ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กรุงปักกิ่งหรือเบจิง( Beijing) เมืองหลวงของประเทศจีนเคยประสบภาวะฝุ่นละอองพิษหรือมลภาวะในอากาศหนักกว่ากรุงเทพในวันนี้ แต่เขาแก้ได้ด้วยการใช้มาตรการแก้ที่ต้นเหตุ

กมล กมลตระกูล
กรุงปักกิ่งหรือเบจิง( Beijing) เมืองหลวงของประเทศจีนเคยประสบภาวะฝุ่นละอองพิษหรือมลภาวะในอากาศหนักกว่ากรุงเทพในวันนี้ แต่เขาแก้ได้ด้วยการใช้มาตรการแก้ที่ต้นเหตุ
ด้วยการใช้มาตรการแก้ที่ต้นเหตุ อย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม เช่น ห้ามใช้มอเตอร์ไซค์ที่ใช้พลังงานฟอสซิลทุกชนิดวิ่งในเมือง รถมอเตอร์ไซด์ที่วิ่งได้อนุญาตเฉพาะรถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าเท่านั้น รถเมล์รถแท๊กซี่ก็ต้องเป็นรถที่ใช้พลังงานสะอาด โรงงานชานเมืองและในเมืองบริวารต้องเปลี่ยนจากการใช้พลังงานถ่านหินมาใช้พลังงานสะอาดแทน
แต่ กรุงเทพมหานครมีรถมอเตอร์ไซด์ วิ่งบนท้องถนนมากกว่าล้านคัน บวกรถกะบะขนส่งสินค้า รถเมล์ รถบรรทุก รถส่วนตัว รถแท๊กซี่ หลายแสนคันที่ใช้น้ำมันวิ่งตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีการควบคุมให้ใช้พลังงานสะอาดเท่านั้นจึงอนุญาตให้วิ่งได้ การห้ามรถบางประเภท ห้ามวิ่ง หรือห้ามวิ่งบางวัน ไม่ได้ตอบโจทย์ในระยะยาว หากยังยอมให้รถใช้พลังงานฟอสซิลขายอย่างลดแลกแจกแถมแบบทุกวันนี้
ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ล้วนต้องพึ่งระบบ logistics เพื่อนำสินค้ามารับส่งในใจกลางเมือง โดยไม่มีการจัดโซนนิ่ง ให้ออกไปอยู่นอกเมืองอย่างในต่างประเทศ
โรงงานต่างๆรอบๆกรุงเทพและเมืองบริวาร นิคมอุตสาหกรรม โรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC ภาคตะวันออก ล้วนไม่มีการควบคุมให้ใช้พลังงานสะอาด แต่กลับส่งเสริม จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ซึ่งเคยเป็นเมืองประมงแต่กลับไม่กำหนดโซนนิ่งจำกัดโรงงาน ปล่อยให้สร้างโรงงาน สร้างนิคมอุตสาหกรรมใช้พลังงานถ่านหินที่กระทบความปลอดภัยของอาหารทะเล และปล่อยควันพิษจนกลายเป็นเขตมลภาวะสีแดง ลามมาถึงชานเมืองกรุงเทพ ฯลฯ
ยกตัวอย่างมาเพียง 2-3 เรื่องที่เป็นสาเหตุของฝุ่นละอองพิษที่ที่ล่องลอยครอบคลุมทั่วกรุงเทพที่กระทบสุขภาพของชาวกรุงอย่างไม่ละเว้นทั้งเด็ก ทั้งคนชรา ทั้งคนรวย ทั้งคนจนให้ตายผ่อนส่ง
รัฐบาลจะกล้าใช้มาตรการจัดการกับต้นเหตุที่ยกมาอย่างที่รัฐบาลจีนทำเพื่อประชาชนหรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่า เป็นการลูบหน้าปะจมูกกลุ่มผลประโยชน์หลายกลุ่ม โดยเฉพาะหลายกลุ่มนี้ มีบทบาทอยู่เบื้องหลังรัฐบาลที่มีพันธกิจในการคืนความสุขให้กับประชาชน เข้าลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งคงไม่ยอมทุบหม้อข้าวของตนเอง
ดังนั้นเราจึงเห็นมาตรการ ทำได้แค่มาตรการแก้ปลายเหตุอย่างหน่อมแน้ม เหมือนเด็กเล่นขายของ เป็นการขายผ้าเอาหน้ารอดรายวัน?
ณ. วันนี้ ผมไม่มีความหวัง และไม่มีข้อเสนอและทางออกไม่ว่าจะปัญหาเรื่องฝุ่นพิษ เรื่องการเมือง เรื่องการผูกขาดพลังงานและโก่งราคาแพง เรื่องการหมาจรจัดที่ไล่ฟัดเด็กตาย เรื่องการแมว จรจัด เรื่องการลิงล้นบางเขตบางจังหวัด เรื่องยาเสพติดล้นเมือง ที่จับได้รายใหญ่รายวัน เรื่องปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลองจนเน่า เรื่องรุกทำลายป่าสร้างรีสอร์ต หรือปลูกพืชเชิงเดี่ยว จนภูเขาโล้นเป็นเทือกๆ ฯลฯ !
อยากฟังเสียง คนที่ยังมีความหวังครับ?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ