ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระพุทธเจ้า


มื่อเจ้าชายหนุ่มนามว่า “สิทธัตถะ” พระนามโคตรว่า “โคตรมะ” ได้สมรสกับเจ้าหญิงอันเลอโฉมที่จงรักภักดีต่อพระองค์มีพระนามว่า “ยโสธรา” เจ้าชายหนุ่มประทับอยู่ในพระราชวังของพระองค์ด้วยความสะดวกสบายในทุกประการ ภายหลังการประสูติพระโอรสพระองค์เดียวคือเจ้าชาย “ราหุล” ไม่นานหนัก พระองค์ได้เสด็จจากอาณาจัรของพระองค์ไปและได้ทรงผนวชเป็นนักบวช(ฤาษี)เพื่อแสวงหาหนทางแห่งความพ้นทุกข์

นับเป็นเวลาถึง ๖ ปี พระฤาษีโคตมะได้เสด็จจาริกเรื่อยไปในแถบลุ่มแม่น้ำคงคาได้ทรงพบกับอาจารย์สอนศาสนาที่มีชื่อเสียง พระองค์ได้ทรงศึกษาและปฏิบัติตามระบบการและวิธีการของอาจารย์เหล่านั้น และได้ยอมลดพระองค์ลงรับข้อปฏิบัติแบบทุกกรกิริยาอันหนักยิ่งและใช้วิธีการสะกดจิตให้เกิดความสงบ ให้มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่า
 แต่ข้อปฏิบัติแห่งหลักการและระบบศาสนาเหล่านั้นทั้งปวงไม่ทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยเลย ดังนั้น พระองค์จึงได้ทรงละทิ้งศาสนาที่มีมาแต่เดิมทั้งหมด พร้อมทั้งวิธีการของศาสนาเหล่านั้นเสีย แล้วดำเนินไปตามวิถีทางของพระองค์เอง จนกระทั่งราตรีวันหนึ่ง  เมื่อพระองค์ประทับนั่งอยู่ที่ภายใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง รู้จักกันโดยชื่อว่า ต้นโพธิ์ (ต้นไม้ตรัสรู้) ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราที่พุทธคยา (ใกล้ตำบลคยาในรัฐพิหารปัจจุบัน) เมื่อพระชนม์ได้ ๓๕ พรรษาพระโคตมะก็ได้บรรลุพระโพธิญาณ ซึ่งภายหลังจากการบรรลุโพธิญาณนั้นแล้ว พระองค์ก็เป็นที่รู้จักกันในพระนามว่าพระพุทธเจ้า หรือ พระผู้ตรัสรู้แล้ว

   หลังจากการตรัสรู้ของพระองค์แล้ว พระโคตมะพุทธเจ้าก็ได้ทรง ประทานปฐมเทศนาแก่เบญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมปฏิบัติธรรมมาแต่แรกของพระองค์ ณ ที่ป่าอิสิปตนะ(สารนาถ) ใกล้เมืองพาราณสี นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาเป็นเวลา ๔๕ พรรษา พระองค์ก็ได้ทรงสั่งสอนมนุษย์ชายหญิงทุกชั้น กล่าวคือ ทั้งกษัตริย์ ชาวนา พราหมณ์ จัณฑาล ทั้งคฤหบดีและขอทาน ทั้งนักบวชและพวกโจร โดยมิได้ทรงแบ่งแยกชนชั้น พระองค์มิได้ทรงยอมรับความแตกต่างกันแห่งวรรณะ หรือการแบ่งชนชั้นในสังคมเลย เมื่อพระชนม์ได้ ๘๐ พรรษา พระพุทธเจ้าก็เสด็จดับขันธปรินิพพานที่ เมืองกุสินารา (ซึ่งอยู่ในเขตอุตรประเทศในประเทศอินเดียปัจจุบัน) ประชากรชาวพุทธทั่วโลกมีจำนวนเกินกว่า ๕๐๐ ล้านคน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ