ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องของชีวิต....ตอนที่ ๘


เรื่องของชีวิต....ตอนที่

ผมเป็นครูอยู่ที่สตูลประมานสองสามปี เมืองสตูลเป็นเมืองเล็กๆที่ติดทะเลและเป็นเมืองชายแดนติดกับมาเลเซีย จังหวัดสตูลเป็นหนึ่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีมากถึงร้อยละ 67.8 ส่วนใหญ่มีเชื้อสายมลายู  ชาวสตูลที่มีเชื้อสายมลายูแต่เดิมใช้ภาษามลายูเกดะห์ ในการสื่อสาร แต่ในช่วงระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งร้อยปีชาวสตูลก็ลืมภาษามลายูถิ่นของตน อย่างไรก็ตามอิทธิพลทางด้านภาษามลายูถิ่นในจังหวัดสตูลนั้นยังมีให้เห็นทั่วไป เช่น เกาะตะรุเตา (มาจากคำว่า ตะโละเตา แปลว่า อ่าวเก่าแก่), อ่าวพันเตมะละกา (แปลว่า ชายหาดที่มีชาวมะละกา)อุทยานแห่งชาติทะเลบัน (มาจากคำว่า ลาอุตเรอบัน แปลว่า ทะเลยุบ) เป็นต้น แต่หลายพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อให้เป็นภาษาไทยไป เช่น อำเภอสุไหงอุเป (มีความหมายว่า คลองกาบหมาก) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอทุ่งหว้า, บ้านปาดังกะจิ เปลี่ยนเป็น บ้านทุ่งนุ้ย, บ้านสุไหงกอแระ เปลี่ยนเป็น บ้านคลองขุด  แม้ว่าในอดีตสตูลจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของสุลต่านแห่งไทรบุรี แต่ก็มีความสัมพันธ์อันดีกับกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ รวมไปถึงเหตุผลด้านภูมิศาสตร์สตูลจึงนิยมติดต่อกับสงขลามากกว่าไทรบุรี ทำให้ได้รับอิทธิพลทางประเพณีและวิถีชีวิตอย่างสูงจากสงขลา ชาวไทยเชื้อสายมลายูมุสลิมได้แต่งงานข้ามกันกับชาวไทยพุทธโดยไม่มีความตึงเครียดทางศาสนา ทำให้เกิดกลุ่มสังคมที่เรียกว่า ซัมซัม (มลายูSamsam) ซึ่งในภาษามลายูแปลว่า ลูกครึ่ง ซัมซัมส่วนใหญ่ก็มิได้นับถือศาสนาอิสลามเสมอไป จังหวัดสตูลไม่เหมือนจังหวัดมุสลิมอื่นในไทย เนื่องจากไม่มีระวัติศาสตร์การเผชิญหน้ากับศูนย์กลางการปกครองในกรุงเทพมหานครหรือความตึงเครียดระหว่างชาวไทยพุทธ ซึ่งเป็นนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย
      
  ก่อนที่ผมจะย้ายไปเป็นครูสอนในอีกจังหวัดหนึ่งซึ่งเป็น ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นกัน แต่ในช่วงนั้นปัญหาการก่อการร้ายแทบจะไม่มีบ้านเมืองยังสงบดี ผมได้แต่งงานกับสาวลูกครึ่งซัมซัม (มลายูSamsam) ผมได้พบรักกับเธออย่างไรเหรอ....มันเป็นเรื่องบังเอิญโดยแท้ ในวันลอยกระทงในเมืองสตูล ผมไม่ตั้งใจจะไปลอยกระทงเพราะไม่เตรียมกระทงไปเลยและผมก็ไม่ได้นัดหมายกับใครที่จะไปลอยกระทงร่วมกัน ขณะที่ผมยืนมองคนอื่นเขาลอยกระทงอยู่ มีหญิงสาวคนหนึ่งเข้ามาทักทายยกมือไหว้ พร้อมกับแนะนำตัวว่า เคยเห็นคุณครูไปคุยกับคุณพ่อที่บ้านบ่อยๆ หนูเป็นลูกของครูสุวรรณ ปกติเวลาผมไปนั่งคุยกับครูสุวรรณที่บ้านผมไม่ค่อยสนใจคนในบ้านสักเท่าไร แต่ก็พอจำหน้าสาวน้อยคนนี้ได้ ก็ทักทายพูดคุยกันอยู่ครู่หนึ่ง จึงถามว่าแล้วมากับใคร พอจะตอบว่ามากับใครหันไปมองหาเพื่อนๆที่มาด้วยกันทั้งหมดได้หายหน้าไปหมด เราสองคนต้องเดินตามหาเพื่อนๆตลอดทั้งงาน ในใจตอนนั้นนึกตำหนิว่าคนสมัยนี้ไม่ค่อยรับผิดชอบพาเพื่อนกันมาเที่ยวงานแล้วมาทิ้งกันง่ายๆ ในที่สุดตัวเองต้องรับผิดชอบพาเธอเที่ยวงานและหาเพื่อนๆไปด้วย จนงานใกล้เลิกก็ไม่เจอใครต้องเป็นหน้าที่ต้องรับผิดชอบพาเธอไปส่งที่บ้านเอง.... หลังจากนั้นทุกครั้งที่เราไปหาครูสุวรรณก็จะได้เจอเธอทุกครั้ง จนในที่สุดเราสองคนก็สนิทสนมกันมากขึ้นจนกลายเป็นความสัมพันธ์ทางหัวใจที่ใครๆก็รู้กันทั่ว.......มีช่วงหนึ่งผมเข้ามาทำธุระที่กรุงเทพหลายวัน เมื่อกลับไปสตูลก็ซื้อของฝากติดไม้ติดมือไปฝากเธอด้วย เมื่อไปหาเธอที่บ้าน เธอก็รีบร้อนเข้ามาต้อนรับพร้องกับบอกว่าจะมีข่าวดีบอก เธอบอกว่าผู้ใหญ่ในจังหวัดมาทาบทามให้เธอเข้าประกวดนางงามประจำจังหวัดในงานประจำปีฮารีรายอ ผมไม่สนใจที่จะรับรูเรื่องนี้ ผมแค่พูดว่าเรื่องประกวดนางงานนางเงิมอะไรนี้ไม่เห็นมีอะไรสร้างสรรค์เลย นี้พูดอย่างเกรงใจสุดๆแล้ว ถ้าจะพูดอย่างที่ตั้งใจก็จะพูดว่า “มันน้ำเน่าสินดี” แม้ในวันที่เขาประกวดผมก็ไม่เยี่ยมกลายไปใกล้เลยและไม่สนใจที่จะรับรู้ จนเขาประกวดเสร็จสิ้น เธอถูกตัดสินให้ได้ตำแหน่งนางงามประจังหวัดสตูล เธอพยายามนำข่าวดีมาบอกเพื่อให้ผมแสดงความยินดีกับเธอผมตอบรับรู้ไปอย่างแกนๆไม่ให้ความสำคัญกับมันเลย จนกระแสเรื่องนางงามเริ่มจางไป หลังจากที่เราได้ดูใจกันมานานพอสมควร ก็ได้ปรึกษาที่จะให้ผู้ใหญ่มาสู่ขอหมั้นหมายและเราก็ได้แต่งงานกัน และผมก็ได้ย้ายไปเป็นครูสอนในระดับวิทยาลัยอีกจังหวัดหนึ่ง เราไปสร้างครอบครัว เรามีลูกด้วยกัน ๔ คน เป็นผู้ชายหนึ่งคน และผู้หญิงสองคน ลูกคนเล็กเป็นผู้หญิงลูกคนนี้สุขภาพไม่ดีเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วมาแต่กำเนิดจึงเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ยังเหลือลูกสองคนเราช่วยกันเลี้ยงดูมาด้วยกัน เราช่วยกันสร้างครอบครัวมาด้วยดีตามความรู้ความสามารถที่เราสองคนใช้ความเพียรร่วมกัน อยากลำบากทุกข์สุขเราฝ่าฟันมาด้วยกันอย่างเข้าอกเข้าใจกัน มีบ้างที่เราคิดต่างกันเราโต้เถียงขัดแย้งแสดงเหตูผลของตัวเอง นี้คือวัฒนธรรมในครอบครัวเราไม่ว่าเรื่องการเลี้ยงลูกหรือการตัดสินใจในเรื่องอะไร ไม่มีใครจะกดข่มใครง่ายๆจนกว่าจะมีเหตุผลที่พอยอมรับกันได้ จึงทำให้ลูกๆ ดูเหมือนจะไม่ค่อยเชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่ แต่ไม่เคยมีเรื่องอะไรที่ลูกๆทำให้พ่อแม่ผิดหวัง ตั้งแต่เล็กจนโตเราเลี้ยงดูลูกๆให้ได้รับการศึกษาแม้ว่ามันจะไม่ค่อยเหมือนกับชาวบ้านทั่วไป ที่ให้ลูกเริ่มเข้าโรงเรียนตั้งแต่อายุ ๓ ขวบกว่าในระดับอนุบาล และ ๗ ขวบ ในระดับประถม แต่เราเอาลูกมาเข้าโรงเรียนเมื่ออายุ ๑๐ ขวบแล้ว...เรื่องนี้มีเรื่องเล่ามากมายซึ่งจะนำมาเล่าในภายหลัง.....อย่างไรก็ตามเราเลี้ยงลูกให้ได้รับการศึกษาจนจบปริญญาจากมหาวิทยาลัยของรัฐระดับต้นๆทั้งสองคน คนพี่เรียนจบแล้วทำงานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็เป็นอาชีพที่พอเลี้ยงตัวและครอบครัวไปได้ อีกคนก็จบปริญญาเอกเป็นนักวิชาการสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ