พระพุทธศาสนากับโลกปัจจุบัน
.
มีบางคนเชื่อว่า พระพุทธศาสนาเป็นระบบที่สูงส่งเกินไปจนบุรุษและสตรีธรรมดาไม่อาจปฏิบัติตามได้ ในชีวิตประจำวันของพวกเรา และมีความเชื่อว่าถ้าปรารถนาจะเป็นชาวพุทธจริงๆ แล้ว จะต้องปลีกตนเองจากสังคมโลกเข้าไปอยู่ในวัด หรือสถานที่ที่สงบ
นี้เป็นความคิดที่ผิดอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากขาดความเข้าใจต่อคำสอนของพระพุทธองค์แท้ๆ ทีเดียว ประชาชนรีบมุ่งไปสู่การสรุปที่รวดเร็วและผิด อันเป็นผลจากการฟังและการอ่านแบบลวกๆ ของพวกเขาต่อข้อความบางอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของนักเรียนบางคนผู้ไม่เข้าใจความจริงทุกแง่มุม แต่ให้ทัศนะเกี่ยวกับพุทธศาสนาเพียงบางแห่งอย่างมีอคติ คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้มุ่งหมายเฉพาะในวัดเท่านั้น แต่เพื่อคฤหัสถ์ชนทั้งชายหญิงผู้มีชีวิตอยู่ตามบ้านกับครอบครัวของพวกเขา อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นแนวทางดำเนินชีวิตของชาวพุทธ มีความหมายสำหรับทุกคนไม่แตกต่างกันเลย
ธรรมะกับการครองเรือน
ส่วนใหญ่ของประชาชนในโลก ไม่อาจจะบวชเป็นพระ หรือปลีกตนเองไปอยู่ในถ้ำหรือป่าเขาลำเนาไพร อย่างไรก็ดี หากพุทธศาสนาที่ประเสริฐและบริสุทธิ์จะเป็นเช่นนั้น (อย่างที่บางคนเข้าใจ)พุทธศาสนาก็เป็นสิ่งไร้ประโยชน์สำหรับมวลมนุษย์ ถ้าเขาไม่อาจจะปฏิบัติในชีวิตประจำวันในโลกนี้ได้ แต่ถ้าท่านเข้าใจหลักของพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง (ไม่ใช่เพียงตัวอักษร) ท่านสามารถจะประพฤติและปฏิบัติตามอย่างมั่นใจ ขณะที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างคนธรรมดานี่เอง
อาจจะมีบางคนที่พบว่า เป็นง่ายกว่าและสะดวกกว่าที่จะปฏิบัติตามพุทธธรรม ถ้าเขา
ดำรงชีวิตอยู่ในสถานที่อันห่างไกล ตัดขาดออกจากสังคมกับคนอื่น ๆ คนเหล่าอื่นอาจพบว่า การปลีกตนเองออกอย่างนั้น ทำให้ชีวิตทั้งด้านรางกายและจิตใจทื่อและตกต่ำ และจากผลนั้นเอง มันอาจจะไม่นำมาซึ่งความเจริญงอกงามแห่งชีวิตทั้งทางจิตใจและสติปัญญา
การสละโลก (บรรพชา) อย่างแท้จริง ไม่ได้หมายความว่าหนีออกไปจากโลกทางด้านร่างกาย (ภายนอก) พระสารีบุตรอัครสาวกของพระพุทธเจ้า กล่าวว่า คนๆหนึ่งอาจจะอยู่ในป่า อุทิศตนเองต่อการปฏิบัติแบบนักบวช แต่ (จิตใจ) อาจเต็มไปด้วยความไม่บริสุทธิ์และอาสวะ อีกคนหนึ่ง อาจจะอยู่ในบ้านหรือในเมือง มิได้ปฏิบัติระเบียบวินัยแบบนักพรต แต่จิตใจของเขาอาจจะบริสุทธิ์และอิสระจากกิเลสาสวะ ในบรรดาสองคนนี้พระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้ที่ดำรงชีวิตแบบบริสุทธิ์ในบ้านหรือในเมือง เป็นผู้วิเศษแน่นอนกว่า และยิ่งใหญ่กว่า ผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่ในป่า( ม.มู. ๑๒/๕๓–๗๒/๔๒ )
ความเชื่อพื้นๆที่ว่า การจะฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์บุคคลจะต้องปลีกตัวเองจากชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นความเชื่อที่ผิด ความเชื่อเช่นนั้น เป็นสิ่งที่ต่อต้านส่วนลึกต่อการปฏิบัติตามคำสอนอย่างแท้จริง มีหลักฐานหลายแห่งในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา (ที่แสดงว่า) บุรุษและสตรีที่ดำรงชีวิตแบบธรรมดาในครอบครัวตามปกติ ผู้ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนได้อย่างประสบผลสำเร็จ และทำพระนิพพานให้แจ้งได้ วัจฉโคตตะอาชีวก (ผู้ซึ่งที่เรากล่าวถึงในบทที่ว่าด้วยเรื่องอนัตตา) ครั้งหนึ่งถามพระพุทธเจ้าอย่างตรงๆว่า มีบุรุษสตรีที่อยู่ครองเรือน ซึ่งปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างประสบผลสำเร็จ และบรรลุถึงมรรคผลมีหรือไม่ พระพุทธองค์ทรงเน้นอย่างชัดเจนว่า ไม่ใช่เพียงหนึ่งคนหรือสองคน ไม่ใช่เพียงร้อยคน สองร้อยคน หรือห้าร้อยคน แต่มากต่อมาก ที่บุรุษและสตรีที่ครองเรือนอยู่ ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์อย่างมีผลและบรรลุถึงสภาพทางจิตอันสูงส่ง ( ม.ม. ๑๓/๒๕๖ )
เหมาะทีเดียวสำหรับประชาชนธรรมดา ที่จะดำรงชีวิตอันหลีกเร้นในสถานที่อันสงัดจากเสียงอึกทึกและรบกวน แต่มันเป็นสิ่งที่ที่ค่าควรแก่การยกย่องและเชิดชูกว่า ที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ในระหว่างเพื่อนมนุษย์ ด้วยการช่วยเหลือเขา ทำตนเป็นผู้บริการพวกเขา บางทีมันอาจจะเป็นประโยชน์ในบางกรณีสำหรับบุคคลที่จะมีชีวิตแบบหลีกเร้น สักระยะหนึ่งเพื่อที่จะพิสูจน์จิตใจและนิสัยของเขา ในฐานะเป็นการฝึกตามศีล สมาธิ และปัญญา ขั้นพื้นฐาน เพื่อที่จะมีความแข็งแกร่งพอที่จะออกมาสู่สังคมในภายหลัง และช่วยเหลือคนอื่นๆ แต่ถ้าบุคคลดำรงชีวิตของเขาทั้งหมดอยู่ในความโดดเดี่ยว คิดถึงเฉพาะความสุขและทางรอดของตัวเองเท่านั้น โดยปราศจากการคำนึงถึงเพื่อนมนุษย์ของเขา นี้ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความเมตตากรุณาและการช่วยเหลือคนอื่นอย่างแท้จริง
บัดนี้อาจมีบางคนถามว่า ถ้าคนธรรมดาอาจปฏิบัติตามพุทธศาสนาในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในบ้านในเรือน แล้วทำไมจะต้องมี พระสงฆ์ หรือหมู่แห่งพระภิกษุ ซึ่งตั้งขึ้นโดยพระพุทธองค์ด้วยละ? พระสงฆ์เอื้ออำนวยโอกาสสำหรับผู้ที่ปรารถนาที่จะอุทิศชีวิตของตน ไม่เพียงแต่เจริญสมาธิและปัญญาของตนเองเท่านั้น แต่เพื่อรับใช้คนอื่นด้วย ผู้ที่ครองเรือนไม่สามารถจะมุ่งอุทิศชีวิตทั้งหมดของตนเพื่อรับใช้ผู้อื่น เหมือนพระสงฆ์ซึ่งไม่มีครอบครัวที่จะต้องรับผิดชอบ หรือความผูกพันแบบโลกๆอื่นๆจึงอยู่ในฐานะที่จะอุทิศชีวิตทั้งหมดของเขา “เพื่อเกื้อกูลและความสุขของพหูชน” ดังที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ นี้เป็นเครื่องชี้เหตุผลในแนวประวัติศาสตร์ที่ว่า วัดทางพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นเพียงศูนย์กลางทางจิตใจเท่านั้นแต่เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาและวัฒนธรรมด้วย
คัดจาก พระพุทธเจ้าสอนอะไร : What the Buddha Taught by Walpola Rahula.
แปลโดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น