ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องของชีวิต....ตอนที่ ๖


เรื่องของชีวิต....ตอนที่ ๖

ช่วงที่ผมเรียนอยู่ในระดับ ปวส.อยู่ที่กรุงเทพ ผมอาศัยเป็นศิษย์วัดอยู่แถวฝั่งธนบุรี วัดนี้มีอะไรๆพร้อมสมบูรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับพระ ผมอยู่กับพระที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ซึ่งจะเป็นพระวัยหนุ่ม ก็น่าเลื่อมใสทั้งด้านวินัยและศีลของสงฆ์ ก็มีอยู่บ้างที่ดูแล้วศีลและวินัยน่าจะขาดตกไปบ้างเล็กๆน้อยๆแต่พวกเราลูกศิษย์พอรับได้ จะมีพระอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นพระที่อายุมากหน่อยที่จำพรรษาในวัดนี้มานาน พระกลุ่มนี้เป็นพระรดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ พระหมอดู พระทำเครื่องรางของขลัง ที่น่าสนใจมีพระหมอดูอยู่องค์หนึ่งอายุไม่น่าจะเกิน ๕๐ ซึ่งสนิทกับผมมาก ผมมักจะไปนั่งคุยกับท่านบ่อยๆไม่ใช่ไปดูหมอเพราะชีวิตผมไม่เคยดูหมอดูเลย ที่น่าสนใจคือจะมีผู้หญิงสาวๆมาดูหมอกับท่านมาก บางรายมาปรึกษาปัญหาชีวิต  มีสาวอยู่คนหนึ่งหน้าตาถือว่าสวย ดูกิริยามารยาทก็เรียบร้อยดีชอบมาหาพระหมอดูบ่อย ผมเห็นเธอแล้วติดใจในเสน่ห์เธอ เริ่มชะม้ายสายตามองเธอบ่อยๆ ดูท่าทางเธอก็ตอบรับ จนกระทั้งได้พูดคุยกันหลายครั้งเมือเจอกันที่หน้าวัด ผมเคยติดตามสะกดลอยเธอไปหลายครั้งว่าบ้านเธออยู่แถวไหนโดยไม่ให้เธอรู้ตัว ปรากฏว่าเธออยู่ไม่ไกลจากวัดมากนัก จะว่าผมปักใจรักเธอเข้าแล้วก็ได้.....เนื่องจากผมใกล้จะเรียนจบปีสุดท้ายแล้วการเรียนค่อนข้างหนักผมจึงมุ่งรีบเรียนให้จบๆ ช่วงหลังจึงห่างๆเธอไป เมื่อผมเรียนจบก็ได้งานจึงออกไปเช่าบ้าน ทำงานก็หนักเพราะผมทำงานด้านช่างเป็นกรรมกร จึงไม่ได้กลับมาเยี่ยมวัด จากไปเกือบสองปีจึงหาโอกาสกลับมาเยี่ยมวัด จิตใจก็ยังคิดถึงสาวสวยคนนั้นอยู่ จึงตั้งใจจะไปหาเธอที่บ้าน...หัวใจแป้วหล่นลงไปอยู่ตาตุ่มเมื่อเห็นเธออุ้มทารกน้อยอยู่ จึงหันหลังกลับทันที่ ได้สอบถามพรรคพวกที่รูจักกันใกล้ๆวัดจึงทราบว่าพระหมอดูท่านให้ความเมตตาอุปการะเลี้ยงดูเธอตั้งแต่เรายังอยู่ที่วัด....พระท่านบินทบาตรเธอไปเสียแล้วถือว่าเราทำบุญไปก็แล้วกัน..............ตอนที่เราอยู่วัดเราได้ทราบเรื่องภายในวัดมากมายที่มันลึกซึ้งกว่าเรื่องพระหมอดูก็มี แต่เรายังไม่คิดเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตลอดเวลาที่เรียนหนังสือผมสนใจเรียนพุทธศาสนาในวันอาทิตย์ตลอดมา เราเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ถนนพระอาทิตย์ สมัยนั้นหม่อมเจ้า พูนพิสมัย ดิสกุล เป็นองค์นายก ท่านมีความเมตตาต่อพวกเรานักเรียนพุทธศาสนาทุกคน ที่นี้มีอาจารย์ซึ่งเป็นฆราวาสท่านหนึ่งสอนวิชาอภิธรรม   เมื่อก่อนเราเรียนวิชาพระพุทธศาสนาก็ในเรื่องหลักธรรมในชีวิตประจำวันและพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก แต่ในพระอภิธรรมจะเป็นหลักแก่นแท้ในพระพุทธศาสนา  ซึ่งคล้ายๆกับหลักวิชาทางปรัชญาแต่พระอภิธรรมในพระพุทธศาสนาไม่ใช้ปรัชญา เป็นหลักแห่งความจริงแท้สูงสุดที่เป็นปรมัตถธรรม ผมเริ่มสนใจในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้นมา และตอนที่ผมอยู่วัดผมมีเพื่อนคนหนึ่งเขาเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรามักจะมาคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ่อยๆ เขาเล่าให้ผมฟังถึงสิ่งที่เขาเรียนในวิชาปรัชญาทางการเมือง สิ่งที่ผมสนใจคือ เขาเล่าให้ฟังถึงปรัชญาแนวมาร์กซิส ผมให้เขายืมหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีมาร์กซิสจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยฯ ผมเริ่มศึกษาแก่นแท้พระพุทธศาสนาไปพร้อมกับกับศึกษาทฤษฎีมาร์กซิสไปพร้อมๆกัน แต่ยุคนั้นมีคนสนใจแนวความคิดมาร์กซิสค่อนข้างน้อยจึงไม่ค่อยมีหนังสือที่เป็นภาษาไทยมากนักจะมีก็เป็นภาษาอังกฤษผมจึงศึกษาไปอย่างงูๆปลาๆ.....เมื่อเรียนจบแล้วออกมาทำงานอยู่หลายปีจนผมมาสอบเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาใหม่ๆ กระแสประชาธิปไตยและกระแสสังคมนิยมกำลังเบ่งบาน จึงเป็นอาหารทางสมองให้ผมอย่างเต็มอิ่ม ผมจะสะสมหนังสือแนวก้าวหน้าที่ออกใหม่ๆในช่วงนั้นอย่างเต็มที่เพราะพอจะมีเงินอยู่บ้างไม่เหมือนตอนที่เรียน ปวส.ที่ต้องอาศัยข้าวก้นบาตรพระ ช่วงนี้ผมมีเวลาได้เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนนักศึกษาร่วมสถาบันและเพื่อนต่างสถาบันอย่างมากมาย ทุกครั้งที่มีการประชุมอภิปรายเรื่องทางสังคมและการต่อสู้ของประชาชนที่หอใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผมจะเข้าร่วมฟังไม่เคยขาด.....นี้ยังไม่รวมกิจกรรมที่เป็นเรื่องหนักๆและมีที่มันเสี่ยงกับชีวิตก็มีซึ่งผมจะเล่าให้ฟังในตอนต่อๆไป....อย่างไรก็ตามชีวิตยังดำเนินต่อไปในตอนที่ ๗

.



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ