ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

Qigong w231

Qigong w231

เชิญชวนเพื่อนมิตรทั้งหนุ่มสาวเฒ่าแก่ทุกท่านมาร่วมออกกำลังกายด้วยการรำชี่กง เป็นภูมิปัญญาตะวันออก(จีน)มาเป็นเวลาร่วมพันปี ผลดีของการรำชี่กงนอกจากทำให้สุขภาพแข็งแรงแล้วยังเป็นการเจริญสติช่วยให้มีสมาธิและยังช่วยรักษาโรคบางโรคได้ด้วยคล้ายๆกับการฝังเข็ม(แต่ในช่วงที่ร่างกายเจ็บป่วยไม่แข็งแรงไม่ควรรำชี่กง).....ตอนแรกตั้งใจจะถ่ายทอดสดการรำชี่กงซึ่งผมกับคุณสมพรและเพื่อนบ้านได้รำเป็นประจำทุกวันโดยเฉพาะคุณสมพรเป็นครูฝึกรำชี่กงแบบอาสาสสมัคให้กับชมรมชี่กงฯ มาร่วมสิบปี แต่เห็นว่ามันมีเทคนิคที่ยุ่งยากอยู่ ก็เลยใช้คลิปที่ถ่ายทำไว้มาตัดต่อแล้วนำมาโพสต์จะง่ายกว่า…..การรำชี่กงต้องรำติดต่อกันอย่างน้อย ๔๕ นาทีจึงจะได้ผล ในคลิปนี้ระยะเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง สามารถเปิดคลิปแล้วทำตามได้ คล้ายๆ กับสอนรำจริงสดๆ ….จะนำคลิปการรำชี่กงที่ตัดต่อสลับชุดแบบไม่ซ้ำกันแบบเดียวกับการรำสดมาโพสต์เป็นประจำอาจจะทุกวันเพื่อนมิตรสามารถเลือกเวลารำได้ตามความสดวก….ด้วยจิตรคารวะ https://youtu.be/sUyknK6vovE

พระภิกษุกับเงิน(ตอนที่๒)

  พระภิกษุกับเงิน พระรับเงินไม่อาบัติ(อาบัติ คือ การตกไป ตกไปจากความดี เป็นโทษ ที่เกิดเพราะความละเมิดพระวินัย)   พระรับเงิน หรือ แม้ยินดีในเงินที่เขาเก็บมาไว้เพื่อตนต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เป็นโทษ พระพุทธเจ้าและบัณฑิตทั้งหลายผู้เข้าใจพระธรรม ย่อมตติเตียน ส่วนฝ่ายภิกษุอลัชชี(ผู้ไม่ละอาย) และ คฤหัสถ์ผู้ไม่ได้ศึกษาพระธรรม หรือ เข้าใจพระธรรมผิด ย่อมไม่ติเตียนการรับเงินของพระภิกษุ คฤหัสถ์ไม่ควรถวายเงินพระและใบปวารณา แต่ ให้เงินกับไวยาวัจกรของวัดที่ดีมีคุณธรรม ดูแลเงินนั้น ไวยาวัจกร คือ คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธา เสียสละเพื่อทำประโยชน์ต่อพระภิกษุตามพระธรรมวินัย และ ภิกษุมีเหตุจำเป็นตามธรรมวินัย จึงขอปัจจัยที่เหมาะสม ที่ไม่ใช่เงินทอง กับ ไว โดยยาวัจกร เพื่อหาสิ่งที่เหมาะสมให้กับพระภิกษุนั้น โดยคฤหัสถ์ทำการซื้อมาให้ มี บาตร จีวร เป็นต้น ยุคสมัยเปลี่ยนไป พระภิกษุรับเงินทองได้ สัจจะ ความจริงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเลย อกุศล ความชั่วเป็นอกุศลเป็นความชั่วไม่เปลี่ยนแปลง กุศล ความดีเป็นกุศลเป็นความดี ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ ไม่ว่าเกิดกับใคร และ ช่วงเวลาไหน แม้ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต   โล

พระภิกษุกับเงิน

พระภิกษุกับเงิน เงิน คือ สิ่งที่สังคมสมมติขึ้นมาสำหรับแลกเปลี่ยนเพื่อได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ พระวินัย เป็น พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงเกื้อกูลกับพระภิกษุที่เป็นพระธรรมที่ทรงแสดงบัญญัติสิกขาบท ข้อห้าม และ ข้อควรประพฤติ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญ ให้กุศลที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น และ ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญ และอาสวกิเลสที่ไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และ ที่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ อันเป็นรากฐานสำคัญให้กุศลอื่นๆเจริญจนถึงการดับกิเลส อันเป็นพระวินัย เป็นรากฐานในการขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ภิกษุที่ดี ที่เป็น ลัชชี(ผู้มีความละอาย) ย่อมรักษาพระวินัยไว้ พระวินัยบัญญัติข้อภิกษุ เกี่ยวกับเงินทอง ที่ภิกษุทุกรูปไม่ว่ารูปใดหรืออยู่วัดใด วัดในเมือง วัดชนบท ต้องประพฤติปฏิบัติตามเมื่อบวชเป็นบรรพชิต พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๐ พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใด รับ ก็ดี ให้รับ ก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สวัสดีวันเกิด

วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ ตื่นเช้าสิ่งแรกที่ต้องทบทวนอยู่ตลอดเวลาคือการเตรียมความคิดให้พร้อมที่จะตาย และให้รำลึกว่าเราเกิดมาได้ทำสิ่งดีและไม่ดีอะไรไปบ้าง ชีวิตไม่มีอะไรมากแค่มีสติอยู่ทั่วพร้อมด้วย “ศีล สมาธิ ปัญญา “ นี้คือสูงสุดของชีวิตแล้วหากปรารถนา…..สวัสดีวันเกิด การจะเข้าใจขันธ์ ๕ ขอให้พิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้ “ ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายฟัง ขัน ๕ เป็นไฉน? รูป..เวทนา.สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้เรียกว่าขันธ์ ๕.........รูป..เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะ(ความกระสันอยาก) ในรูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร...วิญญาณ... นั้นคืออุปาทานใน(สิ่ง)นั้น ๆ” *สํ.ข.๑๗/๓๐๙/๒๐๒ หลักขันธ์ ๕แสดงถึงความเป็นอนัตตาให้เห็นว่าชีวิตเป็นการประชุมเข้าของส่วนประกอบต่าง ๆ หน่วยรวมของส่วนประกอบเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ตัวตน ส่วนประกอบแต่ละอย่าง นั้นเองก็ไม่ใช่ตัวตน และสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากจากสิ่งเหล่านี้ก็ไม่มี เมื่อมองเห็