตอน แต่ตอนที่สนุกที่สุดและเด็ก ๆ ชอบมากคือตอนที่สองพ่อลูกวางแผนที่จะไปลักไก่ฟ้าในป่าเฮเซล ของเศรษฐีที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นเกมกิฬาล่าไก่ฟ้าของพวกเศรษฐีหรือพวกคนชั้นสูงในอังกฤษซึ่งจะนำมาให้ดูในครั้งต่อไป

พุทธศาสนามีจุดที่จะสร้างสังคม ที่ไร้การขัดแย้งกัน

  “....พุทธศาสนามีจุดที่จะสร้างสังคม ที่ไร้การขัดแย้งกัน สังคมที่ไม่มีความสงบและสันติอันปราศจากการเอาแพ้เอาชนะกัน สังคมที่ไม่มีการประหัตประหารผู้บริสุทธิ์อย่างรุนแรงสังคมที่เคารพคนที่เอาชนะตนเองมากกว่าพวกคนที่เอาชนะคนเป็นล้านๆ ด้วยกำลังทหารและเศรษฐกิจ สังคมที่ถือว่าความร้ายชนะได้ด้วยความดี สังคมที่ไม่เพาะเชื้อความพยาบาท ความอิจฉาริษยา โทษและโลภในใจมนุษย์ สังคมที่มีความกรุณาต่อกันจริงๆ สังคมที่สิ่งทั้งปวงรวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้รับการคุ้มครอง ด้วยความใจกว้าง พินิจพิเคราะห์และความรัก สังคมที่มีการดำรงชีวิตในสันติและสมัครสมานกันในโลกแห่งวัตถุ สังคมที่ถูกชี้ให้ดำเนินไปสู่จุดหมาย คือบรรลุถึงการแจ้งในสัจธรรมขั้นสูงสุด อันได้แก่ พระนิพพาน...” จากหนังสือพระพุทธสอนอะไร : What The Buddha Taught โดย พระ ดร.ดับลิว ราหุลเถระ

เล่าเรือง"การผจญภัยของฮัก เคิลเบอร์รี่ ฟินน์"

ช่วงปิดเทอมหน้าร้อนเด็ก ๆ ทั่วไปก็จะนั่งอยู่หน้าจอทีวีหรือไม่ก็เล่นเกมบนมือถือ เนื่องจากที่บ้านไม่มีทีวีและไม่อนุญาตให้เด็กใช้ไอแพ็ดหรือโทรศัพท์เล่นเกมหรือดูรายการจึงคิดกิจกรรมมารองรับนอกจากกิจกรรมช่วยทำงานบ้านช่วยผู้ใหญ่แล้วต้องมีกิจกรรมด้านนันทนาการบ้างที่ง่ายที่สุดก็คือเล่านิทานหรืออ่านหนังสือนิทาน นิทานกริมที่แปลเป็นภาษาไทยเกือบทุกเล่มทุกเวอร์ชั่นผมหามาอ่านหมด ตอนนี้กำลังอ่านหนังสือวรรณกรรมอเมริกาอยู่สองชุด  ชุดบ้านเล็กในป่าใหญ่ ของลอร่า อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์ มีทั้งหมด ๑๐ เล่ม  และชุดการผจญภัยของทอมซอรว์เยอร์  เรื่องนี้เคยเป็นหนังเรียนภาษาอังกฤษตอนเรียนมัธยมปลาย   การผจญภัยของฮักเคิล เบอร์รี่ ฟินน์  สองเล่มนี้ Mark Twain เป็นคนเขียน วันนี้อ่าน”การผจญภัยของฮักเคิล เบอร์รี่ ฟินน์” ตอนที่ฮักวางแผนหนีออกจากบ้านเพราะทนต่อพฤติกรรมของพ่อขี้เมาที่ทำทารุณเขาต่าง ๆ สุดท้ายจับฮักขังไว้ในบ้าน เขาใช้เลือดหมูอำพลางว่าเขาถูกฆ่า เขาใช้เรือแคนูหนีไปอยู่เกาะเล็ก ๆกลางแม่น้ำนอกฝั่งเมืองอิลลินอยส์ เขาไปเจอจิมคนดำที่เป็นทาสของมิสวัตสัน ซึ่งเขาได้ยินมาว่า เธอจะขายเขาไปที่ตลาดขายทาสในเมืองนิว ออล

The Prince : เจ้าผู้ปกครอง

  ช่วงเวลาหน้าร้อนนี้มีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติที่เข้ามาแบกรับอย่างภาคภูมิใจ ที่เคยเล่าให้ฟังมาแล้วครั้งหนึ่งเกี่ยวกับต้องรับผิดชอบจัดการ อำนวยการและปฏิบัติการเลี้ยงดูหลานสองคน ๙ ขวบกับ ๗ ขวบ เนื่องจากโรงเรียนปิดเทอมต้องอยู่บ้านทั้งวัน ต้องเปลี่ยนวาระปฏิบัติการประจำวันกันใหม่จากที่เคยใช้ จากมติในที่ประชุมใหญ่ซึ่งผมเองได้ถูกคัดเลือกด้วยมติเป็นเอกฉันท์ให้เป็นประธานสภาประจำบ้านได้สรุปมติที่ประชุมว่าตลอดเวลาที่เด็กอยู่ที่บ้านและยังไม่นอนหลับให้ปิดไวไฟที่บ้านเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเล็กไปสนใจสื่อออนไลน์มากนักซึ่งเป็นยาพิษที่ทำลายสุขภาพ สมองและความคิดเด็กได้ จึงทำให้ผู้ใหญ่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมไปด้วย ต้องหันมาใช้ช่วงว่างไปอ่านหนังสือแทน หนังสือที่เคยอ่านแล้วบางเล่มก็ต้องหามาอ่านใหม่เพื่อเพิ่มความเข้าใจยิ่งขึ้น มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งอ่านกีรอบ ๆ ก็ยังงง “The Prince : เจ้าผู้ปกครอง” วันนี้อ่านบทที่ว่า “จะต้องหลีกเลี่ยงบรรดาคนประจบสอพลอตามแบบวิธีการใด” จะยกตัวอย่างมาให้ดูบางประโยก “....เพราะกฎทั่วไปที่ไม่มีวันพลาดคือเจ้าผู้ปกครองซึ่งมิได้เป็นผู้ทรงปัญญาด้วยตนเองจะไม่สามารถรับคำปรึกษาที่ดี