ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2017

ฤากรณีครูจอมทรัพย์เป็นจุดที่สามารถสังเกตุเห็นไดัคือจุดที่เป็นรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง

ฤากรณีครูจอมทรัพย์เป็นจุดที่ สามารถสังเกตุเห็นไดัคือจุดที่เป็นรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง กรณีครูจอมทรัพย์ชักจะไปกันใหญ่ อาจจะเข้าหลักทฤษฎีเคออส ที่ ยุค ศรีอาริยะได้อรรถาธิบายไว้ "...   ฤๅจะถึงกาลกลียุค เมื่อความไม่แน่นอนดำรงอยู่ ณ ใจกลางการเปลี่ยนแปลง ชีวิต ธรรมชาติ และสังคมจึงเคลื่อนตัวไปตาม ความไม่น่าจะเป็นหรือความไม่สามารถคาดการณ์ได้ ... "   ซึ่งไปสอดคล้องกับหลัก ตรรกะแบบสับสน (fuzzy logic) ในงานของ ศาสตราจารย์ ดร . อภิชัย พันธเสน " พุทธเศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการ ทฤษฏี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตรสาขาต่างๆ " ที่กล่าวว่า ... ในพุทธธรรมที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง ( เป็นอนิจจัง ) อยู่ตลอดเวลาในลักษณะที่เป็นพลวัต ตรรกะแบบสับสนในพุทธธรรมก็จะยิ่งมีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพราะเมือทุกอย่างมีพลวัต์ (dynamic) เมื่อ มนุษย์เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาวะความเป็นจริงตามธรรมชาติในสถานการณ์ทุกอย่างมีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จุดที่สามารถสังเกตุเห็นไดัคือจุดที่เป็นรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น .... ฤากรณีครูจอมทรัพย์เป็นจ

เที่ยวชมงานการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านอิสาน

ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ปีระกา ๒๕๖๐ ออกจากบ้านที่กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินฯไปเที่ยวถิ่นอิสานจังหวัดโคราชประตูสู่อิสาน เที่ยวชมงานการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านอิสานผสานกับการดำรงชีพของชาวบ้าน ที่ไม่ไหลตามวัฒนธรรมแบบบริโภคนิยมในรบบทุนนิยมสามานย์ตะวันตกที่กำลังจะตกดิน….!!! https://www.youtube.com/watch?v=Q6fD3-JqWl0

มนุษมีพลังที่จะปลดปล่อยตนเองโดยอาศัยความเพียรและสติปัญญาเฉพาะตัวได้

มนุษมีพลังที่จะปลดปล่อยตนเองโดยอาศัยความเพียรและสติปัญญาเฉพาะตัวได้ การบังคับจิตให้สงบอยู่ในห้องแคบๆหรืออยู่ในถ้ำอยู่กลางป่าที่หาบ้านเรือนมนุษย์ไม่มีเพื่อบำเพ็ญตะบะ หรือจะสวดมนต์คาถาอย่างยาว นานข้านปีข้ามเดือนข้ามวันข้ามชั่วโมงหรือเพียงไม่กี่นาทีเหล่านี้เป็นพิธีกรรมนอกศาสนาพุทธ์ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแนะนำ ส่วนใหญ่จะเป็นพิํีธีกรรมในศาสนาเทวนิยมหรือพวกฤาษีชีไพรที่พระพุทธเจ้าหรือเจ้าชายสิทธัตถะ แห่งราชวงศ์โตตมะที่พระองค์ได้ขบถหนีออกมาดำเนินการตามวิถีทางชองพระองค์เองจนได้บรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป้นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา พระพุทธองค์ทรงทราบดีว่าสิ่งที่พระองค์ได้ค้นพบหรือตรัสรู้นั้นมันทวนกระแสคือต่อต้านความต้องการที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ พระองค์ได้ทรงรำพึงว่า ”...สัจธรรม ตถาคตได้รู้แจ้งแล้ว แต่สัจธรรมนั้นจะเข้าใจได้ก็แต่คนที่ฉลาดเท่านั้น เหล่าสัตว์ที่ถูกอวิชชาห่อหุ้ม มืดมนด้วยโลภโกรธหลง ไม่สามารถจะเข้าใจได้เลย เพราะเป็นธรรมที่สุขุมคัมภีรภาพไหลทวนกระแส ...” ครั้นพระองค์ได้ยกกอดอกบัวขึ้นมาเป็นอุปมากล่าวคือ ในกอบัวกอหนึ่งดอกบัวที่โผล่ขึ้นมาเสมอระดับน้ำก็มี

ค้นหาหนทางแห่งปัญญา

ค้นหาหนทางแห่งปัญญา …….ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๐ ...... นั้งครุ่นคิดติดตามความคิดตัวเองอยู่ณะสถานที่อันเงียบสงบที่มีทิวทัศน์อันสวยงามท่ามกลางแมกไม้ภูเขาและสายนำ้แห่งหนึ่ง หวังจะได้เจอตัวเองที่เป็นตัวตนจริงๆ........... หาอย่างไรก็ไม่เจอสักที เจอแต่นายวีระ ก็ไม่ใช้คนอื่นไกลมันก็คือคนเดิมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฏอนิจจัง อุปมาเหมือนเปลวเที่ยนที่ลุกไหม้แท่งเที่ยนไป เปลวเที่ยนดวงนั้นก็มิใช่เปลวเที่ยนดวงเดิมแล้วแต่มันจะสืบต่อกันมาไม่ขาดสาย…...ชีวิตก็คือการสืบเนื่องต่อกันไปของเบ็ญจขันธ์ คือการร่วมกันและอาศัยกันของร่างกายและจิตใจ พลังที่ทำให้เกิดและอาศัยร่วมกันอยู่นี้ เปลี่ยนแปรงแปรปรวนไปตลอดเวลาอย่างรวดเร็วมากทุกขณะจิตจะมีเกิดและดับตลอดเวลาเป็นสายต่อเนื่องกันตามกฏของอนิจจัง นั่นก็คือ ชรามรณะ เมื่อมีการยึดมั่นถือมั่นจนกระทั่งมีกรรมเป็นผู้กระทำให้บังเกิดผล ก็เกิดความโศก การคร่ำครวญหา ความทุกข์ระทม ความโทมนัส ความคับแค้นใจ เหล่านี้เป็นบ่อเกิดของอวิชชา คือความไม่รู้หรือรู้ไม่จริง ความไม่รูัหรืออวิชชานำไปสู่การปรุงแต่งและลงมือกระทำ โดยมีเจตจำนงที่จะให้ได้รับผลตามความรู้ที่ไม่ถูกต้อง(อวิชชา)