ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระภิกษุกับเงิน(ตอนที่๒)

 พระภิกษุกับเงิน

พระรับเงินไม่อาบัติ(อาบัติ คือ การตกไป ตกไปจากความดี เป็นโทษ ที่เกิดเพราะความละเมิดพระวินัย)

  พระรับเงิน หรือ แม้ยินดีในเงินที่เขาเก็บมาไว้เพื่อตนต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เป็นโทษ พระพุทธเจ้าและบัณฑิตทั้งหลายผู้เข้าใจพระธรรม ย่อมตติเตียน ส่วนฝ่ายภิกษุอลัชชี(ผู้ไม่ละอาย) และ คฤหัสถ์ผู้ไม่ได้ศึกษาพระธรรม หรือ เข้าใจพระธรรมผิด ย่อมไม่ติเตียนการรับเงินของพระภิกษุ
คฤหัสถ์ไม่ควรถวายเงินพระและใบปวารณา แต่ ให้เงินกับไวยาวัจกรของวัดที่ดีมีคุณธรรม ดูแลเงินนั้น ไวยาวัจกร คือ คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธา เสียสละเพื่อทำประโยชน์ต่อพระภิกษุตามพระธรรมวินัย และ ภิกษุมีเหตุจำเป็นตามธรรมวินัย จึงขอปัจจัยที่เหมาะสม ที่ไม่ใช่เงินทอง กับ ไว โดยยาวัจกร เพื่อหาสิ่งที่เหมาะสมให้กับพระภิกษุนั้น โดยคฤหัสถ์ทำการซื้อมาให้ มี บาตร จีวร เป็นต้น

ยุคสมัยเปลี่ยนไป พระภิกษุรับเงินทองได้

สัจจะ ความจริงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเลย อกุศล ความชั่วเป็นอกุศลเป็นความชั่วไม่เปลี่ยนแปลง กุศล ความดีเป็นกุศลเป็นความดี ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ ไม่ว่าเกิดกับใคร และ ช่วงเวลาไหน แม้ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต
  โลกเปลี่ยนแปลงไปตาม สมมติเรื่องราว ที่เป็นบัญญัติ ไม่ใช่สัจจะ แต่สภาพธรรมที่มีจริง คือ กุศล อกุศล ไม่เปลี่ยนไปตามโลก เรื่องราวเลย สิ่งใดมีโทษ พระองค์ตรัสว่ามีโทษ ความมีโทษที่ทำให้อกุศลเจริญ ก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แม้แต่การรับและยินดีเงินทองนั้น ของพระภิกษุ พระพุทธองค์ก็ตรัสว่ามีโทษ และไม่สมควรกับพระภิกษุ ไม่ว่า กาลเวลาไหน อดีต ปัจจุบันและอนาคต เพราะก็ต้องเข้าใจความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงว่า บวช บรรพชา คือ การเว้นทั่วจากกิเลส และเป็นการสละอาคาร บ้านเรือน ไม่ใช่เพศคฤหัสถ์แล้ว ดังนั้นจะทำดังเช่น คฤหัสถ์ที่มีการใช้จ่ายเงินและทอง รับเงินทองไม่ได้เลย แต่ถ้าจะใช้เงินทอง หรือ ปฏิบัตตนดังเช่น คฤหัสถ์ก็ต้องกลับมาเป็นเพศคฤหัสถ์ดังเดิมสละเพศบรรพชิต ดังนั้นพระพุทธเจ้าทรงมีพระปัญญาสูงสุด พระองค์ทรงรู้อดีต ปัจจุบัน อนาคต ถ้าบอกว่าเปลี่ยนแปลงได้ ก็กล่าวตู่พระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า เพราะเราไม่มีปัญญา เป็นเพียงแค่ปุถุชน จะกล่าวเปลี่ยนคำของพระพุทธเจ้าไม่สมควรเลย เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่ารับเงินทองได้ เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ไม่ได้แย้งกับใคร ก็แย้งกับพระพุทธเจ้าเอง ดังนั้นพุทธบริษัทควรมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีความคิดตนเองเป็นที่พึ่ง และ ที่วงการสงฆ์วุ่นวายมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เพราะ พระรับและยินดีในเงินและทอง และ คฤหัสถ์ ไม่รู้พระวินัย

คฤหัสถ์ถวายเงินพระภิกษุได้บุญ

คฤหัสถ์ถวายเงินพระไม่ได้บุญ เพราะความไม่รู้และพระภิกษุต้องอาบัติเป็นโทษกับตัวท่าน
การให้  ไม่จำเป็นจะต้องเป็นกุศลธรรม เป็นความดีทุกครั้ง การให้เพราะเลี้ยงสัตว์เอาไว้ขาย ให้เพราะติดสินบน เหล่านี้ แม้เป็นการให้ แต่ ก็ไม่ใช่ทานของอสัตบุรุษ ไม่ใช่กุศลธรรม เช่นเดียวกับการให้เงินและทองกับพระภิกษุด้วยความไม่รู้ของผู้ให้ ผิดพระวินัย พระภิกษุต้องโทษ จึงไม่ใช่ทานของสัตบุรุษ ไม่ใช่กุศลธรรม
ดั่งในกฎหมายตรา 3 ดวง ที่มีขึ้นในรัชกาลที่ 1 ที่ปราบพวกพระอลัชชี ตั้งขึ้นมาจากผู้มีความเข้าใจพระธรรม ก็แสดงความจริงว่า ฆราวาสผู้ไม่รู้ไม่มีปัญญา ถวายเงินพระ ไม่ได้บุญ ทำลายพระพุทธศาสนา ....ข้อความบางตอนดังนี้
ฝ่ายฆราวาสก็ปราศจากปัญญา มิได้รู้ว่า ทำทานเช่นนี้จะเกิดผลน้อยมากแก่คนหามิได้ มักพอใจทำทานแก่ภิกษุสามเณรอันผสมประสานทำการของตนจึ่งทำทาน บางคนย่อมมักง่ายถวายเงินทองของอันเป็นอกัปปิยะมิควรแก่สมณะ สมณะก็มีใจโลภสะสมทรัพย์เลี้ยงชีวิต ผิดพระพุทธบัญญัติฉะนี้ ได้ชื่อว่าฆราวาสหมู่นั้นให้กำลังแก่ภิกษุโจรอันปล้นพระศาสนา ทานนั้นหาผลมิได้ ชื่อว่าทำลายพระศาสนา..."
ชาวพุทธควรพิจารณาศึกษาพระธรรม เข้าใจความจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าการให้เงินและทองพระภิกษุ พระภิกษุต้องอาบัติ เป็นโทษกับท่าน และ ทำลายพระพุทธศาสนา และเวลานี้ที่วงการสงฆ์วุ่นวาย ถูกฟ้องร้องเรื่องเงินทองและทำผิดประการต่างๆ ก็เพราะ การรับเงินทองของพระภิกษุ ทุจริตเรื่องเงินทองนั่นเอง ควรที่ชาวพุทธจะรู้ว่าพระที่่ดี คือ พระที่ประพฤติตามพระวินัย ไม่รับเงินทอง และ คฤหัสถ์ที่ดี คือ ถวายของที่เหมาะสมกับพระภิกษุ ไม่ถวายเงินทอง ก็จะเป็นการช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กำจัดภิกษุอลัชชี(ผู้ไม่มีความละอาย)ออกไป ภิกษุรับเงินและทอง คือ ภิกษุมิจฉาชีพ อลัชชี ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง

วัดมีค่าใช้จ่าย ค่าน้ำค่าไฟ ในสมัยปัจจุบัน ไม่เหมือนสมัยก่อน ไม่มีค่าใช้จ่าย พระจึงจำเป็นจะต้องรับเงิน ใช้เงิน

เป็นความจริงที่ว่าปัจจุบันวัดต้องเสียค่าน้ำค่าไฟ แต่ มีวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมที่จะไม่ทำให้พระท่านอาบัติ และ พระที่ดี ท่านก็จะไม่รับเงินโดยประการทั้งปวง แต่ใช้วิธีที่เหมาะสม
ค่าน้ำค่าไฟ ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินในวัด คฤหัสถ์ที่ดีรับเงินดูแลเงิน
เรื่องค่าน้ำค่าไฟในวัด แม้ในในอดีตและปัจจุบันก็มีบางวัดประพฤติตามพระวินัย ที่ให้คฤหัสถ์เป็นคนรับเงินของวัด ดูแลเงิน จัดการเงินและจ่ายค่าน้ำค่าไฟให้ โดยที่พระไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินและทองเลย ท่านไม่ต้องอาบัติ แต่เลือกคฤหัสถ์ที่ดี มีคุณธรรมเป็นไวยาวัจกรในการจัดการดูแลเงิน และพระภิกษุก็มีหน้าที่ศึกษาพระธรรม(คันถธุระ) และ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม(วิปัสสนาธุระ) เพราะบวชมาจุดประสงค์คือ ละอาคารบ้านเรือน ไม่ประพฤติตนดั่งเช่นคฤหัสถ์และบวชเพื่อถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยส่วนเดียว และ ไม่ใช่ข้ออ้างว่าคฤหัสถ์จะทุจริตเงินวัด จึงจำเป็นที่พระภิกษุต้องรับเงินดูแลเงินเอง ทำทุจริต ผิดพระวินัยเสียเอง เพราะ พระรับเงิน ยินดีในเงินทอง เป็นทุจริตแล้วตามพระวินัยบัญญัติ
คฤหัสถ์ไม่ควรถวายเงินพระและใบปวารณา แต่ ให้เงินกับไวยาวัจกรของวัด ที่ดีมีคุณธรรม ดูแลเงินนั้น และ ภิกษุมีเหตุจำเป็นตามธรรมวินัย จึงขอปัจจัยที่เหมาะสม ที่ไม่ใช่เงินทอง กับ ไวยาวัจกรเพื่อหาสิ่งที่เหมาะสมให้กับพระภิกษุนั้น โดยคฤหัสถ์ทำการซื้อมาให้ มี บาตร จีวร เป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ