ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เจตนคติของชาวพุทธ

เจตนคติของชาวพุทธ

(THE BUDDAIST ATTITUDE OF MIND)

.

  ในบรรดาศาสดาแห่งศาสนาทั้งหลายเหล่านั้น พระพุทธเจ้า (ถ้ายอมให้เราเรียกพระองค์ว่าเป็นศาสดาผู้ตั้งศาสนาตามความหมายของศัพท์ที่เข้าใจกัน) ก็เป็นศาสดาพระองค์เดียวเท่านั้นที่ไม่ได้ทรงอ้างพระองค์ว่าเป็นอะไรอื่นนอกจากมนุษย์ธรรมดาแท้ๆ ส่วนศาสดาทั้งหลายอื่นนั้นไม่เป็นพระเจ้าเสียเอง ก็เป็นอวตารของพระเจ้าในรูปแบบต่างๆ หรือมิฉะนั้นก็ได้รับความบันดาลใจจากพระเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ใช่เป็นแต่เพียงมนุษย์ธรรมดาเท่านั้น พระองค์ยังมิได้ทรงอ้างการดลใจจากเทพเจ้า หรืออำนาจภายนอกแต่อย่างใดทั้งสิ้นอีกด้วย พระองค์ถือว่าการตรัสรู้ การบรรลุธรรม และความสำเร็จของพระองค์ทั้งหมดเป็นความพยายามของมนุษย์ และเป็นสติปัญญาของมนุษย์ มนุษย์และเฉพาะมนุษย์เท่านั้นสามารถจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ มนุษย์ทุกคนมี มีศักยภาพ(ความสามารถในตัวเอง) ในการเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ในตัวเอง ถ้าหากเขาปรารถนาอย่างนั้น และทำความเพียรพยายาม เราจะเรียกพระพุทธเจ้าว่าเป็นมนุษย์ผู้ยอดเยี่ยมก็ได้ พระพุทธเจ้านั้นทรงมีความเป็นมนุษย์อยู่ในพระองค์เสียจนกระทั่งว่า พระองค์ได้รับการนับถือต่อมาแบบศาสนาของชาวบ้าน ดังหนึ่งว่าเป็นผู้เหนือมนุษย์ (super-human)

  ตามหลักของพระพุทธศาสนาแล้ว ฐานะของมนุษย์เป็นฐานะที่สูงสุด มนุษย์เป็นนายของตนเอง และไม่มีอำนาจวิเศษหรือกำลังอื่นใดที่จะมาพิจารณาตัดสินชี้ขาดชะตากรรมของมนุษย์ได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า “ตนเป็นที่พึ่งของตน ใครอื่นจะสามารถเป็นที่พึ่ง (ของเรา) ได้เล่า”(ขุ.ธ. ๒๕/๒๒/๓๖ คาถาที่ ๑๖๐)    พระองค์ได้ประทานโอวาทแก่สาวกทั้งหลายของพระองค์ให้เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง และไม่ยอมให้แสวงหาที่พึ่ง หรือความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นใดอีก พระองค์ได้ตรัสสอน

ส่งเสริมและกระตุ้นเตือนให้บุคคลแต่ละคนได้พัฒนาตนเอง  และทำความหลุดพ้นของตนให้สำเร็จ เพราะมนุษย์มีพลังที่จะปลดปล่อยตนเองจากสังโยชน์ด้วยอาศัยความเพียรและสติปัญญาอันเป็นส่วนเฉพาะตัวได้พระพุทธองค์ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายพึงทำกิจของตนเอง เพราะว่าตถาคตทั้งหลายเพียงแต่บอกทางให้”(ขุ.ธ. ๒๕/๓๐/๕๑ คาถาที่ ๒๗๖ )ถ้าหากพระพุทธเจ้าได้รับพระนามว่า พระผู้ไถ่บาป (พระมหาไถ่) ได้บ้างแล้วไซร้มันก็เป็นได้เฉพาะความหมายที่ว่า พระองค์ได้ทรงค้นพบและทรง ชี้มรรคาไปสู่ความหลุดพ้น(นิพพาน) เท่านั้น แต่เราจะต้องปฏิบัติตามมรรคานั้นด้วยตัวของเราเอง

โดยหลักการแห่งความรับผิดชอบของบุคคลแต่ละคนนี้แหละ พระพุทธเจ้าได้ทรงประทานอิสรภาพแห่งความคิดแก่สาวกของพระองค์ ในมหาปรินิพพานสูตร ( ที.ฆ. ๑๐/๙๓/๑๑๘)พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า“พระองค์ไม่เคยดำริถึงการบังคับควบคุมคณะสงฆ์เลย และพระองค์ไม่ต้องการที่จะให้คณะสงฆ์ต้องมาคอยพึ่งพาอาศัยอยู่เรื่อยไป (ไม่กุมอำนาจแต่ผู้เดียว)” พระองค์ตรัสว่า “ไม่มีหลักธรรมวงใน (จำกัดเฉพาะ) ในคำสั่งสอนของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดที่ซ่อนไว้ในกำปั้นของอาจารย์ (อาจริยมุฎฐิ)” หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า “ไม่มีสิ่งใดซ่อนไว้ในแขนเสื้อ (ไม่มีอะไรปิดบัง)”

  เสรีภาพแห่งความคิดที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้นี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครได้เคยรู้จักมาก่อนในที่อื่นใดในประวัติศาสตร์แห่งศาสนาทั้งหลาย เสรีภาพอันนี้เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเหตุว่า ตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ ความหลุดพ้นของมนุษย์ต้องอาศัยการทำให้แจ้งสัจธรรมด้วยตนเอง มิได้อาศัยการุณยภาพที่โปรดปรานของพระเจ้าหรืออำนาจภายนอกใดๆ ให้เป็นรางวัลสำหรับความประพฤติที่ดีงาม และเชื่อฟังต่อพระองค์

คัดจาก พระพุทธเจ้าสอนอะไร  : What the Buddha Taught by Walpola Rahula.

แปลโดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ

ส.ค.ศ.๒๕๖๗

                                      https://www.youtube.com/playlist?list=PLc48HzMCk2P72s5voNYW-U00myYCC3Bab