ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2017

ศึกษาธรรมจากภาษาโลกและภาษาธรรม ตอนที่ ๓ : “จิตนิยาม”

ศึกษาธรรมจากภาษาโลกและภาษาธรรม ตอนที่ ๓ : “จิตนิยาม” “จิตนิยาม” เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากภาวธรรมของ “ชีวะ” แต่ทว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่พัฒนากระบวนการที่สูงกว่าชีวะในระดับ “พีชะ”พลังงานในรูปแบบของ “จิต” ที่เกิดจากการตอบสนองต่อผัสสะโดยตรงโดยไม่มี”เจตนา”เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เช่นเกิดจาก”เวทนาขันธ์” (อารมณ์ความรู้สึก)หรือเกิดจาก”สัญญาขันธ์”(การกำหนดรู้หมายจำ) เช่นความรู้สึกเป็นสุข(ทางกายทางใจ) ความรู้สึกเป็นทุกข์(ทางกายทางใจ)หรือ อทุกขมสุข(ไม่สุข ไม่ทุกข์ หรือ อุเบกขา) พลังงานที่ดำเนินไปของ “จิต” หากไม่มี ”เจตนา” จะไม่เกิด “กรรม” ที่ส่งผลวิบากหรือไม่เป็น “กัมทายาท” หรือ”กรรม”นั้นก็ไม่ตกทอดไปเป็นมรดกเช่นเดียวกับพลังงานที่ดำเนินไปของ “พิชะ” ก็ไม่นับเป็น “กรรม”   ส่วนพลังงานที่เกิดขึ้นและดำเนินไปของ “จิต”ที่เกิดจากการปรุงแต่งของ “สังขารขันธ์”(การปรุงแต่งจิตให้ดี ชั่ว หรือเป็นกลาง)โดยมี “เจตนา”เป็นตัวนำในการปรุงแต่ง “จิต” ให้ดี ให้ชั่ว หรือเป็นกลาง ที่จะแสดงออกทางกายวาจาให้เป็นไปต่าง ๆ ที่เรียกว่า “กรรม” เช่น ศรัทธา สติ หิริ(ความละอายบาบ) โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) เมตา กรุณา มุทิตา อุเบกข

ศึกษาธรรมจากภาษาโลกและภาษาธรรม (๒ )

  ศึกษาธรรมจากภาษาโลกและภาษาธรรม (๒ ) “พีชนิยาม” พีชะ คือพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สังเคราะห์กันขึ้นจากวัตถูธรรมจนพัฒนาข้ามเขตุจาก”อุตุนิยาม” ไปสู่ “ชีวะ”แล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นที่มีคุณภาพเป็น “จิต”หรือ “วิญญาณ” ฉนั้นคุณภาพระดับนี้จึงเป็นชีวะระดับ “พีชะ” เท่านั้น หรือจัดอยู่ในจำพวก “อนุปาทินนกสังขาร” อนุปาทินนกสังขาร ระดับ “พีชะ” คือสังขารที่ประกอบกันขึ้นเป็น “ชีวะ “ แล้วและสภาพของพลังงานระดับ “พีชะ” นี้ยังไม่มีสมรรถนะสูงถึงขั้นระดับที่เป็น “จิต” หรือ “วิญญาณ” หรือยังไม่มีคุณภาพถึงขั้นเป็น “เจตสิก” เช่น เวทนาเจตสิก (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ) ปัญญาเจตสิก (ความฉลาดหรือโง่ ) และเจตสิกอื่น ๆ อีกมากมาย แต่พลังงานระดับ “พีชะ” มีคุณภาพที่สามารถสังเคราะห์สังขารให้แก่ตัวเองได้เองโดยอัตโนมัติแล้ว พลังงานที่สังเคราะห์และพัฒนาจนถึงขั้น “พีชะ” จะมีในพืช ต้นไม้ต่าง ๆ และจะมีในสัตว์และมนุษย์ด้วยเฉพาะในส่วนที่เป็นชีวะทางกายภาพ (ที่ไม่มีสมรรถภาพเป็น “จิต” หรือ “วิญญาณ”) เช่นในคนที่หมดสติหรือสลบไป พลังงานด้านชีวะณ ขนะนั้นจะมีสภาพเป็นได้แค่ระดับ “พีชะ” เท่านั้นหากยังได้รับสารอาหารและอากาศอย่างได้สัดส

ศึกษาธรรมจากภาษาโลกและภาษาธรรม

ศึกษาธรรมจากภาษาโลกและภาษาธรรม ในการศึกษาหลักธรรมในพระพุทธาศาสนา เช่นเดียวกันกับศึกษาวิชาการด้านใด ๆ เราต้องทำความเข้าใจกับศัพท์เฉพาะหรือศัพท์เทคนิคของวิชาการนั้น ๆ  แต่ในการศึกษาพระพุทธศาสนาเรียกว่า”ภาษาธรรม” ซึ่งมีความหมายหรือนิยามเฉพาะเจาะจงที่แตกต่างไปจากภาษาที่ใช้ในทางโลกียะหรือที่เรียกว่า”ภาษาโลก” เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาให้เข้าใจและเป็นเอกภาพที่จะนำไปสู่การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จำเป็นต้องเข้าใจภาษาธรรมได้อย่างเป็นพื้นฐาน ในอรรถกถาแปล เล่ม ๗๖ หน้า ๘๑ พระพุทธเจ้าตรัสถึงความสัมพันธ์ของนามรูปเกี่ยวกับ พลังงานที่แสดงออกในลักษณะ ๕ รูปแบบหรือ ๕ นิยามที่มีความสัมพันธ์กันอย่างลงตัวคือ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม “อุตุนิยาม”หมายถึงสิ่งที่เป็นวัตถุธรรมทั้งหมดทั้งที่เป็นรูปธรรม เป็นอรูปธรรมหรือเป็นพลังงานแต่ไม่ได้หมายรวมเอาส่วนวัตถุธรรมที่เป็น”ชีวะ”และไม่มีสภาวะหรือคุณสมบัติที่ เป็นพีชะ เป็นจิต เป็นกรรม และเป็นธรรมะ นิยามทั้ง ๕ นี้แม้จะมีส่วนที่ต่างกันและแยกกันได้ชัดเจนแต่มีส่วนปฎิสัมพันธ์สอดรับประสารสัมพันธ์กันอย่างลงตัว เพียงแต่ในต