ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชมรมเพื่อน วทต.


เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณพูนสวัสดิ์ ได้ติดต่อมาสอบถามถึงความเป็นมาของการริเริ่มจัดงานสังสรรค์เพื่อน วทต.ครั้งแรก ผมจำได้ว่าผมเคยเขียนเล่าไว้ในวารสารจดหมายข่าวเพื่อน วทต. และช่วงหลังที่เขาเริ่มใช้ Line กันผมเคยเขียนไว้ในกลุ่ม Line เพื่อน วทต.พร้อมสรุปรายงานกิจกรรมต่างๆตั้งแต่ต้น และมีภาพถ่ายและคลิปวีดิโอประกอบมากมาย ผมได้เก็บไฟล์ข้อมูลทั้งหมดไว้ในฮารดดีสด พีซี.....เนื่องจากข้อมูลมีมากและยังไม่ได้จัดให้เป็นหมวดหมู่ จึงต้องใช้เวลาในการค้นหาข้อมูล แต่ในเบื้องต้นผมจะเล่าเท่าที่พอจำได้ดังนี้.....พวกเราชาว วทต.ที่อยู่ในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง นัดพบปะกันไม่เป็นทางการอยู่บ่อยๆ ส่วนใหญ่จะเป็นงานบุญ งานขึ้นบ้านใหม่ งานวันเกิด.....ผมเองเรียนจบที่ วทต.ระดับ ปวช.ช่างยนต์เมื่อปี ๒๕๐๖ มาอยู่กรุงเทพไม่ค่อยได้พบเพื่อนฝูงเท่าไร อาจจะเป็นเพราะผมทำงานไม่เหมือนเพื่อนๆ เพื่อนๆส่วนใหญ่ทำราชการ ผมทำงานทางสังคมนอกระบบราชการหรือที่ชาวบ้านเรียก NGOs ประกอบกับช่วงหนึ่งผมได้ลี้ภัยจากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองไปอยู่ต่างประเทศเกือบสิบปี มีอยู่ครั้งหนึ่งผมไปหาเพื่อนคนหนึ่งเขามีท่าทีกลัวๆผม ในสายตาเหมือนกับว่าผมเป็นอะไรที่ประหลาดสักอย่าง.....โดยจิตใจผมที่แท้จริงแล้วคิดถึงเพื่อนๆที่เคยเรียนร่วมสถาบันเดียวกัน จนมาช่วงที่พวกเราอายุอยู่ในวัยเกษียณเป็นส่วนมาก ผมเจอเพื่อนบางคนได้ปรารภกับเพื่อนว่าผมต้องการจะพบปะเพื่อนๆกลุ่มใหญ่สักครั้ง มีเพื่อนที่เขามีศักยภาพได้นัดเพื่อนๆรุ่นเดียวกันและใกล้เคียงมารับประทานอาหารกันที่ร้านศรแดง ที่ถนนราชดำเนิน มีเพื่อนมาร่วมประมาณสี่ห้าสิบคนพวกเราเฉลี่ยกันจ่ายค่าอาหาร และให้เพื่อๆได้ลงทะเบียนเพื่อจะได้ติดต่อกันได้ในการนัดครั้งต่อไป หลังจากนั้นผ่านมาเกือบปี มีเพื่อนบางคนติดต่อผมว่าพวกเราน่าจะไปเยี่ยมคาราวะอาจารย์วิมล ที่จังหวัดลพบุรี ผมจึงโทรนัดเพื่อนๆเท่าที่มีข้อมูลติดต่อได้ ผมเชิญมากินขนมจีนที่บ้านผมที่บางบัวทอง ก็มากันหลายคน ผมจึงปรึกษาเรืองจะไปเยี่ยมคาราวะอาจารย์วิมล ทุกคนก็เห็นด้วยจึงกำหนดวันกัน เพื่อนๆทุกคนได้สมทบทุนค่าใช้จ่ายรวมค่าของขวัญให้อาจารย์ ครั้งนั้นหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลือเงินอยู่ประมาณหกพันกว่าบาท ผมจึงคิดว่าจะจัดการกับเงินส่วนนี้อย่างไรดี จึงนัดเพื่อนๆอีกครั้งหนึ่งให้มาทานอาหารกันที่ร้านสวนอาหารชวนชม ถนนงามวงศ์วาน บางเขน ผมจึงเสนอประเด็นเรื่องว่าจะจัดงานสังสรรค์เพื่อน วทต.อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อๆทุกคนเห็นด้วย ผมจึงเสนอจัดตั้งเป็นองค์กรเพื่อน วทต.ซึ่งทำงานแบบจิตอาสาเพื่อสังคม  ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะจัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดงานสังสรรค์เพียงอย่างเดียว เพราะผมเองในช่วงนั้นยังมีไฟอยู่(ความจริงปัจจุบันก็ยังมีแรงมีไฟไม่ยิ่งย่อนกว่ากัน)และได้เสนอชื่อองค์กรว่า “ชมรมเพื่อน วทต.”.......ที่ไม่ต้องการใช้ชื่อที่มีคำว่า “ศิษย์เก่า” ด้วยเหตุผลหนึ่งไม่ต้องการให้ไปพ้องกับสมาคมศิษย์เก่าซึ่งต้องจัดตั้งเป็นทางการและต้องจดทะเบียน(ผมเองไม่ชอบทำอะไรที่มันเป็นระบบราชการ เพราะองค์กรที่เป็นระบบมากซึ่งมักจะขาดความคล่องตัวและส่วนมากไม่ค่อยเวิร์ก (สำหรับเรื่องนี้ผมเองได้ศึกษา วิเคราะห์และวิจัยอย่างถึงกึ๋นตลอดระเวลาเกือบสิบปีที่ผมอยู่ที่เมืองจีน เกี่ยวกับโครงสร้างและกลไกอำนาจรัฐในสังคมไทย)และอีกอย่างหนึ่งผมตั้งใจจะใช้องค์กรเป็นที่รวมความเป็นมิตรภาพ มิตรจิตมิตรใจและให้ความเคารพซึ่งกันแหละกันตามบทบาทและฐานะเพราะผมเล็งเห็นว่ามันไม่น่าจะเป็นที่รวมของผู้เคยเรียนในสถาบันแห่งนี้เท่านั้น แม้กระทั่งคนที่เคยสอน เคยทำหน้าที่อย่างอื่นของสถาบันแห่งนี้ เราน่าจะจัดเป็นเพื่อนมิตรกันได้ ผมเองไม่คิดแม้แต่สักนิดที่จะไม่เคารพครูบาอาจารย์ แต่ผมคิดว่าความเป็นมิตรกับการเคารพให้เกียรติ์ซึ่งกันแหละกันซึ่งน่าจะมีคุณค่ามากกว่าการแสดงออกที่ทำให้มองไปว่ามันเป็นระบบอุปถัมภ์ และได้จัดตั้งเป็นองค์กรแบบหลวมๆ และได้มีเพื่อนมิตรหลายท่านมีจิตอาสาเข้าเป็นกรรมการประมาณสิบกว่าท่าน แต่เราไม่ได้จัดตั้งตำแหน่งหน้าที่เหมือนองค์กรที่เป็นทางการนัก จะมีเฉพาะหน้าที่ที่มีความจำเป็นและมีความคล่องตัวต่อการทำงานประมาณนี้
   ๑.ผู้ประสานงาน
  ๒.การเงิน
 ๓.ประชาสัมพันธ์
ซึ่งผมทำหน้าที่ผู้ประสานงานถ้าจำไมผิดมีคุณกัลยานี  เดชะวันโต เป็นการเงิน และคุณนิพนธ์ ชูชลิตกุลเป็นประชาสัมพันธ์ ส่วนท่านอื่นเป็นคณะกรรมการ และได้กำหนดการจัดงานสังสรรค์ครั้งต่อไปคือ”งานสังสรรค์เพื่อน วทต.ครั้งที่๒” ต่อจากนั้นเราได้จัดงานสังสรรค์เพื่อน วทต.ตลอดมาทุกปี ปีละครั้ง ก่อนจัดงานเรามีประชุมกรรมการ ๒-๓ ครั้ง และหลังจัดงานเสร็จเราจะประชุมสรุปงานทุกครั้ง

ส่วนคณะกรรมการและโครงสร้างการทำงานขององค์กรเรามีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาบ้าง มีเพื่อนบางคนเสนอให้มีตำแหน่งประธานชมรมเพื่อน วทต. จึงให้เสนอรายชื่อผู้ที่จะทาบทามเป็นประธานฯ มีผู้เสนอรายชื่อมากกว่าสองท่านและได้คัดเลือกในที่ประชุม มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ทาบทามคุณประมวล เป็นประทานชมรมฯ

ในการประชุมทุกครั้งผมทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการประชุม ส่วนคุณประมวลทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ผมเองเป็นผู้บันทึกการประชุมและรายงานให้คณะกรรมการรับทราบทุกครั้งตลอดมา และได้รายงานกิจกรรมต่างๆให้เพื่อนสมาชิกทราบทางวารสารจดหมายข่าวเพื่อน วทต.มาตลอดเช่นต่อไปนี้เป็นรูปแบบ โครงสร้างของชมรมฯ และรูปแบบรายงานการประชุมและกิจกรรม
โครงสร้าง ชมรมเพื่อน วทต.
·       ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกชมรมเพื่อน วทต.
·       คณะกรรมการบริหารชมรมเพื่อน วทต.
         สมาชิกในที่ประชุมใหญ่เป็นผู้คัดเลือกคณะกรรมการชมรมฯจำนวน ๑๙ ท่านเป็นกรรมการบริหารชมรมฯโดยมี
-ประธานชมรมเพื่อนวทต.1 ท่าน มีหน้าที่เป็นประธานในการประชุมใหญ่ของสมาชิก ชมรมเพื่อน วทต.และเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร
-รองประธาน ชมรมฯ  1 ท่าน มีหน้าที่เป็นประธานในการประชุมใหญ่ของสมาชิกและเป็นประธานคณะกรรมการบริหารตามที่ประธานได้มอบหมาย
·       คณะกรรมการดำเนินงานชมรมเพื่อน วทต
    จากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกชมรมเพื่อนวทต.กำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาจำนวนหนึ่งโดยยึดหลัความคล่องตัวและทำงานแบบจิตอาสาเพื่อดำเนินกิจกรรมของชมรมหรือนำมติหรือข้อตกลงในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกที่เป็นนโยบาย นำมาดำเนินกิจกรรมในทางปฏิบัติการ โดยเรียกกรรมการชุดนี้ว่าคณะกรรมการดำเนินงานชมรมเพื่อนวทต.”มีเลขาธิการชมรมเพื่อนวทต.เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานชมรมเพื่อน วทต มีหน้าที่
เรียกประชุมกรรมการ,กำหนดวาระการประชุมและเป็นประธานในการประชุม งานในคณะกรรมการดำเนินงานให้กำหนดตามความจำเป็น ความคล่องตัว และจิตอาสา ไม่จำเป็นต้องกำหนดตำแหน่งที่เป็นมาตรฐานตายตัวที่มีลักษณะแข็งตัวซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับลักษณะความเป็นจริงในทางปฏิบัติ
·       งานนายทะเบียนสมาชิก
·       งานการเงิน
·       งานการบัญชี
·       งานประสานงาน
·       งานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

                                                                                                                           
ตัวอย่างสรุปรายงานกิจกรรมชมรมเพื่อน วทต.
หลังจากจัดงานสังสรรค์เพื่อนวทต.ครั้งที่ 5ที่สวนอาหารชวนชม บางเขน กรุงเทพ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 ไปแล้วนั้น คณะกรรมการได้นัดประชุมกัน 1 ครั้ง เพื่อสรุปงาน สรุปจุดอ่อนจุดแข็ง ทั้งเพื่อน ๆ สมาชิกและคณะกรรมการสรุปไปในทางเดียวกันว่า การจัดงานครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ไว้ดีพอสมควร มีเพื่อน ๆ สมาชิกเข้าร่วมงานมากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทำให้สถานที่คับแคบไปหน่อย เพราะคณะกรรมการประเมินว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานไม่เกิน 70 คน แต่ในวันจัดงานจริงวันนั้นมีผู้เข้าประชุมประมาณถึง 100 ท่าน
ในการประชุมครั้งนี้  แม้ยังมีจุดอ่อนอยู่บ้างเป็นธรรมดาที่ยังไม่สรุปออกมาเป็นรูปธรรม แต่คณะกรรมการทุกท่านย่อมตระหนักอยู่ในใจแล้วว่ายังต้องปรับปรุงให้ดีไปกว่าเดิม หากเพื่อนๆเห็นว่ายังมีอะไรที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข ในกิจกรรมทุกเรื่องที่ชมรมฯ ได้ดำเนินการไป โปรดแจ้งไป จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งและคณะกรรมการยินดีที่จะรับฟังและจะนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป
  ต่อไปนี้ เป็นสรุปรายงานประชุมของกรรมการในรอบปี ตั้งแต่การจัดงานสังสรรค์ฯครั้งที่ 4 ที่โรงแรมริชมอนด์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555 จนถึงการจัดงานสังสรรค์ครั้งที่ 5 ที่สวนอาหารชวนชม เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2556 ดังนี้
1.      สรุปการประชุมกรรมการเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 ที่โรงแรมโกลเด้นดราก้อน
1.1.   ผลการสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
1.1.1.      รูปแบบการจัดตั้งคณะทำงาน
1.1.2.      มีเสนอให้คัดเลือกกรรมการชมรมฯ
1.1.3.      มีเพื่อนสมาชิกเสนอให้จัดกิจกรรมโดยการหาทุน
1.1.4.      เสนอทำสื่อของชมรม
1.2.   รูปแบบการจัดตั้งคณะทำงานควรเป็นรูปแบบใด
1.2.1.      มีผู้ตอบว่า ควรจัดให้มีการจัดตั้งคณะทำงานแบบมาตรฐาน มีตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอน คิดเป็น 33%
1.2.2.      มีผู้ตอบว่า ควรจัดให้มีการจัดตั้งคณะทำงานแบบหลวมๆ ร่วมกันทำงานด้วยจิตอาสา คิดเป็น 67%
1.2.3.      มีผู้เสนอให้มีการคัดเลือกรรมการชมรมฯทุกปี
1.2.4.      มีเพื่อนสมาชิกหลายท่านเสนอให้จัดกิจกรรมโครงการหาทุนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมฯ
1.2.5.      มีเพื่อนๆ สมาชิกเสนอความเห็นว่าน่าจะหากิจกรรมหรือแนวทางใดที่ช่วยให้เพื่อนๆสมาชิกและคณะทำงานมีการติดต่อสื่อสารได้อย่างต่อเนื่องทั่วถึงและเป็นการสื่อสารสองทาง
จากการสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ทางชมรมฯได้นำมาแปลงเป็นรูปธรรมและดำเนินเป็นแนวปฎิบัติดังนี้
1)      การทำงานของคณะกรรมการในส่วนที่สำคัญ ทางชมรมได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นโดยต่อเนื่องเป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้ จึงมีกรรมการจำนวนหนึ่งที่ทำหน้าที่แน่นอน ดังนี้
(1)    คุณประมวล พัฒน์ทอง       เป็นประธานชมรมฯ
(2)    คุณชูวงศ์ ละอองศิริวงศ์      เป็นรองประธานชมรมฯ
(3)    คุณนิพนธ์ ชูชลิตกุล                       เป็นผู้ประสานงานและฝ่ายการเงิน
(4)    คุณพูนสวัสดิ์ สงนาวา        เป็นผู้ประสานงานและฝ่ายการเงิน
(5)    คุณกัลยานี  เดชะวันโต       เป็นฝ่ายการเงินและบัญชี
(6)    คุณวีระ  สระกวี                 เป็นเลขาธิการชมรมฯ
การดำเนินงานของชมรมได้ใช้เงื่อนไขความคล่องตัวของคณะกรรมการแต่ละท่าน วาระประชุมและองค์ประชุมแต่ละครั้งจะไม่กำหนดตายตัวแน่นอน เมื่อกรรมการเข้าร่วมประชุมมากพอสมควรก็ถือว่าครบองค์ประชุม บางครั้งใช้วิธีประชุมแบบขยายวง โดยเชิญสมาชิกทั่วไปที่ไม่เป็นกรรมการเข้าร่วมประชุมเพื่อช่วยกันระดมความคิดเห็นด้วย ในการประชุมแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 15 ท่าน ในการประชุมแต่ละครั้งแม้ว่าทางชมรมฯได้กำหนดให้เบิกเงินของชมรมได้ครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท แต่ในการประชุมในแต่ละครั้ง เรามักถือปฏิบัติเป็นประเพณีไปแล้วที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะออกเงินสมทบค่าใช้จ่ายในการประชุม ซึ่งหลายครั้งเมื่อจัดการประชุมของชมรมฯจะเหลือเงินเข้ากองกลางของชมรมฯ
2.      ที่ประชุมคณะกรรมการชมรมฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 มีมติให้ชมรมฯดำเนิน “โครงการวารสารจดหมายข่าวชมรมเพื่อนวทต.” โดยมีคุณประมวล พัฒน์ทอง เป็นผู้อำนวนการโครงการ คุณชูวงศ์ ละอองศิริวงศ์ เป็นรองผู้อำนวยการโครงการ และมีกรรมการชมรมเพื่อน วทต.ทุกท่านเป็นคณะประจำกองบรรณาธิการ โดยมีคุณวีระ สระกวี เป็นบรรณาธิการบริหารโครงการ
3.      มติที่ประชุมกรรมการชมรมฯ ให้การจัดงานครั้งต่อจากครั้งที่ 5  ซึ่งจัดไปแล้วเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2556 ที่จังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย (วทต.เดิม) ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของสถาบันของเรา โดยมีกรรมการไปประชุมร่วมกับเพื่อนสมาชิก วทต.ที่อยู่จังหวัดสงขลาหรือจังหวัดใกล้เคียงเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556
4.      จากการประชุมร่วมของคณะกรรมการชมรมเพื่อน วทต.กับเพื่อนสมาชิกเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 มีข้อสรุปจากที่ประชุม ดังนี้
1)      การจัดงานสังสรรค์เป็นรูปแบบศิษย์เก่าวทต. ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเทคนิคภาคใต้ สงขลา และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย
2)      กำหนดวันจัดงานวันที่ 5 มิถุนายน 2557 โดยใช้สถานที่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย เป็นสถานที่จัดงาน
3)      ที่ประชุมได้เสนอให้ คุณประมวล พัฒน์ทอง เป็นประธานจัดงาน และ ร.ต.อนันต์ หังสพฤกษ์ เป็นรองประธานจัดงาน
4)      ที่ประชุมได้เสนอให้มีการจัดตั้งสมาคมศิษย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย ซึ่งรวมไปด้วยศิษย์เก่าวทต. ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต้ โดยเสนอให้คุณประมวล พัฒน์ทอง เป็นประธานสมาคมศิษย์เก่าเป็นคนแรก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานสุภาษิตจีนเรื่อง ลุงโง่ย้ายภูเขา

   มีชายชราคนหนึ่งชื่อว่า ลุงหยูกง แกตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่หลังภูเขาสองลูกชื่อว่า ไท่เชียงและหวังหวู ภูเขาสองลูกนี้ สูงนับพัน เริน กว้างใหญ่ถึง 700 ตารางลี้ ทุกคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังเขาทั้งสองลูกนี้ ไม่สะดวกในการเดินทางเพราะภูเขามาปิดกันความ สะดวกสบาย แต่ด้วยความเคยชินไม่มีใครสนใจต่ออุปสักข้อนี้ ลุงหยูกงแกก็ใช้ชีวิติไปตามปกติเหมือนคนทั่วไป หรือแกจะคิดถึงอุปสักข้อนี้ อยู่บ้างตามนิทานก็ไม่ได้บันทึกไว้ และอีกข้อหนึ่งที่นิทานไม่ได้บันทึกไว้ก็คือไม่เคยปรากฏว่าแกเคยเป็นกำานัน ตามนิทานจึงไม่เรียกแกว่า “ลุง กำานัน  หยูกง”   จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งแกเกิดดำาริขึ้นในใจว่า”เราก็ทำาอะไรต่อมิอะไรมาในชีวิติมากมายถูกบ้างผิดบ้างเป็ นธรรมดาของคน สามัญทั่วๆไป แต่ครั้งนี้เราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วว่า ไอ้ภูเขาสองลูกนี้ที่ขวางความเจริญของหมู่บ้านเราอยู่นี้ จะต้องขุดย้ายออกไป ไม่ให้เป็นอุปสักขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านต่อไปอีก ว่าแล้วแกก็ชวนลูกหลานและเพื่อนบ้านที่เห็นด้วยกับแกให้มาช่วยกันขุดย้าย ภูเขา ยังมีเพื่อนบ้านของลุงหยูกงคนหนึ่งชื่อว่า ลุงจือโช่ว เม

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน

ภาวะมลพิษจากโรงกลั่นน้ำมัน ( ผศ.ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์) เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ค้นพบจะถูกนำมากลั่นเสียก่อน การกลั่นน้ำมันดิบก็คือการย่อยสลายส่วนประกอบของปิโตรเลียมออกเป็นส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ถ่านโค้ก ขี้ผึ้ง ยางมะ-ตอย และแก๊สหุงต้ม เป็นต้น   โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด โรงกลั่นน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) และ โรงกลั่นน้ำมันบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นดังกล่า

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ