ต้นตอแห่งความวุ่นวายทั้งมวลเกิดจากความเชื่อที่ผิดพลาดงมงาย (ยึดมั่นถือมั่นว่า “ตัวกู” “ของกู” )
อัตตาในตัวมนุษย์นี้ได้แก่สภาวะที่ทำหน้าที่คิดนึก สัมผัสอารมณ์และเสวยผลตอบแทนทั้งที่ดีและไม่ดีอันเกิดจาก
การกระทำของตนทั้งมวลการรับรู้เช่นนั้นเขาเรียกกันว่าอัทิฏฐิพระพุทธศาสนายืนกรานปฏิเสธอย่างหนักหน่วงถึง
ความมีอยู่ แห่งอัตตาหรืออาตมัน ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าความคิดว่ามีตัวตนจัดเป็นความเชื่อที่ผิดพลาด
งมงายขัดต่อความเป็นจริง และยังก่อให้เกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่นว่า “ตัวกู” “ของกู” เพิ่มขึ้นอีกอันจะก่อให้เกิดความ
เห็นแก่ตัว ความยึดติด ความโลภ ความโกรธ ความพยาบาท ความทะนงตนความถือดี ความหลง และกิเลสาสวะ
อื่นๆ อีกร้อยแปดพันประการ ทั้งยังเป็นต้นตอแห่งความวุ่นวายทั้งมวลนับตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกระทั่งถึง
การสู้รบกันระหว่างคนในชาติพูดสั้นๆก็คือว่า ความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นในโลกล้วนมีมูลมาจากความเห็นผิดนี้ทั้งสิ้น
๑. ความคิดปกป้องตนเองให้ปลอดภัย (self Protection)
๒. ความคิดรักษาตนเองให้อยู่รอด (self Preservation)
การที่มนุษย์ได้สร้างพระเจ้าขึ้นก็เพื่อปกป้องตนเองให้ปลอดภัย และการที่มนุษย์ได้ยอมรับหลักความคิดที่ว่าวิญญาณหรืออาตมันเป็นอมตะก็เพื่อรักษาตนให้อยู่รอด มนุษย์ตกอยู่ในอำนาจความโง่เขลา ความอ่อนแอ ความกลัว และความปรารถนา จึงได้สร้างสองสิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นหลักประกันให้ตนดำรงชีวิตอยู่อย่างอบอุ่นใจ จนกลายเป็นยึดถืออย่างเหนี่ยวแน่น
คำสอนของพระพุทธเจ้ามิได้สนับสนุนความโง่ ความอ่อนแอ ความกลัวและความต้องการในลักษณะดังกล่าวนี้เลย ตรงกันข้ามกลับมีจุดมุ่งหมายต้องการให้มนุษย์ขจัดมันให้หมดสิ้นไปด้วยวิธีการขุดค้นถึงต้นตอที่แท้จริงเพื่อความรู้แจ้ง ตามแนวพระพุทธศาสนา หลักความคิดเรื่องพระเจ้าและวิญญาณนับว่าไร้สาระ เป็นเพียงส่วนเกินทางด้านจิตใจที่ได้รับการแต่งเติมให้ละเอียดอ่อนด้วยการใช้ถ้อยคำที่สละสลวย มีเหตุผลและแฝงไปด้วยหลักปรัชญา ด้วยเหตุนั้น มนุษย์จึงต่างพากันเชื่อมั่น จนไม่ปรารถนาจะได้ยิน ไม่ต้องการจะทำความเข้าใจคำสอนอื่นใดที่เห็นว่าขัดกัน
เรื่องนี้พระพุทธเจ้าของเราทรงทราบดี จึงตรัสย้ำอยู่เสมอว่าคำสอนของพระองค์ทวนกระแสคือต่อต้านความต้องการที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ หลังตรัสรู้ ได้เพียง ๔ สัปดาห์ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธ พระพุทธองค์ได้ทรงรำพึงว่าสัจธรรม (Truth) ตถาคตได้รู้แจ้งแล้ว แต่สัจธรรมนั้นจะเข้าใจได้ก็แต่คนที่ฉลาดเท่านั้น เหล่าสัตว์ที่ถูกอวิชชาห่อหุ้ม มืดมนด้วยโลภโกรธหลงไม่สามารถจะเข้าใจได้เลย เพราะเป็นธรรมสุขุมคัมภีรภาพไหลทวนกระแส
ความคิดดังกล่าวทำให้พระองค์ทรงลังเลพระทัยอยู่ระยะหนึ่ง ครั้นแล้วจึงทรงยกกอดออกบัวขึ้นมาเป็นหลักอุปมา กล่าวคือ ในกอบัวกอหนึ่งดอกบัวที่โผล่ขึ้นมาเสมอระดับน้ำก็มี ที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำก็มี ที่ยังจมอยู่ใต้น้ำก็มี ฉันใด ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เหล่าสัตว์ย่อมมีสติปัญญาแตกต่างกัน คนที่จะเข้าใจได้คงจะมีอยู่บ้าง ดังนั้น พระองค์จึงตัดสินพระทัยสอนสัจจธรรมนั้น (วิ. มหา. ๔/๙/๑๑ ; ม.มู. ๑๒/๓๒๓/๓๒๕ )
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น