ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2016

ส่งพรปีใหม่

https://www.youtube.com/watch?v=ISXBMGFCGlE&feature=youtu.be ขอส่งความสุขปีใหม่ ๒๕๖๐ แด่เพื่อนมิตรที่เคารพรักทุกท่านด้วยเพลงพรปีใหม่ ซึ่งแต่งทำนองโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เขียนคำร้องโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ และบรรเลงซอโดย น้องโยเย / Naris Sakpujachot

เปรียบเทียบแนวคิดแบบพุทธกับอารยธรรมตะวันตก (ตอนที่ ๑)

เปรียบเทียบแนวคิดแบบพุทธกับอารยธรรมตะวันตก (ตอนที่ ๑) อารยธรรมตะวันตกที่มีพัฒนาการมาจากกรีกและศาสนายูดาย และต่อมาได้มีการผสมผสานกับแนวคิดแบบโรมและคริสต์ศาสนา เน้นความเชื่อการมีพระเจ้าเพียงองค์เดียว และความจริงที่สัมบูรณ์ (absolute truth ) ทั้งนี้เพราะเป็นการยากที่จะเข้าใจว่าเหตุใดความรู้ที่แตกต่างกันและอาจให้คำตอบที่ขัดแย้งกัน อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องทั้งหมดได้ ความคิดและความเข้าใจเช่นนี้เป็นผลจากการมองทุกสิ่งทุกอย่างในลักษณะที่เป็นภาพนิ่ง (static analysis ) เพราะถ้าหากทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวได้หมด ผลก็จะเป็นอย่างที่ทราบกัน ก็คือจะมีคำตอบที่ต่างกันหรือแม้กระทั้งขัดแย้งกันก็ได้ โดยที่คำตอบทั้งหมดล้วนถูกต้องทั้งสิ้น จุดเน้นการมีคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงหนึ่งเดียวเป็นจุดอ่อนของความคิดในกระแสอารยธรรมตะวันตก ที่นำไปสู่ตรรกะเบื้องต้นแบบของอริสโตเติลนั่นคือ ตรรกะที่แยกขาวกับดำออกจากกันอย่างเด็ดขาด ไม่มีตรงกลาง (either-or logic) การมีตรรกะเช่นนี้ย่อมนำไปสู่ความคิดสุดขั้วซึ่งแบ่งออกเป็นสองค่าย คือ ค่ายหนึ่งเชื่อว่ามนุษย์มีเหตุผล ซึ่งประกอบด้วยอริสโตเติล เซนต์ อไควนัส และนักคิดสำน

พุทธธรรมเป็นหลักธรรมที่ทวนกระแส

                      พุทธธรรมเป็นหลักธรรมที่ทวนกระแส       ตามหลักจิตวิทยา มนุษย์เรานั้นมีหลักความคิดที่ฝังรากลึกอยู่ด้วยกัน ๒ ประการ คือ:-        ๑. ความคิดปกป้องตนเองให้ปลอดภัย (self Protection)        ๒. ความคิดรักษาตนเองให้อยู่รอด (self Preservation)        การที่มนุษย์ได้สร้างพระเจ้าขึ้นก็เพื่อปกป้องตนเองให้ปลอดภัย และการที่มนุษย์ได้ยอมรับหลักความคิดที่ว่าวิญญาณหรืออาตมันเป็นอมตะก็เพื่อรักษาตนให้อยู่รอด (รวมความว่า) มนุษย์ตกอยู่ในอำนาจความโง่เขลา ความอ่อนแอ ความกลัว และความปรารถนา จึงได้สร้างสองสิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นหลักประกันให้ตนดำรงชีวิตอยู่อย่างอบอุ่นใจ จนกลายเป็นยึดถืออย่างเหนี่ยวแน่น       คำสอนของพระพุทธเจ้ามิได้สนับสนุนความโง่ ความอ่อนแอ ความกลัวและความ ต้องการในลักษณะดังกล่าวนี้เลย ตรงกันข้ามกลับมีจุดมุ่งหมายต้องการให้มนุษย์ขจัดมัน ให้หมดสิ้นไปด้วยวิธีการขุดค้นถึงต้นตอที่แท้จริงเพื่อความรู้แจ้ง ตามแนวพระพุทธศาสนา หลักความคิดเรื่องพระเจ้าและวิญญาณนับว่าไร้สาระ แม้ว่า จะได้รับวิวัฒนาการถึงขั้นเป็นทฤษฎีแล้วก็ตาม ก็ยังคงเป็นเพียงส่วนเกินทางด้านจิตใจที่ไ

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๔)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๔) การอธิบายความสำคัญของปัญญา โดยปฏิจจสมุปบาท      โดยปกติการวิเคราะห์ขันธ์ ๕ นั้น เป็นการวิเคราะห์ในลักษณะแยกส่วนเพื่อให้เข้าใจความหมายของความไม่มีตัวตน หรืออัตตา ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เมื่อถูกนำไปใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญญามีความสำคัญอย่างไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมทั้งอธิบายว่าเหตุใดปัญญาจึงมิสามารถเกิดขึ้นไดโดยง่าย ได้มีผู้รู้หลายท่านตั้งเป็นข้อสังเกตว่า การวิเคราะห์ด้วยขันธ์ ๕ นั้นโดยลักษณะของการวิเคราะห์ที่แสดงไว้ข้างต้นนั้น เป็นการวิเคราะห์แบบแยกส่วน และเป็นการวิเคราะห์ในสภาวะสถิต (statitic analysis)  ซึ่งไม่สอดคล้องกับการวิเคราะห์แบบพุทธ ที่มีลักษณะเป็นองค์รวมและมีความเป็นพลวัต อีกทั้งอาจจะไม่ช่วยให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจน เนื่องจากทั้งสติและปัญญานั้นซ่อนอยู่ในสังขารขันธ์ จึงได้มีเสนอว่าควรอธิบายความสำคัญของปัญญาด้วยหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน (dependent origination or conditioned arising) ซึ่งแสดงถึงกระบวนการเกิดดับของทุกข์ มีลักษณะของการอธิบายเป็นองค์รวมและมีความเป็นพลวัต สอดคล้องกับพุทธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็น

ความวุ่นวายทั้งปวงในโลกนี้มีต้นตอมาจากอะไร !

ความวุ่นวายทั้งปวงในโลกนี้มีต้นตอมาจากอะไร ! สิ่งลี่ลับที่อยู่เบื้องหลังโลกเราซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา ตามหลักศาสนาหลายๆศาสนามีความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคน ต่างก็มีวิญญาณที่พระเจ้าสร้างให้อยู่ในตัวมนุษย์อย่างยั่งยืนแยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว หลังจากตายแล้ว วิญญาณนั้นจะไปสถิตอย่าง ถาวรอยู่ในสวรรค์หรือนรกแล้วแต่พระเจ้าจะบรรดาลให้ สิ่งที่เรียกว่า”วิญญาณ “ (soul) “อัตตา” (self) “ตัวตน” (EGO) หรือ “อาตมัน” (Atman) ทั้งหมดนี้คืออันเดียวกัน ที่เชื่อกันว่าสิงสถิต อยู่ในตัวมนุษย์ไปตลอด วิญญาณ หรือ อัตตาที่สิงสถิตอยู่ในตัวมนุษย์จะทำหน้าที่คิดนึก สัมผัสอารมณ์ และรับผลตอบแทนที่ดี และไม่ดีที่เกิดจากการกระทำทุกอย่าง ความเชื่อเช่นนี้เรียกว่า “อัตตทิฎฐิ” (ความเชื่อ หรือความคิดว่ามีตัวตน) ในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ปฏิเสธอย่างหนักแน่นและยืนยัน ถึงความมีอยู่ของวิญญาณ อัตตา หรืออาตตมันในความ หมายและความเชื่อที่กล่าวข้างต้น คำสอนในพุทธธรรม ในความคิดที่ว่า “อัตตทิฎฐิ” (ความคิดว่ามีตัวตน) เป็นความเชื่่อที่ผิด พลาดงมงาย ขัดต่อความเป็นจริง ซึ่งก่อให้เกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่นว่า “ตัวกู”

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๓)

  พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๓) สำหรับขันธ์ที่เหลืออีก ๓ ขันธ์ คือ เวทนา สัญญาและสังขารมีการทำงาร่วมกับขันธ์ที่กล่าวมาแล้ว ๒ ขันธ์ คือ รูป และ วิญญาณ ในลักษณะต่อไปนี้ เวทนา หรือการเสวยอารมณ์ คือความรู้สึก แบ่งโดยย่อออกได้เป็น ๓ ลักษณะ คือความรู้สึกเป็นสุข (ทางกายและทางใจ) ความรู้สึกเป็นทุกข์ (ทางกายและทางใจ) และอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ ไม่สุข คือ เฉยๆ บางทีเรียกว่า อุเบกขา ) โดยปกติเมื่อได้รับผัสสะ คือได้รับรู้จากโลกภายนอก จิตในส่วนที่เป็นเวทนาจะมีปฎิกิริยาในลักษณะที่ถูกกระทำ (passive) ซึ่งจะเกิดขึ้นอัตโนมัติตามขั้นตอนกระบวนธรรมหรือของการทำงานของจิต เช่น การรู้สึกสุขและทุกข์ของกายและใจ เป็นต้นว่า ความแช่มชื่นสบายใจ รู้สึกสดชื่น แข็ง แรง เสียใจ รู้สึกเจ็บหรือปวดอันเป็นผลจากการได้รับสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เป็นสัญชาตญาณที่จำเป็นของสัตว์ที่จะช่วยให้มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อรู้ถึงความเจ็บปวด ความไม่สบาย ก็จะได้พยายามหลีกเลี่ยงมิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต เพราะไม่หลีกเลี่ยงอาจจักเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ภายหลัง ขอให้สังเกตว่าอุเบกขาหรือความรู้สึกเฉยๆในเวทนา

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)

พุทธคือวิถีแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒)   ถ้าหากจะต้องจัดลำดับใหม่ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น มรรคที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการดังกล่าวก็คือ สิกขา ๓ หรือไตรสิกขาที่เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญาสิกขา สิกขา   ตามความหมายของพุทธนั้น คือ กระบวนการรับรู้หรือเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติและได้ประจักษ์แจ้งจริง ส่วน อธิ นั้นหมายถึง ใหญ่ หรือสำคัญ ดังนั้น อธิและสิกขาก็คือการเรียนรู้ยิ่งขึ้นไปของศีล จิตต (สมาธิ) และปัญญา อันเป็นลักษณะพลวัตของไตรสิกขาดังกล่าว หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการบรรลุนิพพานนั่นเอง จึงจำแนกได้ดังนี้      ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับจิตของมนุษย์ก็คือปัญญาซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดของพุทธธรรมและเนื่องจากปัญญามีความสำคัญที่สุดกระบวนการสร้างปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจุดนี้เป็นจุดที่ขาดหายไปจากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม        เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนของกระบวนการยกระดับหรือสร้างเสริมทางปัญญา  จะต้องหันกลับมาศึกษาองค์ประกอบของมนุษ