ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องของชีวิต....ตอนที่ ๓


เรื่องของชีวิต....ตอนที่ ๓

ตอนผมเด็กๆผมต้องช่วยพ่อเลี้ยงวัว วัวที่เลี้ยงจะมีทั้งวัวที่ใช้แรงงานคือใช้ไถนากับวัวหนุ่มที่เลี้ยงเป็นวัวชน วัวชนจะเลี้ยงเป็นพิเศษ อาหารจะให้อาหารดีๆ  ให้กินหญ้าอ่อนๆ นอนในมุ้ง ช่วงเช้าจะต้องจูงเดินออกกำลังให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรงและทุกวันจะต้องอาบน้ำถูตัว ส่วนวัวไถนาก็เลี้ยงไปตามที่เคยเลี้ยงกันมาแต่ดั้งเดิมคือให้กินฟางแห้งหรือปล่อยให้เล็มหญ้ากินเอง ตอนเย็นก็ต้อนเข้าคอก คอกวัวจะทำด้วยไม้ที่แข็งแรงพอสมควร แต่ประตูคอกวัวจะต้องแข็งแรงมากหน่อยโดยใช้ไม้ที่แข็งแรงสอดเข้าในช่องสองข้างขอบประตูประมาน
สามหรือสี่ขั้นในช่องสอดไม้จะตอกด้วยลิ้มไม้ให้แน่นหนา เวลาจะเปิดประตูจะต้องตอกลิ้มออก การปิดประตูคอกวัวโดยการตอกลิ้มอย่างแข็งแรงนี้ไม่ใช้จะกลัวว่าวัวมันจะเลื่อนไม้ประตูแล้วหนีออกไป แต่เขาป้องกันโจรลักวัวเพราะว่าถ้าโจรจะเข้าไปลักวัวจะต้องตอกลิ้มประตูรั้วทำให้เจ้าของวัวได้ยินตื่นขึ้นมาทัน….ตอนเด็กๆ การได้ยินเสียงตีเกราะตอนดึกๆจะมีเป็นประจำเพื่อเป็นสัญญาณให้เพื่อนบ้านรู้ว่ามีเหตุร้ายเช่นโจรเข้าปล้นบ้านหรือโจรลักวัวให้คนที่แข็งแรงไปรวมตัวกันเพื่อติดตามโจร บางครั้งต้องสกดรอยติดตามโจรเป็นวันๆ หรือหลายๆวัน จนได้เบาะแสหรือไปเจอของกลางก็จะส่งคนไปเจรจา ขึ้นอยู่กับบารมีของฝ่ายไหนเหนือกว่ากัน บางครั้งอาจต่อลองจ่ายค่าไถ่กันตามที่เจรจาตกลงกัน บางครั้งอาจได้ของกลางหรือทรัพย์คืนโดยไม่ถือสากัน แต่ที่ร้ายแรงที่สุดทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ก็ประกาศสงครามกัน อย่างเบาก็ไปลักวัวหรือไปปล้นบ้านอีกฝ่ายเป็นการตอบแทน  ที่ร้ายแรงคือประกาศล้างแค้นกันด้วยชีวิตบางครั้งจากรุ่นสู่รุนสืบทอดกันอย่างไม่สิ้นสุด  มีอยู่ครั้งหนึ่งมีโจรลักวัวต่างถิ่นมาลักวัวของปู่ไปตามสืบจนรู้ ส่งคนไปเจรจา ไม่สามารถตกลงกันได้ อาจ้อนน้องชายของพ่อคนหนึ่งจึงตัดสินใจเป็นโจรไปลักวัวของอีกฝ่ายลักกันไปลักกันมาต่างฝ่ายต่างฆ่ากันตายไปหลายศพ สุดท้ายอาจ้อนของผมถูกยิงตายที่ชายป่าใกล้บ้าน...กะติกาเช่นนี้เป็นติกาที่ใช้กันในสมัยก่อน…..การเลี้ยงวัวสมัยนี้เขาไม่เลี้ยงวัวไว้ไถนากันอีกแล้วแต่ที่น่าสนใจตรงทีเขาควบคุมวัวให้อยู่ในบริเวณที่กำหนดได้อย่างไร เท่าที่สังเกตเขาใช้แค่เส้นลวดขึงรอบบริเวณที่กำหนดให้วัวอยู่แล้วใช้ถุงพลาสติกผูกห้อยเป็นธงราว ไม่เห็นวัวตัวไหนหนีออกนอกบริเวณได้เลย ทำไมมันจึงเชื่องอย่างนี้ ได้ถามคนเลี้ยงวัวว่าเขาทำอย่างไรหรือว่าเขาปล่อยกระแสไฟฟ้าไปในเส้นลวด คนเลี้ยงวัวบอกว่าไม่ได้ปล่อยกระแสไฟฟ้า เขาจับเส้นลวดให้ดูแล้วบอกให้ลองจับดู เมื่อลองจับดูก็ไมมีความรู้สึกว่ามีกระแสไฟฟ้า มันเป็นเส้นลวดธรรมดา คนเลี้ยงวัวเล่าให้ฟังว่าเขาฝึกวัวจนเชื่อง โดยในตอนแรกเขาจะปล่อยกระไฟฟ้าเมื่อวัวเข้าใกล้หรือไปแตะเส้นลวดก็จะโดนไฟฟ้าดูด เมื่อวัวได้รับบทเรียนว่าไอ้เส้นลวดนี้มันเป็นเส้นลวดที่อันตรายเข้าใกล้มันไม่ได้จึงยอมรับและปรงใจในความฉลากว่าของมนุษย์…..ก็แบบนี้แหละมนุษย์เราเองก็ถูกฝึกให้เชื่องอยู่ในกรอบแห่งความเชื่อที่สั่งสอนถ่ายทอดกันมาอย่างผิดๆในเรื่องที่งมงายเป็นเดียรฉานวิชาสืบต่อกันมาโดยไม่มีใครกล้าคิดออกนอกกรอบเส้นลวดแห่งความโง่ที่เป็นอวิชชาการโฆษนาชวนเชื่อของทุนนิยมสามานย์และการเมืองน้ำเน่าคลุกเคล้าด้วยกิเลสตันหาที่จะนำพาให้สังคมล้มจม……......อย่างไรก็ตามชีวิตยังดำเนินต่อไปในตอนที่ ๔

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ