ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2016

พลังงานชีวิต - ดนตรีบรรเลงเพลงนิพพาน : จำรัส เศวตาภรณ์

พระพุทธเจ้าสอนอะไร/ประกอบดนตรีเพลงไทยเดิม

ภาววิสัยของสังคมไทยในขณะนีมีสิ่งบอกเหตุแห่งความเสื่่อมถึงขั้นวิกฤต แต่ก็่ยังดีที่่มีพระพุทธศาสนาช่วยค้ำจุนอยู่ได้ หากว่าคนในสังคม ไม่จมอยู่กับอวิชชาและอาสวกิเลส   ผู้ต่ื่่นรู้ด้วยปัญญา ช่วยกันค้นหาและเข้าให้ถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ตามที่่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ เพื่่อช่วยให้สังคมได้มองเห็นทางออกร่วมกัน     พลังงานชีวิต    ท่านผู้อ่านได้ทราบมาแต่แรกแล้วว่าชีวิตของสัตว์โลกทั้งหลายนั้นปรากฏมีขึ้นมาเพราะการอาศัยกันของพลังงานหรือคุณสมบัติทางร่างกายและทางจิตใจสิ่งที่เรียกว่าความตาย ก็คือความแตกสลายของร่างกาย ( รูป ) นั้นเองมีคำถามว่าพลังงานและคุณสมบัติทุกอย่างแตกสลายหมดไปพร้อมการแตกสลายไปของร่างกายอย่างนั้นหรือ ? พระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่าเปล่าเลยความจงใเจตนา ความต้องการความหิวกระหายทะยานอยากที่จะอยู่และที่จะสืบต่อชีวิตให้มากยิ่งขึ้นโดยไม่มีที่สิ้นสุดนั้นเป็นพลังรวมมหาศาทำให้มีชีวิต มีภพมีชาติแม้กระทั่งโลกทั้งมวลอันนี้เป็นพลังงานและคุณสมบัติของชีวิตทุกชีวิต สำคัญมากตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาพลังรวมอันนี้ไม่ได้แตกสลายไปพร้อมกับการแตกสลายของร่างกายซึ่่งเรียกว่าตายด้วยเลย แต่ก
ขบวนการแห่งกรรม https://www.youtube.com/watch?v=GJAarF-3dOo&feature=youtu.be     คำว่า “กัมมะ” ในภาษาบาลี หรือ กรรม ในภาษาสันสกฤตนั้นตามรูปศัพท์หมายถึงการกระทำ หรือกำลังทำ แต่ตามกฎของกรรมในทางพระพุทธศาสนามีความหมายเฉพาะการกระทำที่มีเจตนาเท่านั้น หาได้หมายเอาการกระทำทั่วๆ ไปไม่ ทั้งไม่ใช้เป็นวิบากของกรรมที่อย่างที่คนส่วนมากเข้าใจด้วยความหมายของกรรมในพระพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงผลของกรรมเลย เพราะผลของกรรมนั้นเป็นตัววิบาก (กมฺมผล หรือ กมฺมวิปาก)     เจตนาอาจจะดีหรือเลวก็ได้เช่นความอยากอาจจะดีหรือเลวก็ได้ดังนั้นในทำนองเดียวกันการกระทำ(กมฺม)อาจจะดีหรือเลวก็ได ทำกรรมดี (กุสล) ย่อมได้รับผลดีทำกรรมชั่ว (อกุสล) ย่อมได้รับผลชั่ว ตัณหา (ความทะนายอยาก) เจตนา (ความจงใจ) กรรม (การกระทำ) ไม่ว่าดีหรือเลวก็ตามย่อมมีผลเสมอ ทำให้เกิดพลังสืบต่อเนื่องกันไป ในแนวทางที่ดีหรือเลว (ตามกรรมที่ทำนั้น) และไม่ว่าดีหรือเลวย่อมสัมพันธ์กันไปตลอดเป็นสายแบบวัฏจักร (สงฺสาร) สำหรับพระอรหันต์นั้นแม้ท่านยังทำโน้นทำนี้อยู่ก็ไม่จัดว่าเป็นกรรมเพราะท่านพ้นจากความยึดมั่นในตัวตน พ้นจากตัณหา (ความทะยานอยาก) ตลอดจนกิเลสและ
พระพุทธเจ้าสอนอะไร : อริยสัจจ์ ๔ https://www.youtube.com/watch?v=OXnsbs6_bMc&feature=youtu.be ภาววิสัยสังคมไทยมีส่ิ่งบอกเหตุการเสื่อมถึงขั้นวิกฤต แต่ก็่ยังดีที่มีสิ่งค้ำจุนอยู่ได้ คือพระพุทธศาสนา หากว่าคนในสังคม ไม่จมอยู่กับอวิชชาและอาสวธรรม (กิเลสาสวธรรม)   พวกเราผู้ต่ื่นรู้ด้วยปัญญา ช่วยกันค้นหาและเข้าให้ถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ เพื่อชี้ให้สังคมได้มองเห็นทางออก อริยสัจจ์ข้อที่ ๒  สมุทัย(ต่อจากฉบับที่แล้ว)      ปัจจัยอันสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตตลอดการดำรงชีพของสัตว์โลกมีดังนี้คือ    ๑. อาหารที่เป็นวัตถุสิ่งของธรรมดาต่างๆ มีอาหาร เครื่องยังชีพ เป็นต้น “กวฬิงการาหาร”     ๒. ความรู้สึกถูกต้องต่อประสาทสัมผัสต่างๆ ที่มีอายตนภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ “ผัสสาหาร”     ๓. ความรู้ที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น จากตา เป็นจักษุวิญญาณ จากหูเป็น โสตวิญญาณ ฯลฯ “วิญญาณหาร”  ๔.เจตนาหรือความตั้งใจทำให้เกิดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นและมีผลสืบเนื่องกันไป “มโนสัญเจตนาหาร”๑ บรรดาปัจจัยทั้ง ๔ ประการเหล่านี้ มโนสัญ
เรียน ญาติมิตรสหายทุกท่าน      ภววิสัยสังคมไทยมีส่ิ่งบอกเหตุแห่งความเสื่อมถึงขั้นวิกฤต แต่ก็่ยังดีที่มีสิ่งสำคัญค้ำจุนอยู่ได้ คือพระพุทธศาสนา แต่คนในสังคม ยังจมอยู่ในสวะศาสนาที่เป็นอวิชชาและบ้่าจี้กันไปทั้งประเทศ  ขอให้ญาตืมิตรสหายผู้ต่ื่นรู้ด้วยปัญญา ช่วยกันค้นหาและเข้าให้ถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้                      ในฐานะที่เป็นชาวพุทธคนหน่ึ่ง ขอนำเอาบางส่วนบางตอนจากหนังสือ”พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร” (What The Buddha Taught)  เขียนโดยพระ ดร. ดับลิว ราหุลเถระ  มาเสนอแลกเปลี่ยนกันในหมู่ญาติมิตรสหาย                                             ด้วยจิตคารวะ วีระ สระกวี “ ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่า       เป็นที่พึ่งที่ระลึก พิจารณาเห็นอริยสัจจ์ ๔ ด้วยปัญญาชอบ ( คือพิจารณาเห็น ) ทุกข์ เหตุเกิดของทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ ข้อนั้นเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันเกษมสูงสุด ผู้นั้นอาศัยที่พึ่งที่ระลึกนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ”                    ( ขุ . ธ . ๘ / ๑๑๔ https://ww