ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2016
พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๑)   เนื่องจากปัญญาเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สามารถยกระดับของจิตมนุษย์และสามารถขจัดความทุกข์เพื่อให้มนุษย์ได้พบกับความสุขตามธรรมชาติที่แท้จริง การเน้นปัญญาและกระบวนการในการเสริมสร้างปัญญาจึงมีสาระสำคัญยิ่งตรรกะที่ใช้ในพุทธศาสนาไม่ใช่ตรรกะเบื้องต้นแบบของอริสโตเติลที่เป็นตรรกะแบบสุดขั้ว นั้นคือ ถ้าไม่ ก ก็ต้องเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ ก แบ่งเป็นขาวเป็นดำอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการแยกพื้นที่บริเวณตรงกลางทิ้งออกไป ในหลายกรณีพื้นที่บริเวณตรงกลางที่เป็นสีเทาอาจจะมีปริมณฑลกว้างขวางเป็นทั้งขาวและดำก็ได้ ลักษณะตรรกะแบบนี้ปัจจุบันทราบกันดีในวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า ตรรกะแบบสบสน (fuzzy logic) ตัวอย่างเช่น ในความทุกข์ย่อมต้องมีความสุขอยู่ด้วย ทั้งนี้เพราะความสุขก็คือความทุกข์ที่ลดน้อยลงไป ในอวิชชาย่อมต้องมีวิชชาอยู่ด้วย [โปรดดูคำอธิบายเบื้องตนของ Kosko,Bart(1994) Fuzzy Thinking. London.Flamingโดยเฉพาะบทที่ ๑ ที่อธิบายว่าขาวและดำเป็นกรณีเฉพาะของสีเทา บทที่ ๕ เปรียบเทียบตรรกะของพระพุทธเจ้าและของอริสโตเติล และบทที่ ๙ กล่าวถึง ชุดของความสับสน (fuzzy set )] วัตถุประสงค์ของการใช้ตรร

การอธิบายความสำคัญของปัญญา โดยปฏิจจสมุปบาท

การอธิบายความสำคัญของปัญญา โด ยปฏิจจสมุปบาท    โดยปกติการวิเคราะห์ขันธ์ ๕ นั้น เป็นการวิเคราะในลักษณะแยกส่วนเพื่อให้เข้าใจความหมายของความไม่มีตัวตน หรืออัตตา ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เมื่อถูกนำไปใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญญามีความสำคัญอย่างไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมทั้งอธิบายว่าเหตุใดปัญญาจึงมิสามารถเกิดขึ้นไดโดยง่าย ได้มีผู้รู้หลายท่านตั้งเป็นข้อสังเกตว่า การวิเคราะห์ด้วยขันธ์ ๕ นั้นโดยลักษณะของการวิเคราะห์ที่แสดงไว้ข้างต้นนั้น เป็นการวิเคราะห์แบบแยกส่วน และเป็นการวิเคราะห์ในสภาวะสถิต (statitic analysis)  ซึ่งไม่สอดคล้องกับการวิเคราะห์แบบพุทธ ที่มีลักษณะเป็นองค์รวมและมีความเป็นพลวัต อีกทั้งอาจจะไม่ช่วยให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจน เนื่องจากทั้งสติและปัญญานั้นซ่อนอยู่ในสังขารขันธ์ จึงได้มีเสนอว่าควรอธิบายความสำคัญของปัญญาด้วยหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน (dependent origination of conditionedarising) ซึ่งแสดงถึงกระบวนการเกิดดับของทุกข์ มีลักษณะของการอธิบายเป็นองค์รวมและมีความเป็นพลวัต สอดคล้องกับพุทธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นวงจรไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ ดังต่อไป

การอธิบายความสำคัญของปัญญา โดยปฏิจจสมุปบาท

การอธิบายความสำคัญของปัญญา โด ยปฏิจจสมุปบาท    โดยปกติการวิเคราะห์ขันธ์ ๕ นั้น เป็นการวิเคราะในลักษณะแยกส่วนเพื่อให้เข้าใจความหมายของความไม่มีตัวตน หรืออัตตา ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เมื่อถูกนำไปใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญญามีความสำคัญอย่างไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมทั้งอธิบายว่าเหตุใดปัญญาจึงมิสามารถเกิดขึ้นไดโดยง่าย ได้มีผู้รู้หลายท่านตั้งเป็นข้อสังเกตว่า การวิเคราะห์ด้วยขันธ์ ๕ นั้นโดยลักษณะของการวิเคราะห์ที่แสดงไว้ข้างต้นนั้น เป็นการวิเคราะห์แบบแยกส่วน และเป็นการวิเคราะห์ในสภาวะสถิต (statitic analysis)  ซึ่งไม่สอดคล้องกับการวิเคราะห์แบบพุทธ ที่มีลักษณะเป็นองค์รวมและมีความเป็นพลวัต อีกทั้งอาจจะไม่ช่วยให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจน เนื่องจากทั้งสติและปัญญานั้นซ่อนอยู่ในสังขารขันธ์ จึงได้มีเสนอว่าควรอธิบายความสำคัญของปัญญาด้วยหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน (dependent origination of conditionedarising) ซึ่งแสดงถึงกระบวนการเกิดดับของทุกข์ มีลักษณะของการอธิบายเป็นองค์รวมและมีความเป็นพลวัต สอดคล้องกับพุทธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นวงจรไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ ดังต่อไป

โมทนพจน์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.ปยุต โต ) คำนิยม ในหนังสือ “พุทธเศรษฐศาสตร์ “เขียนโดย ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน

    โมทนพจน์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.ปยุต โต ) คำนิยม ในหนังสือ “พุทธเศรษฐศาสตร์ “เขียนโดย ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน  ความเจริญก้าวหน้าตลอดยุคที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการพัฒนาตามแนวทางของอารยธรรมตะวันตก ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาที่มีเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลาง มีเป้าหม่ายเพื่อสร้างความเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาอย่างนี้ได้สัมฤทธิผลอย่างมาก ดังที่หลายประเทศได้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากมาย และโลกได้เจริญก้าวหน้าไปไกลในทางวัตถุโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์กินใช้เสพบริโภคและดำเนินกิจกรรมต่างๆอย่างพรั่งพร้อมสะดวกสบาย    อย่างไรก็ตาม เมื่อมองลึกลงไป ดูให้ชัด ตรวจสอบให้ละเอียดทั่วถึงมากขึ้น ก็เห็นว่า ความเจริญพรั่งพร้อมสุขสบายนั้น เป็นภาพผิวเผินที่เด่นขึ้นมาเป็นหย่อมๆและพรางสายตา พอวิเคราะห์กันจริง กลับปรากฎว่า ในขณะที่บางส่วนบางที่เจริญพรังพร้อมเสพบริโภคกันอย่างฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย  อีกหลายแห่งขัดสนขาดแคลน ความยากจนของคนในโลกรวมแล้วไม่ลดลง บางแห่งสิ้นหวังยิ่งขึ้น แม้แต่หลายส่วนของโลกที่ระเริงกับความเจริญก้าวหน้ามั่งคั่ง ก็เป็นเพียงสภาพที่ฉาบฉวย อืดเฟ้อภายนอก ไม่มีหลักประกันของความมั่นคั่งที่แท