ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระโพธิสัตว์


พระโพธิสัตว์ 






มหาจตุรปณิธาน

ดูกร ! สมันตภัทร
โพธิสัตว์คือผู้ละเลยแล้วซึ่งตนเอง
หลงลืมแล้วซึ่งตนเอง”
โพธิสัตว์คือผู้ละเลยแล้วซึ่งตนเอง หลงลืมแล้วซึ่งตนเอง ดังนี้จึงกล่าวได้ว่าจิตของทานได้สลัดอัตตา คือตัวตนอย่างสิ้นเชิง ท่านจึงครอบครองความเป็นอนัตตาโดยสมบูรณ์ ท่านประกอบด้วยความรัก ความเมตตาต่อสรรพสัตว์อันประมาณมิได้ และมหาเมตา มหากรุณานี้เอง ที่ทำให้โพธิสัตว์ไม่อาจเสวยสุขุมรสจากพระธรรมแต่เพียงลำพัง การดำรงอยู่ขององค์พระโพธิสัตว์ จึงเป็นไปเพื่อยังสรรพสัตว์ให้ลอดพ้นจากสรรพทุกข์ เพื่อประกอบกรณีกิจที่ยิ่งใหญ่ในการไถ่กู้ เพื่อให้สำเร็จตามมหาปณิธาน ๔ ประการ อันได้ตั้งเป็นสัตยาธิษฐานไว้ ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ ๔ ประการนั้นได้แก่
๑.สรรพสัตว์มีมากมายเพียงใดเราปฏิญาณจะช่วยให้รอดสิ้น
๒.กิเลสตันหาดังน้ำพุมิรู้เหือดแห้ง เราปฏิญาณจะขจัดให้สิ้น
๓.ข้อธรรมล้ำลึกมีเหลือคณานับ เราปฏิญาณจะศึกษาให้สิ้น
๔.สัจธรรมแห่งพุทธะยากยิ่งลึกซึ้ง เราปฏิญาณจะเข้าให้ถึง
การตรัสรู้ของพระโพธิสัตว์มิได้เป็นไปเพื่อตนเอง หากเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลก สัจธรรมเป็นของโลกเป็นของกลาง เป็นสมบัติของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย การตรัสรู้ของพระโพธิสัตว์ จึงมิได้เป็นไปเพื่อการเอาตัวรอด หากแต่เพื่อช่วยสัตว์ทั้งหลายให้รอดต่างหาก ดังนั้นจึงเป็นการตรัสรู้เพื่อสรรพสัตว์
เหตุผลที่ว่า ทำไม่พระโพธิสัตว์จึงหลงลืมตนเอง ละเลยต่อตนเองและทุก ๆ สิ่งที่เป็นของตนเองนั้น มิใช่เพื่อเข้าถึงสัจธรรมเพื่อตนเอง หากแต่เพื่อกระทำตามความปรารถนาข้อแรกในอันที่จะอุทิศชีวิตของตนทั้งหมดเพื่อนำสัตว์ทั้งหมดออกจากห้วงทุกข์ ไปสู่สันติสุขอันอยู่เหนือโลก เพื่อเปล่งรัศมีแห่งปรีชาญาณออกไปทั่วทั้งจักรวาล เพื่อจะได้เห็นพระพุทธเจ้าได้รับความเคารพจากหมู่สัตว์ สิ่งเหล่านี้แหละทีประกอบขึ้นเป็นชีวิตอันเสียสละของเหล่าพระโพธิสัตว์ทั้งหล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ