ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทรงอุปมาธรรมเหมือนกับแพ


ทรงอุปมาธรรมเหมือนกับแพ


  สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายหลักแห่งเหตุและผลแก่สาวกของพระองค์ และสาวกเหล่านั้นได้กราบทูลว่า ได้เข้าใจ ได้เห็นหลักเหตุผลนั้นอย่างชัดเจน คราวนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถามว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ทิฏฐิอันนี้ซึ่งบริสุทธิ์และชัดเจนถึงปานนี้ ถ้าเธอทั้งหลายยังยึดมั่นทิฏฐินั้นอยู่ ยังปล่อยใจให้ผูกพันอยู่ ยังเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีค่าอยู่ ยังติดใจมันอยู่แล้วละก็ เธอทั้งหลายก็จะไม่เข้าใจเลยว่า พระธรรมนั้นเป็นเสมือนกับแพซึ่งเป็นของสำหรับใช้ข้ามฟาก และมิใช่สำหรับยึดถือเอาไว้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้หนึ่งกำลังเดินทางอยู่ เขาได้เดินทางมาถึงลำน้ำที่กว้างใหญ่ ณ ฟากข้างนี้ ฝั่งน้ำมากด้วยอันตราย แต่อีกฟากข้างหนึ่งปลอดภัยไร้อันตราย และก็ไม่มีสะพานใดๆสำหรับข้ามด้วย เขาจึงกล่าวกับตัวเองว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่หลวงนัก และฟากฝั่งนี้ก็เต็มไปด้วยอันตราย แต่ทว่าฟากฝั่งข้างโน้นปลอดภัย และไร้อันตราย ไม่มีเรือที่จะข้ามไปฝั่งข้างโน้น และไม่มีสะพานที่จะข้ามไปยังฝั่งข้างโน้น คงเป็นการดีถ้าเราจะเก็บรวบรวม หญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้ เพื่อจะมาสร้างแพ และอาศัยแพ ก็จะข้ามไปยังฝั่งข้างโน้นได้โดยปลอดภัย จะต้องทำความพยายามด้วยมือและเท้าของเราเอง และแล้วบุรุษนั้นก็ได้เก็บรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ และก็ได้สร้างแพ และด้วยอาศัยแพนั้นเขาจึงได้ข้ามไปยังฝั่งข้างโน้นโดยปลอดภัย โดยอาศัยมือและเท้าของเขาเอง เมื่อได้ข้ามไปและถึงฝั่งข้างโน้นแล้ว เขาคิดว่า แพนี้มีอุปการะมากแก่เรา โดยอาศัยแพเราจึงข้ามมาโดยปลอดภัย โดยมือและเท้าของเราเอง พระองค์ก็ตรัสว่า แล้วก็โดยวิธีไหนเล่าที่เขาจะปฏิบัติโดยสมควรในเรื่องเกี่ยวกับแพ มันคงเป็นการดีถ้าจะพึงเอาแพนี้ทูนศีรษะหรือแบกไปในที่ๆจะไป   หรือคงจะเป็นการดีถ้าจะเอาแพนี้เกยฝั่งไว้ หรือ ผูกไว้กับหลักปล่อยให้ลอยน้ำไว้ แล้วไปตามทางของเราไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยการกระทำโดยวิธีใด บุรุษนั้นชื่อว่ากระทำโดยสมควรในเรื่องเกี่ยวกับแพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน เราได้สอนหลักธรรมคล้ายกับแพ กล่าวคือเป็นเครื่องสำหรับใช้ข้าม ไม่ใช่สำหรับถือไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายก็เข้าใจแล้วว่า ธรรมะคำสอนคล้ายกับแพ ควรจะละแม้กระทั่งกุศลธรรม จะกล่าวไปใยในการเลิกละอกุศลธรรมเล่า

จากนิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้ ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ท่านมุ่งที่จะนำมนุษย์ไปสู่ ความสุข สงบ และการบรรลุซึ่งพระนิพพาน พระธรรมทั้งหมดทั้งสิ้นที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนย่อมนำไปสู่จุดหมายอันนี้ทั้งสิ้น พระพุทธองค์มิได้ตรัสสิ่งทั้งหลายเพียงเพื่อจะสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์เท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่เป็นนักปฏิบัติ และทรงสั่งสอนจำเพาะแต่สิ่งทั้งหลายที่จะนำมาเฉพาะซึ่ง สันติ และความสุขแก่มนุษย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ