ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระพุทธศาสนากับโลกปัจจุบัน

ศาสนาพระพุทธกับโลกปัจจุบัน


 มีบางคนเชื่อว่า พระพุทธศาสนาเป็นระบบที่สูงส่งเกินไปจนบุรุษและสตรีธรรมดาไม่อาจปฏิบัติตามได้
ในชีวิตประจำวันของพวกเรา และมีความเชื่อว่าถ้าปรารถนาจะเป็นชาวพุทธจริงๆ แล้ว จะต้องปลีกตนเอง
จากสังคมโลกเข้าไปอยู่ในวัด หรือสถานที่ที่สงบ


   นี้เป็นความคิดที่ผิดอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากขาดความเข้าใจต่อคำสอนของพระพุทธองค์แท้ๆ ทีเดียว
ประชาชนรีบมุ่งไปสู่การสรุปที่รวดเร็วและผิด อันเป็นผลจากการฟังและการอ่านแบบลวกๆ ของพวกเขาต่อ
ข้อความบางอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของนักเรียนบางคนผู้ไม่เข้าใจความจริงทุกแง่มุม แต่ให้ทัศนะ
เกี่ยวกับพุทธศาสนาเพียงบางแห่งอย่างมีอคติ คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้มุ่งหมายเฉพาะในวัดเท่านั้น
แต่เพื่อคฤหัสถ์ชนทั้งชายหญิงผู้มีชีวิตอยู่ตามบ้านกับครอบครัวของพวกเขา อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นแนว
ทางดำเนินชีวิตของชาวพุทธ มีความหมายสำหรับทุกคนไม่แตกต่างกันเลย


                                ธรรมะกับการครองเรือน


   ส่วนใหญ่ของประชาชนในโลก ไม่อาจจะบวชเป็นพระ หรือปลีกตนเองไปอยู่ในถ้ำหรือป่าเขาลำเนาไพร
อย่างไรก็ดี หากพุทธศาสนาที่ประเสริฐและบริสุทธิ์จะเป็นเช่นนั้น (อย่างที่บางคนเข้าใจ)พุทธศาสนาก็เป็น
สิ่งไร้ประโยชน์สำหรับมวลมนุษย์ ถ้าเขาไม่อาจจะปฏิบัติในชีวิตประจำวันในโลกนี้ได้ แต่ถ้าท่านเข้าใจหลัก
ของพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง (ไม่ใช่เพียงตัวอักษร) ท่านสามารถจะประพฤติและปฏิบัติตามอย่างมั่นใจ
ขณะที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างคนธรรมดานี่เอง


     อาจจะมีบางคนที่พบว่า เป็นการง่ายกว่าและสะดวกกว่าที่จะปฏิบัติตามพุทธธรรม ถ้าเขา
ดำรงชีวิตอยู่ในสถานที่อันห่างไกล ตัดขาดออกจากสังคมกับคนอื่น ๆ คนเหล่าอื่นอาจพบว่า การปลีกตนเอง
ออกอย่างนั้น ทำให้ชีวิตทั้งด้านรางกายและจิตใจทื่อและตกต่ำ และจากผลนั้นเอง มันอาจจะไม่นำมาซึ่งความ
เจริญงอกงามแห่งชีวิตทั้งทางจิตใจและสติปัญญา


    การสละโลก (บรรพชา) อย่างแท้จริง ไม่ได้หมายความว่าหนีออกไปจากโลกทางด้านร่างกาย (ภายนอก)
พระสารีบุตรอัครสาวกของพระพุทธเจ้า กล่าวว่า คนๆหนึ่งอาจจะอยู่ในป่า อุทิศตนเองต่อการปฏิบัติแบบนักบวช
แต่ (จิตใจ) อาจเต็มไปด้วยความไม่บริสุทธิ์และอาสวะ อีกคนหนึ่ง อาจจะอยู่ในบ้านหรือในเมือง มิได้ปฏิบัติ
ระเบียบวินัยแบบนักพรต แต่จิตใจของเขาอาจจะบริสุทธิ์และอิสระจากกิเลสาสวะ ในบรรดาสองคนนี้พระสารีบุตร
กล่าวว่า ผู้ที่ดำรงชีวิตแบบบริสุทธิ์ในบ้านหรือในเมือง เป็นผู้วิเศษแน่นอนกว่า และยิ่งใหญ่กว่า ผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่ใน
ป่า(  ม.มู. ๑๒/๕๓–๗๒/๔๒ )


 ความเชื่อพื้นๆที่ว่า การจะฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์บุคคลจะต้องปลีกตัวเองจากชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นความ
เชื่อที่ผิด ความเชื่อเช่นนั้น เป็นสิ่งที่ต่อต้านส่วนลึกต่อการปฏิบัติตามคำสอนอย่างแท้จริง มีหลักฐานหลายแห่งใน
คัมภีร์ทางพุทธศาสนา (ที่แสดงว่า) บุรุษและสตรีที่ดำรงชีวิตแบบธรรมดาในครอบครัวตามปกติ ผู้ปฏิบัติตามที่
พระพุทธเจ้าทรงสอนได้อย่างประสบผลสำเร็จ และทำพระนิพพานให้แจ้งได้ วัจฉโคตตะอาชีวก (ผู้ซึ่งที่เรากล่าว
ถึงในบทที่ว่าด้วยเรื่องอนัตตา) ครั้งหนึ่งถามพระพุทธเจ้าอย่างตรงๆว่า มีบุรุษสตรีที่อยู่ครองเรือน ซึ่งปฏิบัติตาม
คำสอนของพระพุทธองค์อย่างประสบผลสำเร็จ และบรรลุถึงมรรคผลมีหรือไม่ พระพุทธองค์ทรงเน้นอย่างชัดเจนว่า
ไม่ใช่เพียงหนึ่งคนหรือสองคน ไม่ใช่เพียงร้อยคน สองร้อยคน หรือห้าร้อยคน แต่มากต่อมาก ที่บุรุษและสตรีที่ครอง
เรือนอยู่ ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์อย่างมีผลและบรรลุถึงสภาพทางจิตอันสูงส่ง ( ม.ม. ๑๓/๒๕๖ )
   เหมาะทีเดียวสำหรับประชาชนธรรมดา ที่จะดำรงชีวิตอันหลีกเร้นในสถานที่อันสงัดจากเสียงอึกทึกและรบกวน
แต่มันเป็นสิ่งที่ที่ค่าควรแก่การยกย่องและเชิดชูกว่า ที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ขณะที่ดำรงชีวิตอยู่
ในระหว่างเพื่อนมนุษย์ ด้วยการช่วยเหลือเขา ทำตนเป็นผู้บริการพวกเขา บางทีมันอาจจะเป็นประโยชน์ในบางกรณี
สำหรับบุคคลที่จะมีชีวิตแบบหลีกเร้น   สักระยะหนึ่งเพื่อที่จะพิสูจน์จิตใจและนิสัยของเขา ในฐานะเป็นการฝึกตาม
ศีลสมาธิ และปัญญา ขั้นพื้นฐาน เพื่อที่จะมีความแข็งแกร่งพอที่จะออกมาสู่สังคมในภายหลัง และช่วยเหลือคนอื่นๆ
แต่ถ้าบุคคลดำรงชีวิตของเขาทั้งหมดอยู่ในความโดดเดี่ยว คิดถึงเฉพาะความสุขและทางรอดของตัวเองเท่านั้น
โดยปราศจากการคำนึงถึงเพื่อนมนุษย์ของเขา นี้ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความเมตตา
กรุณาและการช่วยเหลือคนอื่นอย่างแท้จริง
 
 บัดนี้อาจมีบางคนถามว่า ถ้าคนธรรมดาอาจปฏิบัติตามพุทธศาสนาในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในบ้านในเรือน แล้วทำไม
จะต้องมี พระสงฆ์ หรือหมู่แห่งพระภิกษุ ซึ่งตั้งขึ้นโดยพระพุทธองค์ด้วยละ? พระสงฆ์เอื้ออำนวยโอกาสสำหรับผู้ที่
ปรารถนาที่จะอุทิศชีวิตของตน ไม่เพียงแต่เจริญสมาธิและปัญญาของตนเองเท่านั้น แต่เพื่อรับใช้คนอื่นด้วย ผู้ที่
ครองเรือนไม่สามารถจะมุ่งอุทิศชีวิตทั้งหมดของตนเพื่อรับใช้ผู้อื่น เหมือนพระสงฆ์ซึ่งไม่มีครอบครัวที่จะต้องรับผิด
ชอบ หรือความผูกพันแบบโลกๆอื่นๆจึงอยู่ในฐานะที่จะอุทิศชีวิตทั้งหมดของเขา “เพื่อเกื้อกูลและความสุขของ
พหูชน” ดังที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ นี้เป็นเครื่องชี้เหตุผลในแนวประวัติศาสตร์ที่ว่า วัดทางพุทธศาสนาไม่ใช่
เป็นเพียงศูนย์กลางทางจิตใจเท่านั้นแต่เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาและวัฒนธรรมด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ