ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เขาโดนหลอกเพราะเรื่องโกหกนั้นตรงกับสิ่งที่เขาปรารถนาพอดี

เขาโดนหลอกเพราะเรื่องโกหกนั้นตรงกับสิ่งที่เขาปรารถนาพอดี


มีคนสองคนกำลังถกอภิปรายกันถึงเรื่องว่าการปิดบังเป็นการโกหกหรือไม่!
  “ถ้าเช่นนั้นคุณคิดว่าความจริงใจไม่สำคัญเลยหรือ”
  “สำคัญสิครับ ผมแค่ไม่เห็นด้วยที่จะบังคับให้เป้นกฏหมายเท่านั้น”
  “ทำอย่างไงโลกจึงเป็นไปตามที่คุณและผมปรารถนาละครับ”
  “เมื่อเวลาและชีวิตดำเนินไปเรื่อยๆ สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นแก่คุณเอง ที่จริงมันเกิดขึ้นแก่คุณอยู่นะ คุณจะพบกับคนที่คุณรู้สึกอิสระจะพูดด้วยได้โดยไม่ต้องโกหก คุณจะพบคนที่คุณยอมรับเขาได้ไม่ว่าเขาจะจะเปนอย่างไร และทำให้เขารู้สึกว่า ไม่จำเป้นต้องโกหกอะไรคุณเลย คนเหล่านั้นเป็นเพื่อนแท้ของคุณ ดูแลพวกเขาให้ดีนะ”
  “แล้วถ้าคุณและเพื่อนของคุณเหล่านั้นตระหนักว่า พวกคุณคือจุดเริ่มต้นของกฏเกณฑ์ใหม่แล้วละก็…..”
  “บอกผมทีครับ คุณคิดว่าความตรงไปตรงมานี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะของมิตรภาพหรือครับ”
  “อีกแล้วหรือครับ”
  “ใช่ อีกแล้ว”
  “ลองถามมาสิครับ”
  “ตรงไปตรงมา มาจากคำว่าตรง เปิดเพย คล้ายๆ เวลาที่เราพูดกันว่า ทางโล่งนั้นแหละ การเป็นคนตรงไปตรงมาหมายความว่า ไม่มีส่วนไหนภายในตัวผมที่เป็นความลับหรือถูกปิดทางเข้าเอาไว้ ไม่มีมุมใดของความคิด ความรู้สึก หรือความทรงจำที่ผมไม่รู้จักหรืออยากปกปิดเอาไว้ ความจริงถือว่าเบากว่านี้มาก ความจริงใจสำหรับผมคือ ทุกอย่างที่ผมพูดเป้นความจริง ซึ่งก็คือผมไม่ได้โกหกคุณ เหมือนที่คุณชอบพูดนั้นแหละ”
  “แปลว่าคนเราอาจจะจริงใจ แต่ไม่ตรงไปตรงมาก็ได้”
 “นั้นแหละ ความตรงไปตรงมาคือความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนเหมือนกับความรัก เป้นความรู้สึกที่ควรเก็บไว้เฉพาะไม่กี่คน น้อยคนจริงๆ”
 “ถ้าสิ่งที่คุณพูดเป็นเรื่องจริง ผมก็ปิดบังพื้นที่บางส่วนของตัวเองไม่ให้คุณรู้ได้ ในขณะที่ผมก็ยังคงจริงใจต่อคุณ คล้ายๆ กับว่าการปิดบังไม่ใช่โกหก”
  “อย่างน้อย ผมก็เป็คนหนึ่งที่คิดว่าการปิดบังไม่ใช่โกหก ตราบใดที่คุณไม่โกหกเพื่อจะปิดบัง”
"ขอตัวอย่างครับ”

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นบทสนทนาระหว่าคู่รักคู่หนึ่ง
  “คุณเป็นอะไรไป”
  “ไม่มีอะไร….”

อีกกรณีหนึ่ง
  “คุณเป็นอะไรไป”
  “ไม่รู้สิ…”

อีกสักรณี
  “คุณเป็นอะไรไป”
  “ผมไม่อยากตอบตอนนี้”
(อาจฟังดูเป็นคำตอบที่ที่เป็นชนวนขัดแย้งได้มากที่สุด แต่คนผู้นี้กำลังปิดบังและแสดงความจริงใจในเวลาเดียวกัน)
  “แต่ว่าสองกรณีแรกคู่รักผมอาจจะพอเข้าใจได้บ้าง ส่วนกรณีสุดท้ายนี้ผมโดนถีบหัวส่งแน่ๆ”
  “ถ้างั้น คงถึงเวลาแล้วก็ได้ที่คุณจะนั้งตรองสักนิด ว่าคู่รักของคุณเป็นคนประเภทไหนกันแน่ คู่รักที่เข้าอกเข้าใจและรับคุณได้เมื่อคุณโกหก แต่กลับลงโทษคุณเมื่อคุณจริงใจนะ”
  “คุณจะมีคำตอบอยู่เสมอหรือครับ”
"ใช่แล้วเราทุกคนต่างมีคำตอบอยู่เสมอ บางครั้งตำตอบนั้นอาจจะเป็นความเงียบ ความสับสน หรือการหลีกหนี”
  “ผมเซ็งคุณมากๆ เลยนะ”
  “ผมก็เบื่อตัวเองมากเหมือนกัน”
  “ให้ผมลองสรุปสักหย่อยนะ”
  “เชิญ เชิญ”
  “คุณบอกว่าไม่เห็นด้วยที่จะจัดว่า การโกหกเป็นสิ่งไม่ดี แล้วก็บอกว่าการโกหกนั้นเป็นการเลือกตัดสินใจของแต่ละคนในแต่ละโอกาส”
  “และแต่ละความสัมพันธ์ด้วย”คู่สนทนาช่วนเสริม
  “คุณยังยืนยันอีกว่า การโกหกไม่ถือเป็นการปิดบัง
  “ไม่ใช่ ผมบอกว่า การปิดบังไม่ถือเป็นการโกหกต่างหาก มันไม่เหมือนกันนะ”
  “ก็จริงครับ แล้วคุณก็พูดว่า เราต้องสงวนความจริงใจไว้สำหรับเพื่อน เก็บความตรงไปตรงมาไว้สำหรับผู้ที่เราเลือก ถูกหรือเปล่าครับ”
  “ถูกทำนองนั้นแหละ”
  “ถ้างั้น การที่ผมเชื่อสิ่งที่คุณพูดหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผมกับคุณ ขึ้นอยู่กับความไว้วางใจและความรักของผม”
  “แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่า และความต้องการของคุณด้วย”
  “ความต้องการอะไรครับ”
  “ผมเล่านิทานให้คุณฟังดีไหม”

     “ณ ประเทศที่ห่างไกลแห่งหนึ่ง มีผูปกครองทรงอำนาจคนหนึ่ง เขามีอำนาจมากๆ พอๆกับควาใจดำอำหิตต่อพลเมืองของเขา ผู้ปกครองประเทศเขาชื่อว่า โนลัฟ เขามีกองทัพที่แข็งแกร๋ง นานๆจะมีประชาชนก่อการประท้วงต่อความเป็นเผด็จการของเขาแต่เขาจะล้มล้างความพยายามเหล่านั้นด้วยเลือดและกระสุน
“บาทหลวงประจำเมืองเป็นคนดีมีจิตใจเมตตา ควาดีนั้นพอๆกับความเลวของผู้ปกครองประเทศนั้น บาทหลวงเป็นที่เคารพศรัทธาอันแรงกล้าของประชาชน เพราะอุทิสชีวิตช่วยเหลือผู้อื่นและถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้คนทั้งหมดของตนเอง


ในบ้านของบาทหลวงมีลูกศิษย์อาศัยอยู่จำนวนมาก พวกเขาเจริญรอยตามอาจารย์ทุกอย่าง

วันหนึ่งหลังจากสวดมนต์เช้าเสร็จบาทหลวงเรียกบรรดาลูกศิษย์มารวมกันและกล่าวว่า”ลูกๆ ทั้งหลายเราต้องช่วยบ้านเมืองของเรา ชาวบ้านลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่ออิสระภาพของตนเองได้ก็จริง แต่ผู้ปกครองประเทศ ทำให้พวกชาวบ้านเชื่อว่า ตัวเขามีอำนาจเกินกว่าที่จะมีใครหน้าไหนมาต่อกรได้  หากเราไม่ทำอะไรสักอย่าง ชาวบ้านจะกลายเป็นทาสกันหมด”
“ท่านว่าอย่างไรพวกเราก็ว่าเช่นนั้นขอรับ”ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกัน
“แม้ต้องแลกด้วยชีวิต”บาทหลวงถาม
“ชีวิตจะมีค่าอะไร ถ้าคนพวกนั้นช่วยเหลือพี่น้องประชาชนของตนได้แต่กลับไม่ทำ” ตัวแทนลูกศิษย์ทั้งหมดพูดขึ้น

“ณ วันฉลองวันเกิดของผู้ครองเมือง เป้นโอกาสเดียวในรอบปีที่ผู้ครองเมืองจะนั้งรถม้าแห่ไปรอบๆ เมือง มีทหารคัุมกัแนนหนา โนลัฟ เริ่มขบวนแห่ในตอนเช้า”
เจ้าพนักงานคอยสั่งให้ชาวบ้านคุกเขา่เคารพเมื่อรถม้าแล่นผ่านม

ท่ามกลางความประหลาดใจของทุกคนขณะที่รถม้าแล่นผ่านบ้านหลังหนึ่ง ชาวบ้านคนหนึ่งกลับยื่นนิ่งๆ ไม่ยอมคุกเข่า ทหารตรงเข้าไปจับเขาและพาไปพบผู้ครองเมืองทันที
“เจ้าไม่รู้หรือว่าต้องคุกเข่า”
“รู้ขอรับ”
“แต่ไม่ยอมทำ”
“ไม่ทำขอรับ”
“เจ้ารู้หรือไม่ว่าข้าสั่งประหารชีวิตเจ้าได้”
“ข้าหวังเช่นนั้นขอรับ” คำตอบนี้ทำให้ โนลัฟ ประหลาดใจ แต่เขามิได้ตระหนก
“ดี ถ้าเจ้าปรารถนาจะตายเช่นนี้ เพชฌฆาตจะจัดการหัวเจ้าตอนพลบค่ำ
"ขอบพระคุณขอรับ” ชายหนุ่มกล่าว
“มีเสียงหนึ่งตะโกนขึ้นในฝูงชน “ท่านเจ้าเมืองขอรับ ข้าขอพูดอะไรสักหน่อยได้ไหมขอรับ”
“ว่ามาซิ”
“อนุญาตให้ข้าได้ตายในวันนี้เถิด อย่าให้เป็นเขาเลยขอรับ
“เจ้ากำลังขอให้ข้าประหารชีวิตเจ้าแทนเขางั้นรึ”
เจ้าเมืองแปลกใจ ถามชายที่เพิ่งถูกตัดสินโทษว่า”นี่ญาติเจ้าหรือ”
“ข้าไม่เคยเห็นเขาเลยในชีวิตขอรับ ได้โปรดอย่าปล่อยให้เขาตายแทนข้า ข้าทำความผิดศรีษะของข้าก็ต้องได้รับโทษ”
“ไม่นะขอรับ ต้องศรีษะข้า”
“ของข้าขอรับ”
“ของข้า”
“เงียบ ! ”เจ้าเมืองตะโกน”ข้าจะให้ทั้งสองคน สมปรารถนาเอง เจ้าจะโดนตัดหัวทั้งคู่”
“ขอรับ แต่ในเมื่อข้าถูกตัดสินโทษก่อน ข้าควรมีสิทธิ์ตายก่อนนะขอรับ”
“ไม่ขอรับ ข้าสมควรได้รับสิทธิ์พิเศษนี้ เพราะข้าไม่เคยทำผิดต่อท่านเลย”
“พอเสียที นี้มันอะไรกัน”โนลัฟ ตวาด “หุบปากได้แล้ว ข้าจะให้สิทธพิเศษเจ้าทั้งสองด้วยการประหารชีวิตพร้อมกัน มีเพชฌฆาตมากกว่าหนึ่งคนในเมืองนี้”
เสียงหนึ่งดังมาจากฝูงชน
“เมื่อเป็นเช่นนี้ข้าขออยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าวด้วยนะขอรับ”
“ข้าด้วยนะขอรับ”
ผู้ครองเมืองงงงวยยิ่งนัก เขาไม่เข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรชึ้น
ถ้ามีอะไรมาทำให้เจ้าเมืองคนนี้อารมณ์เสียได้ นั้นก็คือ การไม่เข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น
ชายหนุ่มแข็งแรงกำยำห้าคนมาขอร้องให้เขาสั่งตัดหัว จะเป็นไปได้อย่างไรกัน
เขาหลับตาเพื่อไตรตรองเหตุการณ์
แล้วก็ตัดสินใจในไม่กี่วินาที เขาไม่อยากให้ประชาชนคิดว่าเขากำลังประม่า
เขาจะจัดหาเพชฌฆาตมาห้าคน
แต่เมื่อเขาลืมตาขึ้นก็เห็นว่า ผู้คนที่อยู่รายล้อมมิใช่เพียงห้าคนเท่านั้น
มีเสียงมากกว่าสิบ ร้องตะโกนโทษประหารชีวิต แล้วยังมีมือยกเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ
นี้มันมากไปสำหรับเจ้าเมืองผู้ทรงอำนาจ
“จงหยุดเดี่ยวนี้” เขาตะโกนสั่ง
“ยกเลิกคำสั่งทั้งหมด จนกว่าข้าจะตัดสินใจได้ว่าใครสมควรตายและตายเมื่อใด”
ท่ามกลางเสียงประท้วงของบรรดาของคนที่อยากตาย รถม้าก็กลับไปยังวัง
เมื่อถึงวัง โนลัฟ ก็ขังตัวเองอยู่ในห้องเพื่อครุ่นคิดเรื่องที่เกิดขึ้น
ทันใดนั้นเขาคิดอะไรบางอย่างออก
เขาสั่งให้ไปตามบาทหลวงมาพบ เพราะบาทหลวงน่าจะรู้เอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องบ้าๆ ที่เกิดขึ้น
ผู้ใต้บังคับบัญชารีบไปตามบาทหลวงมาพบเจ้าเมือง
“เหตุใดคนของท่านจึงแย่งกันให้ประหารชีวิต”
ชายชราผู้ทรงศีลนิ่งเงียบ
“ตอบมาเดี่นวนี้”
เงียบ
“ข้าสั่งให้ท่านตอบ”
“เงียบ”
“อย่าบังอาจมาท้าทายข้านะ ข้ามีวิธีที่ทำให้ท่านเปิดปาก รู้หรือไม่”
“เงียบ”
บาทหลวงถูกนำตัวไปยังห้องทรมาน และถูกทรมานอย่างหนักหลายชั่วโมง แต่เขาก็ไม่ยอมพูด
เจ้าเมืองสั่งให้ทหารไปตามลูกศิษญย์ของเขาที่สำนัก
เมื่อลูกศิษย์มาถึง เขาสั่งให้นำร่างอันสบักสบอมของบาทหลวงออกมาให้บรรดาลูกศิษย์ดู
แล้วถามว่า “ทำไมพวกเจ้าจึงอยากถูกประหารชีวิตกันนัก”
บาทหลวงชายชราผู้ทรงศีลเปล่งเสียงที่พอจะมีออกมาว่า “ข้าขอสั่งพวกเจ้าไม่ให้พูด”
เจ้าเมืองรู้ว่า การขู่ประหารชีวิตนั้นไม่ได้ผลสำหรับคนพวกนี้ เขาจึงพูดว่า
“ข้าจะทำให้อาจารย์ของพวกเจ้าทุกขฺทรมานแสนสาหัสเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะทนได้ แต่พวกเจ้าจะต้องทนดู ถ้ารักชายคนนี้จริงจงบอกความลับมา แล้วข้าจะปล่อยทุกคนไป”
“ได้ขอรับ” ลูกศิษย์คนหนึ่งเอยออกมา
“เงียบเดี่ยวนี้” ชายชราผู้ทรงศีลกล่าว
“จงพูดต่อ” โนลัฟสั่ง
“ถ้าใครโดนประหารชีวิตในวันนี้……” ลูกศิษย์พูด
“หุบปากของเจ้าเดียวนี้” ชายชราผู้ทรงศีลสั่ง
แต่ผูัครองเมืองผยักหน้าสั่ง ชายชราก็โดนทุบลงไปนอนหมดสติ
“จงพูดต่อ” เขาสั่ง
“คนแรกที่โดนประหารชีวิตหลังดวงอาทิตย์ตกในวันนี้ จะเป็นอมตะขอรับ”
“อทตะงั้นรึ เจ้าโกหก ! “ โนลัฟกล่าว
“มีบัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ขอรับ” ชายหนุ่มกล่าว เขาหยิบหนังสือที่พกใส่ย่ามออกมา และเริ่มอ่านวรรคดังกล่าวเพื่อยืนยัน
“อมตะอย่างนั้นรึ” เจ้าศักดินาผู้ครองเมืองคิด
สิ่งเดียาที่กลัวคือควาตาย และนี้เป้นวิธีเดียวที่จะเอาชนะได้”ความเป็นอมตะ”เขาครุฯคิด
เจ้าเมืองไม่ลังเลแม้แต่น้อย เขาขอกระดาษและปากกา ลงมือเขียนคำสั่งประหารชีวิตตนเองทันที
เขาไล่ทุกตนออกจากวังหมด เมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน โนลัฟ ก็ถูกประหารชีวิตด้วยคำสั่งตัวเอง
เมื่อนั่นประชาชนก็เป็นอิสระจากผู้ครองเมืองผู้กดขี่ข่มเหง พวกเขาลุกขึ้นสู้เพื่อเพื่ออิสระภาพของตน และไม่กี่เดือนถ้ดมาก็เป็นอิสระ
ไม่มีใครเอ่ยถึงเจ้าศักดินาอีกเลย นอกจากในคืนประหารนั้น ขณะลูกศิษช่วยกันรัษาบาดแผลของบาดหลวง พวกเขาได้รับพรจากอาจารย์ผู้นี้อันเนื่องแต่ความกล้าที่เอาศรีษะของตนเข้าไปเสี่ยง และยังได้รับคำชื่นชมด้วยว่า พวกเขาแสดงได้สมบทบาด
การสนทนาของคนสองคนได้เริ่มขึ้นต่อ
  “คุณคิดว่า ทำไม่เจ้าศักดินาจึงหลงเชื่อคำโกหกประเภทนี้ได้ ทำไม่จึงยอมสังหารชีวิตตนเอง ด้วยเหตุเพียงศัตรูของเขาเล่าให้ฟัง เหตุจึงตกหลุมพรางบาทหลวงได้ คำตอบมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้นคือ….เพราะเขาอยากจะเชื่อ เขาอยากจะคิดว่ามันเป็นเรื่องจริง และสิ่งนี้นะคุณ เป็นความจริงอย่างหนึ่ง ซึ่งมีพลังขับเคลื่อนมหาศาลเท่าที่ผมเห็นมาตลอดชีวิต เราอาจเชื่อเรื่องโกหกด้วยสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่แน่ๆ คือเราเชื่อเพราะเราอยากจะเชื่อ…..ทำไม่คุณถึงหมกหมุ่นเรื่องที่มีคนโกหกคุณด้วย ….คุณหมกหมุ่ฯเพราะคุณอยากจะเชื่อว่าสิ่งที่เขาบอกเป็นเรื่องจริง”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รูว่า “ไม่มีใครมีโอกาสที่จะโดนหลอกมากไปกว่าคนที่เจอเรื่องโดหกซึ่งตรงกับสิ่งที่เขาปรารถนาพอดี”

เก็บความจากหนังสือ จะเล่าให้คุณฟัง
ฆอร์เฆ่ บูกาย เขียน
เพ็ญพิสาข์ ศรีวรนารถ แปลจากภาษาสเปน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ

ส.ค.ศ.๒๕๖๗

                                      https://www.youtube.com/playlist?list=PLc48HzMCk2P72s5voNYW-U00myYCC3Bab