ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จะใช้‘หัวเว่ย’หรือถูกทิ้งล้าหลังเรื่อง‘5G’

คอลัมน์นอกหน้าต่าง: ‘บริษัทเทเลคอมยุโรป’ตัดสินใจลำบาก จะใช้‘หัวเว่ย’หรือถูกทิ้งล้าหลังเรื่อง‘5G’
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
บรรดาบริษัทเทเลคอมในยุโรปกำลังอยู่ในอาการอิหลักอิเหลื่อ เมื่อจะต้องตัดสินใจว่าพวกเขาควรจะรีบเร่งฉวยคว้าโอกาสแซงหน้าเหล่าคู่แข่ง และนำเอาเครือข่ายสื่อสารไร้สายเจเนอเรชั่นหน้ายุค 5จี ออกมาให้บริการอย่างฉับไวด้วยการใช้อุปกรณ์จากซัปพลายเออร์ระดับท็อปอย่าง หัวเว่ย?
หรือว่าพวกเขาควรเดินตามแคมเปญที่มีสหรัฐฯเป็นหัวเรือใหญ่ซึ่งกำลังป่าวร้องตักเตือนเรื่องภัยคุกคามด้านความมั่นคง และอยู่เฉยๆ เฝ้ารอคอย โดยที่มีความเป็นไปได้ว่าจะถูกทอดทิ้งเอาไว้ข้างหลัง?
การตัดสินใจเลือกได้อย่างถูกต้องจะส่งผลพวงต่อเนื่องอย่างกว้างไกลทีเดียว เนื่องจากเครือข่าย 5จี นั้น คือหลักหมายหลักต่อไปในการปฏิวัติทางดิจิตอล เป็นสะพานนำไปสู่การต่อเชื่อมกันว่องไวชนิดเกือบจะฉับพลัน โดยมีศักยภาพที่จะถ่ายโอนข้อมูลอย่างมากมายมหาศาล และรองรับเทคโนโลยีต่างๆ แห่งอนาคต
ไม่มีผู้ให้บริการรายไหนหรอกที่ต้องการถูกทอดทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง รัฐบาลไหนซึ่งมองเห็นแล้วว่าเทคโนโลยี 5จี คือผู้ขับดันตัวหลักตัวหนึ่งในอนาคตสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ก็ไม่ปรารถนาที่จะล้าหลังในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
หัวเว่ย บริษัทสัญชาติจีนเติบโตขึ้นมาอย่างเงียบๆ จนกำลังกลายเป็นซัปพลายเออร์ชั้นนำของอุปกรณ์รากฐานสำหรับเครือข่ายสื่อสารไร้สาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดพวกประเทศกำลังพัฒนา ด้วยปัจจัยด้านราคาที่ถูกกว่า
การเป็นหัวหอกนำหน้าใครเพื่อนในเรื่องอุปกรณ์ 5 จี ที่ล้ำสมัย ยังกำลังทำให้ หัวเว่ย สามารถบุกเข้าไปในตลาดพวกชาติพัฒนาแล้ว
อย่างไรก็ดี มีชาติตะวันตกจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้การชักชวนของสหรัฐฯ กำลังหันหลังไม่ต้อนรับหัวเว่ย ด้วยความหวาดกลัวว่าอุปกรณ์ต่างๆ ของบริษัทอาจกลายเป็น “ม้าไม้เมืองทรอย” สำหรับให้ปักกิ่งใช้เป็นเครื่องมือแอบล้วงความลับ
ทั้งนี้มีการหยิบยกเหตุผลข้ออ้างที่ว่า จีนมีกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทต่างๆ ต้องให้ความร่วมมือกับพวกหน่วยงานข่าวกรองของรัฐ แต่อันที่จริงแล้วความระแวงเช่นนี้ยังอาจจะมาจากการที่ชาติตะวันตกต่างก็ดูเหมือนตระหนักว่า เมื่อตอนที่ทั่วโลกยังต้องพึ่งพาอาศัยแต่ซัปพลายเออร์ของโลกตะวันตกนั้น พวกเครื่องมือสื่อสารทั้งหลายก็มี “ประตูหลัง” สำหรับการทำจารกรรมของหน่วยข่าวกรองมาแล้ว ดังข้อมูลเรื่องราวซึ่ง เอดเวิร์ด สโนว์เดน เปิดโปงโครงการของหน่วยข่าวกรองอเมริกันและอังกฤษที่เข้าสอดแนมข้อมูลโทรศัพท์จำนวนมากมายมหาศาล
ขณะที่รัฐบาลยุโรปกำลังอยู่ในกระบวนการของการตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรดี พวกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือก็จะต้องตัดสินใจเลือกเช่นเดียวกัน และแน่นอนทีเดียวว่าเป็นการเลือกที่ทำให้รู้สึกลำบากใจเป็นอย่างยิ่ง
มีผู้ให้บริการหลายรายเริ่มดำเนินการทดสอบโดยใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ยแล้ว เป็นต้นว่า บุยเก เทเลคอม และ เอสเอฟอาร์ ที่กระทำอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ หลายแห่งของฝรั่งเศส
“หัวเว่ยในทุกวันนี้มีราคาแพงกว่าพวกคู่แข่งด้วยซ้ำ แต่มันก็ดีกว่ามากด้วย พวกเขาสามารถแซงหน้าไปได้แล้วจริงๆ ในเรื่องคุณภาพของอุปกรณ์เครือข่าย เมื่อเปรียบเทียบกับของพวกคู่แข่งชาวยุโรป” นี่เป็นคำพูดของผู้บริหารรายหนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในยุโรปรายหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ โดยขอให้สงวนนาม
พวกผู้เชี่ยวชาญกล่าวกันว่า หัวเว่ยนั้นนำหน้า อิริคสันแห่งสวีเดนไปแล้วราว 6 เดือนจนถึง 1 ปี ในเรื่องคุณภาพของอุปกรณ์ 5 จีของบริษัท
ยิ่งถ้าเปรียบเทียบกับ โนเกียแห่งฟินแลนด์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเครือข่ายไร้สายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกด้วยแล้ว หัวเว่ยก็ทิ้งห่างไปไกลยิ่งกว่านั้นเสียอีก

ผู้นำเรื่อง 5จี
“หลายๆ คนหลายๆ ฝ่ายต้องการหลีกเลี่ยงไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทจีนรายนี้ แต่ปัจจุบันพวกเขาคือผู้ที่นำหน้าที่สุดในเรื่องนี้” เป็นความเห็นของ วิกตอร์ มาร์เก ผู้ชำนาญการด้านเทเลคอมและสื่อ แห่งบริษัทที่ปรึกษา โรแลนด์ เบอร์เกอร์
“ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ก้าวจากการเป็นทางเลือก ‘ราคาต่ำ’ กลายเป็นมาผู้นำด้าน 5จี ไปแล้ว”
แหล่งข่าวหลายๆ รายระบุว่า หัวเว่ยถึงกับไปช่วยเหลือโนเกียในการวิจัยและพัฒนาด้วยซ้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องเผชิญหน้าเพียงลำพังในการสู้กับอิริคสันในเรื่อง 5จี
ทางด้าน หัวเว่ย เองกล่าวเพียงแค่ว่าบริษัทมี “ความเป็นหุ้นส่วนระยะยาว” กับคู่แข่งขันของตนจำนวนมากในด้านต่างๆ เป็นต้นว่า วิธีการในการผลิต, มาตรฐานด้านต่างๆ , และด้านสิทธิบัตร
“เราพิทักษ์ปกป้องหลักการเรื่องนวัตกรรมแบบเปิดกว้าง และความร่วมมือกันเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การพัฒนาของอุตสาหกรรมเทเลคอมเสมอมา” โฆษกผู้หนึ่งของหัวเว่ยบอกกับเอเอฟพี
หลังจากปักหลักสถาปนาตนเองเป็นผู้เล่นรายหนึ่งบนเครือข่าย 4จี ได้สำเร็จแล้ว กลุ่มกิจการที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง ทางภาคใต้ของจีนรายนี้ ก็มุ่งมั่นแข็งขันที่จะขึ้นเป็นผู้ทรงอิทธิพลในเรื่อง 5จี
ในแต่ละปี หัวเว่ยจะนำเอารายรับจากยอดขายระหว่าง 10 ถึง 15% มาลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) โดยที่เมื่อปี 2017 บริษัทใช้จ่ายในเรื่องอาร์แอนด์ดีคิดเป็นเงิน 13,800 ล้านดอลลาร์ และปี 2018 เพิ่มเป็น 15,000 ล้านดอลลาร์
ยุทธศาสตร์เช่นนี้กำลังผลิดอกออกผลที่สดสวยงดงาม
ในปี 2017 หัวเว่ยกลายเป็นซัปพลายเออร์อันดับ 1 ชนิดนำหน้าไปไกลในเรื่องอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีส่วนแบ่งตลาด 22% ทั้งนี้ตามตัวเลขข้อมูลของ ไอเอชเอส มาร์คิต ขณะที่อันดับ 2 คือโนเกีย มีส่วนแบ่ง 13% แล้วจึงเป็นอิริคสันที่ได้ 11%
ช่วงห่างนี้น่าจะขยายกว้างออกไปอีก ในเมื่อมีผู้ให้บริการจำนวนมากขึ้นในทั่วทั้งโลกพัฒนาให้บริการเครือข่าย 5จี ถึงแม้ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน กำลังก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นว่า หัวเว่ยจะสามารถฉวยใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีของตนได้หรือไม่
ความทะเยอทะยานของยุโรป
ชาติต่างๆ ในยุโรป ก็เฉกเช่นเดียวกับประเทศทั้งหลายในเอเชียตลอดจนสหรัฐอเมริกา นั่นคือต้องการนำเอา 5จี ออกมาใช้ให้เร็วๆ โดยที่คาดหมายกันว่าบริการแรกๆ จะดำเนินการได้ในปีหน้า ทว่านี่เป็นเป้าหมายซึ่งยากที่จะไปให้ถึง ถ้าหากไม่ใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ย
“ทั้งพวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบและรัฐบาลทั้งหลาย ต่างก็มีตารางเวลาที่แสนจะทะเยอทะยาน ขณะเดียวกันพวกผู้ให้บริการก็มอง 5จี เป็นหนทางที่จะลดต้นทุนต่อกิกะไบต์ ขณะที่ปริมาณข้อมูลจะต้องมีการถ่ายโอนกันอย่างมากมายมหาศาลระเบิดระเบ้อ” มาร์เก แห่ง โรแลนด์ เบอร์เกอร์ ชี้
“อย่างไรก็ตาม เรากำลังมองเห็นกัน ตัวอย่างเช่นในเยอรมนี พวกเขาต่างไม่พอใจเลยเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่กำลังประกอบเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา (ในเรื่องเครือข่าย 5จี)”
ดอยต์เชอ เทเลคอม ผู้ให้บริการรายยักษ์ของเยอรมนี ระบุในเอกสารภายในฉบับหนึ่งซึ่งทางสำนักข่าวบลูมเบิร์กได้รับมา เตือนภัยว่ายุโรปอาจจะถูกทอดทิ้งจนล้าหลังจีนและสหรัฐฯถึง 2 ปีทีเดียว ถ้าหากต้องโยนทิ้งไม่ใช้อุปกรณ์ 5จี ของหัวเว่ย
(เก็บความและปรับปรุงเพิ่มเติมจากเรื่อง European telecoms' dilemma: Huawei or the highway? ของสำนักข่าวเอเอฟพี)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ