เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า AI (Artificial Intelligence)หรือปัญญาประดิษฐ์[1]กันมาบ้างแล้ว ปัจจุบัน เทคโนโลยี AIได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่รู้ตัว หลายประเทศกำลังปลุกกระแสการพัฒนาเทคโนโลยี AI โดยมองว่าเทคโนโลยีนี้จะสร้างปรากฎการณ์และเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศสู่โลกอนาคต รวมถึงพญามังกรจีน
“โลกเปลี่ยน เมื่อจีนขยับ”เป็นวลีที่ใช้อธิบายความสำคัญของจีนในสายตาชาวโลกได้เป็นอย่างดี ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลจีนในการพัฒนาแผนงานพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนเมื่อไม่นานมานี้ได้สร้างความสนใจให้กับสังคมโลกอย่างมาก
สำนักข่าว BBC ของอังกฤษรายงานว่า รัฐบาลจีนได้กำหนดให้เทคโนโลยี AI เป็นพลังหลักในการช่วยขับเคลื่อนการยกระดับภาคอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ โดยจะให้การส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยี AI
จากข้อมูลพบว่า นับตั้งแต่ปี 2555 ถึงปัจจุบันจีนมีบริษัทด้านเทคโนโลยี AI รวม 1,354 ราย ในปี 2560 มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 6.22 หมื่นล้านหยวน สูงขึ้นกว่าร้อยเท่าเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มีการลงทุนเพียง 600 ล้านหยวน
ดังนั้น สื่อมวลชนจีนจึงเรียกปี 2560 ว่า “ปีแห่ง AI” และในปี 2561 นี้ ยังเป็นปีสำคัญที่เทคโนโลยี AI จะก้าวจาก “องค์ความรู้/หลักวิชาการ” สู่ “ภาคอุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์แพร่หลาย”
ในนิตยสาร Nature ของอังกฤษมีการตีพิมพ์บทความที่ระบุว่า บริษัทเทคโนโลยี AI ของจีนกำลังพัฒนาแบบก้าวกระโดด นายDavid Weaver ประธานนักวิจัยสถาบัน Microsoft Research ประจำกรุงปักกิ่งเห็นว่า อนาคตของเทคโนโลยี AI เป็นการประลองชั้นเชิงระหว่างข้อมูล (Data) กับทรัพยากรบุคคลดังนั้น การที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI ของโลกนั้น ประเทศจีนจำเป็นต้องมีทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจำนวนมากเป็นตัวสนับสนุน
บทความในนิตยสาร MIT Technology Reviewของสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า จีนทุ่มเทความพยายามอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยี AI และมีความเป็นไปได้สูงที่จีนจะเป็นกำลังหลักของการพัฒนาเทคโนโลยีAIและช่วยยกระดับอัตราการผลิตในอุตสาหกรรม และก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีAIเชิงพาณิชย์รูปแบบใหม่
นายซือ เสี่ยว (Si Xiao/司晓) ผู้อำนวยการสถาบัน Tencent Research กล่าวว่า ปีที่แล้วถือเป็นจุดเริ่มต้นเทคโนโลยี AI ของจีน มีการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในทุกสาขาอาชีพ (เรียกว่า AI plus) โดยเฉพาะสาขาที่มีพื้นฐานข้อมูลค่อนข้างดี เช่น การเงินการรักษาความปลอดภัย การแพทย์และการรักษาพยาบาลและกำลังกลายเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ของการพัฒนา “เมืองที่มีความปลอดภัย” และ “การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ”
ส่วนเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาในระดับที่ค่อนข้างสุกงอมก็เริ่มนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายแล้ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เข้าถึงกลุ่มคนหมู่มากโดยตรงอาทิ การชำระเงินด้วยระบบสแกนใบหน้า ระบบแปลภาษาร้านค้าไร้พนักงานและอุปกรณ์อัจฉริยะภายในบ้าน ซึ่งนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้แทบทั้งสิ้น ทำให้เทคโนโลยี AI พัฒนาจากแนวคิดสู่ความเป็นจริง
ใน “รายงานวิเคราะห์การพัฒนาของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีAIจีนกับสหรัฐอเมริกา” ของสถาบัน Tencent Researchระบุว่า ปัจจุบัน การพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีAIเป็นการต่อสู้ระหว่างจีนกับสหรัฐฯประเด็นที่น่าสนใจ คือ
ด้านการลงทุน จีนกำลังไล่บี้สหรัฐฯ โดยมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีAI ของจีนอยู่ที่ 49,298 ล้านหยวน
- นักลงทุนจีนเน้นด้านการประยุกต์ใช้ โดยมีการลงทุน 3 อันดับแรก ได้แก่ คอมพิวเตอร์วิทัศน์[2] (computer vision) ในสัดส่วน 23% การประมวลผลภาษาโดยธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) ในสัดส่วน 19% และการขับขี่อัตโนมัติ ในสัดส่วน 18%
- ขณะที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับพื้นฐานเทคโนโลยีเช่นชิปการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการประมวลผลภาษาโดยธรรมชาติ (NLP)
เมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ จะพบว่าขนาดทางเศรษฐกิจของเทคโนโลยี AI จีนในขณะนี้ยังไม่เทียบเท่าอเมริกา (ประมาณครึ่งหนึ่งของสหรัฐฯ) ทั้งในแง่ของจำนวนกิจการและบุคลากรที่มีความสามารถ
จุดอ่อนของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI จีน คือ จีนขาดเทคโนโลยีที่เป็นแก่นหลักในการพัฒนา (core technology) อาทิ ชิป (Chip) ชุดคำสั่ง (algorithm) และทฤษฎีพื้นฐาน (theory of foundations) โดยบริษัทผลิตชิปและเทคโนโลยีแก่นหลักมีจำนวนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ จีนยังขาดบุคลากรด้านเทคโนโลยี AI คุณสมบัติของทีมนักวิจัยยังไม่อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งมีภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน (ความต้องการมีมากกว่าจำนวนบุคลากร)
อย่างไรก็ดี ประเทศจีนมีจุดแข็งในด้านข้อมูล (Data) อินเทอร์เน็ต และ Internet of Things (IOT)!!!
คำเปรียบเปรยที่ว่า "Data is the new oil" ของศาสตรจารย์ Amazon's Neil Lawrence ในนิตยสาร Forbes ชี้ชัดถึงบทบาทความสำคัญของ Data กับการพัฒนาเทคโนโลยี AI ในศตวรรษที่ 21จีนมีผู้ใข้งานอินเทอร์เน็ต (Netizen) อยู่ราว 772 ล้านคน ชาวจีนมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตและ IOT ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก ประเภทข้อมูลและจำนวนข้อมูลก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่ขาดเสียมิได้ คือ การโอบอุ้มสนับสนุของรัฐบาลจีน ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI ในประเทศจีนพัฒนาและก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
- เริ่มต้นจากเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559รัฐบาลจีนได้ประกาศ“แผนปฏิบัติการเทคโนโลยีAI ‘Internet plus’ระยะ 3 ปี” ที่มุ่งสนับสนุนโครงการหลักในด้านต่างๆอาทิบ้านอัจฉริยะยานยนต์อัจฉริยะและระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะรวมทั้งการสร้างหลักประกันด้านเงินทุนระเบียบมาตรฐานทรัพย์สินทางปัญญาและการอบรมบุคลากร
- ต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม2560 ได้ประกาศ“แผนการพัฒนาเทคโนโลยีAIรุ่นใหม่” โดยจัดให้เทคโนโลยี AI เป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติมีการกำหนดเป้าหมายยุทธศาตร์ 3 ก้าว (เป้าหมายการทำงาน 3 ขั้น) โดยระบุว่า ในปี 2573 ภาพรวมทั้งในด้านทฤษฎี เทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ของจีนจะอยู่ในระดับมาตรฐานชั้นนำของโลก และก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมเทคโนโลยีAI ที่สำคัญของโลก
ผลกระทบที่มีต่อทั่วโลกของนโยบายรัฐตัวบทกฎหมาย และหลักจริยธรรมของการพัฒนาเทคโนโลยี AI เป็นประเด็นใหญ่ที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ ปัจจุบันสหรัฐฯ อังกฤษ และหลายประเทศในสหภาพยุโรป ได้ประกาศใช้กฎข้อบังคับปลีกย่อยของการขับขี่อัตโนมัติ และหุ่นยนต์เพื่อลบล้างกฎเกณฑ์เดิม และสร้างกติกาใหม่ในการสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมAI
คาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเช่น AI จะมีกฎหมายเฉพาะที่ครอบคลุมด้านการคุ้มครองข้อมูล การกำหนดความรับผิดชอบ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างชุดคำสั่ง ซึ่งจะเป็นกติกาสากลใหม่ให้กับนานาประเทศ
หนทางที่จะก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้นำและมีอำนาจทางวาทกรรม (discourse power) ในการแข่งขันเทคโนโลยี AI บนเวทีระหว่างประเทศ ประเทศนั้นจะต้องช่วงชิง “ความเป็นต้นแบบ” และก้าวไปก่อนผู้อื่นอย่างที่พญามังกรกำลังเดินหน้าอยู่ในขณะนี้
คำอธิบาย
[1]ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ผนึกรวมกับศาสตร์แขนงอื่นๆเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียบแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเอง
[2]คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการดึงสารสนเทศจากรูปภาพหรือวีดิทัศน์ (ที่มา th.wikipedia.org/)
ลิงก์ที่น่าสนใจ
เซี่ยงไฮ้ใส่เกียร์เดินหน้าไม่ยั้ง…ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางด้าน AI ของจีน (28 ธ.ค. 2560)
จัดทำโดย นายชิว เจียเหว่ย ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
เรียบเรียงโดย นายกฤษณะ สุกันตพงศ์ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
แหล่งที่มา: เว็บไซต์ http://finance.people.com.cn (人民网) ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561
เว็บไซต์ www.leiphone.com (雷锋网) ประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560
เว็บไซต์www.jiemian.com(界面网) ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2560
เว็บไซต์www.sohu.com(搜狐网) ประจำวันที่ 18 ตุลาคม 2560
ปรับปรุงล่าสุด : 06 มีนาคม 2561
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง / ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า AI (Artificial Intelligence)หรือปัญญาประดิษฐ์[1]กันมาบ้างแล้ว ปัจจุบัน เทคโนโลยี AIได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่รู้ตัว หลายประเทศกำลังปลุกกระแสการพัฒนาเทคโนโลยี AI โดยมองว่าเทคโนโลยีนี้จะสร้างปรากฎการณ์และเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศสู่โลกอนาคต รวมถึงพญามังกรจีน
“โลกเปลี่ยน เมื่อจีนขยับ”เป็นวลีที่ใช้อธิบายความสำคัญของจีนในสายตาชาวโลกได้เป็นอย่างดี ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลจีนในการพัฒนาแผนงานพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนเมื่อไม่นานมานี้ได้สร้างความสนใจให้กับสังคมโลกอย่างมาก
สำนักข่าว BBC ของอังกฤษรายงานว่า รัฐบาลจีนได้กำหนดให้เทคโนโลยี AI เป็นพลังหลักในการช่วยขับเคลื่อนการยกระดับภาคอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ โดยจะให้การส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยี AI
จากข้อมูลพบว่า นับตั้งแต่ปี 2555 ถึงปัจจุบันจีนมีบริษัทด้านเทคโนโลยี AI รวม 1,354 ราย ในปี 2560 มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 6.22 หมื่นล้านหยวน สูงขึ้นกว่าร้อยเท่าเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มีการลงทุนเพียง 600 ล้านหยวน
ดังนั้น สื่อมวลชนจีนจึงเรียกปี 2560 ว่า “ปีแห่ง AI” และในปี 2561 นี้ ยังเป็นปีสำคัญที่เทคโนโลยี AI จะก้าวจาก “องค์ความรู้/หลักวิชาการ” สู่ “ภาคอุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์แพร่หลาย”
ในนิตยสาร Nature ของอังกฤษมีการตีพิมพ์บทความที่ระบุว่า บริษัทเทคโนโลยี AI ของจีนกำลังพัฒนาแบบก้าวกระโดด นายDavid Weaver ประธานนักวิจัยสถาบัน Microsoft Research ประจำกรุงปักกิ่งเห็นว่า อนาคตของเทคโนโลยี AI เป็นการประลองชั้นเชิงระหว่างข้อมูล (Data) กับทรัพยากรบุคคลดังนั้น การที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI ของโลกนั้น ประเทศจีนจำเป็นต้องมีทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจำนวนมากเป็นตัวสนับสนุน
บทความในนิตยสาร MIT Technology Reviewของสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า จีนทุ่มเทความพยายามอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยี AI และมีความเป็นไปได้สูงที่จีนจะเป็นกำลังหลักของการพัฒนาเทคโนโลยีAIและช่วยยกระดับอัตราการผลิตในอุตสาหกรรม และก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีAIเชิงพาณิชย์รูปแบบใหม่
นายซือ เสี่ยว (Si Xiao/司晓) ผู้อำนวยการสถาบัน Tencent Research กล่าวว่า ปีที่แล้วถือเป็นจุดเริ่มต้นเทคโนโลยี AI ของจีน มีการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในทุกสาขาอาชีพ (เรียกว่า AI plus) โดยเฉพาะสาขาที่มีพื้นฐานข้อมูลค่อนข้างดี เช่น การเงินการรักษาความปลอดภัย การแพทย์และการรักษาพยาบาลและกำลังกลายเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ของการพัฒนา “เมืองที่มีความปลอดภัย” และ “การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ”
ส่วนเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาในระดับที่ค่อนข้างสุกงอมก็เริ่มนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายแล้ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เข้าถึงกลุ่มคนหมู่มากโดยตรงอาทิ การชำระเงินด้วยระบบสแกนใบหน้า ระบบแปลภาษาร้านค้าไร้พนักงานและอุปกรณ์อัจฉริยะภายในบ้าน ซึ่งนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้แทบทั้งสิ้น ทำให้เทคโนโลยี AI พัฒนาจากแนวคิดสู่ความเป็นจริง
ใน “รายงานวิเคราะห์การพัฒนาของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีAIจีนกับสหรัฐอเมริกา” ของสถาบัน Tencent Researchระบุว่า ปัจจุบัน การพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีAIเป็นการต่อสู้ระหว่างจีนกับสหรัฐฯประเด็นที่น่าสนใจ คือ
ด้านการลงทุน จีนกำลังไล่บี้สหรัฐฯ โดยมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีAI ของจีนอยู่ที่ 49,298 ล้านหยวน
- นักลงทุนจีนเน้นด้านการประยุกต์ใช้ โดยมีการลงทุน 3 อันดับแรก ได้แก่ คอมพิวเตอร์วิทัศน์[2] (computer vision) ในสัดส่วน 23% การประมวลผลภาษาโดยธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) ในสัดส่วน 19% และการขับขี่อัตโนมัติ ในสัดส่วน 18%
- ขณะที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับพื้นฐานเทคโนโลยีเช่นชิปการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการประมวลผลภาษาโดยธรรมชาติ (NLP)
เมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ จะพบว่าขนาดทางเศรษฐกิจของเทคโนโลยี AI จีนในขณะนี้ยังไม่เทียบเท่าอเมริกา (ประมาณครึ่งหนึ่งของสหรัฐฯ) ทั้งในแง่ของจำนวนกิจการและบุคลากรที่มีความสามารถ
จุดอ่อนของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI จีน คือ จีนขาดเทคโนโลยีที่เป็นแก่นหลักในการพัฒนา (core technology) อาทิ ชิป (Chip) ชุดคำสั่ง (algorithm) และทฤษฎีพื้นฐาน (theory of foundations) โดยบริษัทผลิตชิปและเทคโนโลยีแก่นหลักมีจำนวนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ จีนยังขาดบุคลากรด้านเทคโนโลยี AI คุณสมบัติของทีมนักวิจัยยังไม่อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งมีภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน (ความต้องการมีมากกว่าจำนวนบุคลากร)
อย่างไรก็ดี ประเทศจีนมีจุดแข็งในด้านข้อมูล (Data) อินเทอร์เน็ต และ Internet of Things (IOT)!!!
คำเปรียบเปรยที่ว่า "Data is the new oil" ของศาสตรจารย์ Amazon's Neil Lawrence ในนิตยสาร Forbes ชี้ชัดถึงบทบาทความสำคัญของ Data กับการพัฒนาเทคโนโลยี AI ในศตวรรษที่ 21จีนมีผู้ใข้งานอินเทอร์เน็ต (Netizen) อยู่ราว 772 ล้านคน ชาวจีนมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตและ IOT ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก ประเภทข้อมูลและจำนวนข้อมูลก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่ขาดเสียมิได้ คือ การโอบอุ้มสนับสนุของรัฐบาลจีน ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI ในประเทศจีนพัฒนาและก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
- เริ่มต้นจากเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559รัฐบาลจีนได้ประกาศ“แผนปฏิบัติการเทคโนโลยีAI ‘Internet plus’ระยะ 3 ปี” ที่มุ่งสนับสนุนโครงการหลักในด้านต่างๆอาทิบ้านอัจฉริยะยานยนต์อัจฉริยะและระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะรวมทั้งการสร้างหลักประกันด้านเงินทุนระเบียบมาตรฐานทรัพย์สินทางปัญญาและการอบรมบุคลากร
- ต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม2560 ได้ประกาศ“แผนการพัฒนาเทคโนโลยีAIรุ่นใหม่” โดยจัดให้เทคโนโลยี AI เป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติมีการกำหนดเป้าหมายยุทธศาตร์ 3 ก้าว (เป้าหมายการทำงาน 3 ขั้น) โดยระบุว่า ในปี 2573 ภาพรวมทั้งในด้านทฤษฎี เทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ของจีนจะอยู่ในระดับมาตรฐานชั้นนำของโลก และก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมเทคโนโลยีAI ที่สำคัญของโลก
ผลกระทบที่มีต่อทั่วโลกของนโยบายรัฐตัวบทกฎหมาย และหลักจริยธรรมของการพัฒนาเทคโนโลยี AI เป็นประเด็นใหญ่ที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ ปัจจุบันสหรัฐฯ อังกฤษ และหลายประเทศในสหภาพยุโรป ได้ประกาศใช้กฎข้อบังคับปลีกย่อยของการขับขี่อัตโนมัติ และหุ่นยนต์เพื่อลบล้างกฎเกณฑ์เดิม และสร้างกติกาใหม่ในการสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมAI
คาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเช่น AI จะมีกฎหมายเฉพาะที่ครอบคลุมด้านการคุ้มครองข้อมูล การกำหนดความรับผิดชอบ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างชุดคำสั่ง ซึ่งจะเป็นกติกาสากลใหม่ให้กับนานาประเทศ
หนทางที่จะก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้นำและมีอำนาจทางวาทกรรม (discourse power) ในการแข่งขันเทคโนโลยี AI บนเวทีระหว่างประเทศ ประเทศนั้นจะต้องช่วงชิง “ความเป็นต้นแบบ” และก้าวไปก่อนผู้อื่นอย่างที่พญามังกรกำลังเดินหน้าอยู่ในขณะนี้
คำอธิบาย
[1]ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ผนึกรวมกับศาสตร์แขนงอื่นๆเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียบแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเอง
[2]คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการดึงสารสนเทศจากรูปภาพหรือวีดิทัศน์ (ที่มา th.wikipedia.org/)
ลิงก์ที่น่าสนใจ
เซี่ยงไฮ้ใส่เกียร์เดินหน้าไม่ยั้ง…ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางด้าน AI ของจีน (28 ธ.ค. 2560)
จัดทำโดย นายชิว เจียเหว่ย ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
เรียบเรียงโดย นายกฤษณะ สุกันตพงศ์ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
แหล่งที่มา: เว็บไซต์ http://finance.people.com.cn (人民网) ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561
เว็บไซต์ www.leiphone.com (雷锋网) ประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560
เว็บไซต์www.jiemian.com(界面网) ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2560
เว็บไซต์www.sohu.com(搜狐网) ประจำวันที่ 18 ตุลาคม 2560
ปรับปรุงล่าสุด : 06 มีนาคม 2561
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง / ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น