ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วันที่อายุเริ่มย่างเข้า ๗๕ ปี


วันที่ ๑๕ มิย.๒๕๖๐ เป็น วันที่อายุเริ่มย่างเข้า ๗๕ ปี แล้ว ตื่นเช้าขึ้นมาต้องตรวจสอบสุขภาพประจำวันโดยอาศัยนาฬิกาสุขภาพที่แขวนติดข้อมืออยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปสักหน่อย แต่อย่างน้อยก็บอกภาวะเบื้องต้นแล้วนำมาประเมินกับความรู้สึกที่เป็นจริงในตัวเราเช่นความดันโลหิตซึ่งตรวจสอบกับเครื่องวัดเฉพาะก็ใกล้เคียงกัน ช่วงเวลาการนอนหลับจากความรู้สึกของร่างกายก็ใกล้เคียงกัน ส่วนความสงบของจิตใจไม่ทราบว่าเขาใช้ข้อมูลอะไรเข้าไปประมวลโดยใช้ App.





เมื่อวานได้เขียนคำปรารภลงใน FB. ถึงความรู้สึกของตัวเอง.....มีเพื่อนมิตรได้ให้ข้อคิดต่าง ๆ เช่น ขอให้พิจารณาถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เสมอ บางท่านบอกว่าตัวเองยังมีกิเลสอยู่ หลายทานที่ให้พร อวยพรมา เนื่องในวันคล้ายวันเกิดจึงขอถือโอกาสกล่าวคำขอบคุณทุกท่าน ที่ส่งความปรารถนาดีมาด้วยคำเสนอแนะข้อความคิดเห็นและคำอวยพรต่าง ๆตลอดมา .........มีคำพูดคำหนึ่งที่มักเข้าหูอยู่เป็นประจำในคำพูดที่ว่า คนเราเกิดมาเพื่อชดใช้กรรมเก่าฟัง ๆ ดู ดูเหมือนเป็นสัจธรรม เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา แต่เมื่อนำมาคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วก็เกิดข้อกังขาขึ้นมาทันที เพื่อตอบข้อกังขาจึงขอนำเอาข้อหลักธรรมจากหนังสือ พุทธธรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ประยุตโต มาอ้างอิงดังนี้ “.....เมื่อไม่ทำกรรมใหม่อยู่ไป กรรมเก่าก็น่าจะหมดไปเอง แต่ไม่หมดหรอก ไม่ต้องอยู่เฉย ๆ แม้แต่จะชดใช้กรรมเก่าไปเท่าไร ๆ ก็ไม่มีทางหมดไปได้
เหตุผลง่าย ๆ ก็คือ๑.คนเรายังมีชีวิต ก็คือเป็นอยู่ ต้องกินอยู่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำโน่นทำนี่ เมื่อยังไม่ตายก็ไม่ได้อยู่นิ่ง๒.คนเหล่านี้เป็นมนุษย์ปุถุชนก็มีโลภ โกรธ หลง โดยเฉพาะความหลง หรือโมหะนี้อยู่ประจำในใจตลอดเวลา เพราะยังไม่รู้เข้าใจความจริงถึงสัจธรรม ...........พูดสั้น ๆ ว่า กรรมไม่หมดไปด้วยการชดใช้กรรม แต่หมดกรรมด้วยการพัฒนากรรม คือปรับปรุงตัวให้ทำกรรมดียิ่งขึ้นจนพ้นขั้นของกรรมคือทำด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกครอบงำ หรือชักจูง ด้วย โลภะ โทสะ โมหะ จึงจะเรียกว่าพ้นกรรม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ